เจาะลึกเนชั่นโพล : 5 พรรคแข่งเดือด ชิงเก้าอี้ ส.ส. กทม. 33 เขต

05 พ.ค. 2566 | 06:55 น.
อัปเดตล่าสุด :05 พ.ค. 2566 | 10:23 น.

เนชั่นโพล สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ ภายใต้ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2 พบภาพรวมผลสำรวจ 5 พรรคการเมืองหลักแข่งดุเดือด ชิงเก้าอี้ ส.ส. กทม. 33 เขต เช็ต 3 อันดับ คนกรุงเทพฯ เลือกใคร พรรคไหนกันบ้าง

เนชั่นโพล สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่องการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2 โดยได้ลงพื้นที่สำรวจในเป็นรูปแบบที่น่าเชื่อถือที่สุดของประวัติศาสตร์การสำรวจหรือทำโพล ซึ่งผลล่าสุดได้ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองต่างๆ ในการปรับยุทธศาสตร์ช่วงโครงสุดท้ายก่อนถึงวันเลือกตั้งจริง ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566

ทั้งนี้จากการสำรวจความคิดเห็นจากจำนวนตัวอย่างมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ จำนวน 115,399 ตัวอย่าง แบ่งเป็น กทม.จำนวน 35,969 ตัวอย่าง และภูมิภาค 79,430 ตัวอย่าง โดยแนวโน้มเป็นความพ่ายแพ้ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมโดยสิ้นเชิง ซึ่งขั้วฝ่ายเสรีนิยมก้อนใหญ่มีฐานเสียงที่เติบโตขึ้นจากเดิมในช่วงโค้งสุดท้าย และ รัฐบาลหน้า ฝั่งเสรีนิยมมีโอกาสตั้งรัฐบาลรวมกันเกิน 300 เสียง (ถ้าสามารถรวมกันได้จริง)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เนชั่นโพล : เลือกตั้ง 2566 เสรีนิยมแลนด์สไลด์ เพื่อไทย-ก้าวไกล นำ 326 เขต

อย่างไรก็ตาม ส่วนการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้ง 33 เขต “เนชั่นโพล” ครั้งที่ 2 ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจฐานเศรษฐกิจรวมรวมรายละเอียด ส.ส.เขต กทม.ทั้ง 33 เขตเลือกตั้ง เพื่อดูกันว่าผลสำรวจประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคไหนเข้ามาเป็นอันดับ 1-3 กันบ้าง สรุปได้ดังนี้

เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตดุสิต (ยกเว้นแขวงถนนนครไชยศรี) เขตบางรัก

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 2 เขตสาทร เขตปทุมวัน เขตราชเทวี

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 ยังไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ

เขตเลือกตั้งที่ 3 เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 4 เขตคลองเตย เขตวัฒนา

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรคภูมิใจไทย

เขตเลือกตั้งที่ 5 เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง (ยกเว้นแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 6 เขตพญาไท เขตดินแดง

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตบางซื่อ เขตดุสิต (เฉพาะแขวงถนนนครไชยศรี)

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 8 เขตหลักสี่ (ยกเว้นแขวงตลาดบางเขน) เขตจตุจักร (ยกเว้นแขวงจันทรเกษม และแขวงเสนานิคม)

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 ยังไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ

เขตเลือกตั้งที่ 9 เขตบางเขน (ยกเว้นแขวงท่าแร้ง) เขตจตุจักร (เฉพาะแขวงจันทรเกษม และแขวงเสนานิคม) เขตหลักสี่

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 ยังไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ

เขตเลือกตั้งที่ 10 เขตดอนเมือง

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรคไทยสร้างไทย

เขตเลือกตั้งที่ 11 เขตสายไหม (ยกเว้นแขวงออเงิน)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรคไทยสร้างไทย

เขตเลือกตั้งที่ 12 เขตสายไหม (เฉพาะแขวงออเงิน) เขตบางเขน (เฉพาะแขวงท่าแร้ง) เขตลาดพร้าว (เฉพาะแขวงจรเข้บัว)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรคไทยสร้างไทย

เขตเลือกตั้งที่ 13 เขตลาดพร้าว (ยกเว้นแขวงจรเข้บัว) เขตบึงกุ่ม (ยกเว้นแขวงคลองกุ่ม)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 14 เขตวังทองหลาง (เฉพาะแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์) เขตบางกะปิ

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 15 เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 16 เขตคลองสามวา (ยกเว้นแขวงสามวาตะวันออก และแขวงทรายกองดินใต้)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 17 เขตหนองจอก (ยกเว้นแขวงโคกแฝด แขวงลำผักชี และแขวงลำต้อยติ่ง) เขตคลองสามวา (เฉพาะแขวงสามวาตะวันออก และแขวงทรายกองดินใต้)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 18 เขตหนองจอก (เฉพาะแขวงโคกแฝด และแขวงลำต้อยติ่ง) เขตลาดกระบัง (เฉพาะแขวงลำปลาทิว) เขตมีนบุรี (เฉพาะแขวงแสนแสบ) 

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 19 เขตมีนบุรี (ยกเว้นแขวงแสนแสบ) เขตสะพานสูง (ยกเว้นแขวงทับช้าง)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 20 เขตลาดกระบัง (ยกเว้นแขวงลำปลาทิว)

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 พรรคประชาธิปัตย์

เขตเลือกตั้งที่ 21 เขตประเวศ (ยกเว้นแขวงหนองบอน) เขตสะพานสูง (เฉพาะแขวงทับช้าง)

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 พรรคประชาธิปัตย์

เขตเลือกตั้งที่ 22 เขตสวนหลวง เขตประเวศ (เฉพาะแขวงหนองบอน)

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 23 เขตพระโขนง เขตบางนา

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 24 เขตธนบุรี (ยกเว้นแขวงวัดกัลป์ยาณ์ แขวงหิรัญรูจี และแขวงบางยี่เรือ) เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ (เฉพาะแขวงบางปะกอก)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 25 เขตทุ่งครุ เขตราษฎร์บูรณะ (ยกเว้นแขวงบางปะกอก)

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 ยังไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ

เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตบางขุนเทียน (เฉพาะแขวงท่าข้าม) เขตจอมทอง (ยกเว้นแขวงบางขุนเทียน)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรคประชาธิปัตย์

เขตเลือกตั้งที่ 27 เขตบางบอน (เฉพาะแขวงบางบอนใต้ และแขวงคลองบางบอน) เขตบางขุนเทียน (ยกเว้นแขวงท่าข้าม)

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 พรรคประชาธิปัตย์

เขตเลือกตั้งที่ 28 เขตจอมทอง (เฉพาะแขวงบางขุนเทียน) เขตบางบอน (ยกเว้นแขวงบางบอนใต้ และแขวงคลองบางบอน) เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 29 เขตบางแค (เฉพาะแขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่) เขตหนองแขม (ยกเว้นแขวงหนองแขม)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 30 เขตบางแค (ยกเว้นแขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่) เขตภาษีเจริญ (เฉพาะแขวงบางหว้า แขวงบางด้วน และแขวงคลองขวาง)

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 31 เขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน (ยกเว้นแขวงบางเชือกหนัง)

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 พรรคประชาธิปัตย์

เขตเลือกตั้งที่ 32 เขตบางกอกน้อย (เฉพาะแขวงศิริราช) เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ (ยกเว้นแขวงบางหว้า แขวงบางด้วน และแขวงคลองขวาง) เขตตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงบางเชือกหนัง) เขตธนบุรี (เฉพาะแขวงวัดกัลป์ยาณ์ แขวงหิรัญรูจี และแขวงบางยี่เรือ)

  • อันดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับที่ 2 พรรคก้าวไกล
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เขตเลือกตั้งที่ 33 เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย (ยกเว้นแขวงศิริราช)

  • อันดับที่ 1 พรรคก้าวไกล 
  • อันดับที่ 2 พรรคเพื่อไทย
  • อันดับที่ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ

 

สำหรับ “เนชั่นโพล ครั้งที่ 2” ประกาศ ณ วันที่ 5 พ.ค.2566 สำรวจใช้ ตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 115,399 ตัวอย่าง แบ่งเป็น กทม.จำนวน 35,969 ตัวอย่าง และภูมิภาค 79,430 ตัวอย่าง โดยการสำรวจในต่างจังหวัด 367 เขต ทีมลงพื้นที่สำรวจระหว่าง 24 เม.ย. - 3 พ.ค. 2566 และการสำรวจใน กทม. 33 เขต ทีมลงพื้นที่สำรวจระหว่าง 28 เม.ย. - 3 พ.ค.2566 มีค่าความคลาดเคลื่อน (error) ดังนี้ 

  • กทม.33 เขต = 3%
  • เขตเมืองสำคัญต่างจังหวัด 8 เขต = 5%
  • เขตเลือกตั้ง 359 เขต = 7%