"เรืองไกร"ยื่นฟ้องให้ศาลปกครอง สั่ง "นายกฯ"ระงับ พรฎ.ยุบสภาชั่วคราว

21 มี.ค. 2566 | 04:26 น.
อัปเดตล่าสุด :21 มี.ค. 2566 | 04:47 น.

"เรืองไกร" ยื่นฟ้องศาลปกครองสูงสุด พิจารณาสั่งให้ "นายกฯ" ระงับใช้"พรฎ.ยุบสภา"ชั่วคราว เพื่อไต่สวนฉุกเฉินเร่งด่วน ชี้ พรฎ.ยุบสภา ตราขึ้นไม่สุจริต ใช้ดุลพินิจไม่ชอบ

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ฟ้องพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่านายกรัฐมนตรี รับสนองพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พศ. 2566

เป็นการกระทำโดยไม่สุจริต เป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบ  ขอให้ศาลมีคำสั่ง 4 ข้อดังนี้

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

1.ขอให้มีคําสั่งให้ระงับพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ไม่ให้มีผลใช้ 

 2.ไม่ให้มีผลบังคับไว้เป็นการชั่้วคราว   ขอให้ทำการไต่สวนฉุกเฉินเป็นกรณีเร่งด่วน 

3.ขอให้มีคําพิพากษาว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ตราขึ้นโดย โดยไม่สุจริต เป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบ ทั้งนี้ ตามเหตุผลที่ระบุว่า “...อันเป็นการคืนอํานาจการ ตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนโดยเร็ว” 

4.ขอให้มีคําพิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566

และ 5.ขอให้มีคําสั่งให้ผู้เกี่ยวข้องดําเนินการตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 

  • เปิดคำร้อง"สั่งระงับพรฎ.ยุบสภาชั่วคราว

สำหรับคำร้องของนายเรืองไกร  ระบุว่า  ตามที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นั้น เนื่องจากพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือวันที่ 20 มีนาคม 2566

 โดยนายกรัฐมนตรีได้นําความกราบบังคมทูลฯ ว่า “ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติ หน้าที่ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 และบัดนี้ได้ปิดสมัยประชุมสามัญประจําปีที่สี่อันเป็นปีสุดท้ายของอายุ สภาผู้แทนราษฎรแล้ว สมควรยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็น การคืนอํานาจการตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนโดยเร็วเพื่อให้การปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดําเนินไปอย่างต่อเนื่อง” 
 

"เรืองไกร"ยื่นฟ้องให้ศาลปกครอง สั่ง "นายกฯ"ระงับ พรฎ.ยุบสภาชั่วคราว

เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542  มาตรา  3 บัญญัติว่า กฎ หมายความถึง พระราชกฤษฎีกา ด้วย มาตรา 9 (1) บัญญัติว่า “มาตรา 9 ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับ การที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะ เป็นการออกกฎ คําสั่งหรือการกระทําอื่นใดเนื่องจากกระทําโดยไม่มีอํานาจหรือนอกเหนือ อํานาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอัน เป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการกระทํานั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือก ปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับ ประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ” และมาตรา 11
 

(2) บัญญัติว่า “มาตรา 11 ศาลปกครองสูงสุดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังต่อไปนี้ ... (2) คดีพิพาทเกี่ยวกับ ความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฏที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความ เห็นชอบของคณะรัฐมนตรี” 

ดังนั้น พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 จึงเป็น กฎ ที่อยู่ในอํานาจ พิจารณาพิพากษาพิพากษาคดีของศาลปกครองสูงสุด ตามความในมาตรา 11 (2) และพระราช กฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 เข้าลักษณะที่นายกรัฐมนตรี ในฐานะเจ้าหน้าที่ของ รัฐ กระทําการโดยไม่สุจริต ใช้ดุลพินิจยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 103 วรรคสอง ตามความในมาตรา 9 (1)

ทั้งนี้ เห็นได้จากข้อความที่ระบุว่า “อันเป็นการคืนอํานาจ การตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนโดยเร็ว...” ซึ่งไม่สุจริต เพราะการยุบสภาผู้แทนราษฎร ย่อมทําให้การตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนล่าช้าออกไป เนื่องจากการยุบสภา ผู้แทนราษฎร นั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 103 วรรคสาม บัญญัติให้มีการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งต้องไม่ น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวัน แต่หากไม่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามพระราช 

กฤษฎีกาดังกล่าว อายุของสภาผู้แทนราษฎรก็จะครบกําหนดวาระสี่ปีในวันที่ 23 มีนาคม 2566 ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 99 อยู่แล้ว ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 บัญญัติว่า “เมื่ออายุ ของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภา 

ผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ” ดังนั้น ที่นายกรัฐมนตรี นําความกราบบังคมทูลฯ ว่า “ อันเป็นการคืน อํานาจการตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนโดยเร็ว...” จึงเป็นไปโดยไม่สุจริต เป็นการใช้ ดุลพินิจไม่ชอบ เพราะการยุบสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าว ย่อมทําให้การคืนอำนาจการตัดสินใจ 
ทางการเมืองให้แก่ประชาชนไม่ได้เป็นไปโดยเร็ว แต่กลับจะล่าช้าออกไปอีก

  • ชี้พรฎ.ยุบสภาใช้ดุลพินิจไม่ชอบ

พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ที่มีผลใช้บังคับวันที่ 20 มีนาคม 2566 ทั้งที่รู้อยู่ว่าวันที่อายุ ของสภาผู้แทนราษฎรจะสิ้นสุดลงในวันที่ 23 มีนาคม 2566 ห่างกันเพียง 3 วัน ย่อมเห็นได้ว่า  เหตุผลในการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พศ. 2566 ที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นั้น การกระทําของผู้ถูกฟ้องคดีจึง เป็นไปโดยไม่สุจริต เป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบ ทําให้พรรคการเมืองที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะถูกเสนอชื่อ เป็นบัญชีนายกรัฐมนตรี ได้รับประโยชน์เกี่ยวข้อง ได้รับประโยชน์ในการเป็นสมาชิกจากระยะเวลาเก้าสิบวันเหลือเพียงสามสิบวัน ตาม เงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ มาตรา 97 (3)

อันมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติใช้ดุลพินิจยุบสภา ผู้แทนราษฎรที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ฟ้องคดีที่สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองพรรคหนึ่งโดยนับ คํานวณเวลาการเป็นสมาชิกเก้าสิบวันก่อนวันที่สภาผู้แทนราษฎรจะครบวาระสี่ปีในวันที่ 23 มีนาคม 2566 การที่ผู้ถูกฟ้องคดีใช้อํานาจในฐานะนายกรัฐมนตรีทําการยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังกล่าว ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า สภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 และบัดนี้ได้ปิด สมัยประชุมสามัญประจําปีที่สี่อันเป็นปีสุดท้ายของอายุสภาผู้แทนราษฎรแล้ว

กรณีย่อมทําให้ผู้ฟ้องคดีหรือพรรคการเมืองอื่นได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือ เสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการยุบสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดี และทําให้ พรรคการเมืองที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้สมัครเป็นสมาชิกแล้วได้เปรียบในการลดเวลาให้ผู้ที่ประสงค์จะ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะถูกเสนอชื่อ ในบัญชีนายกรัฐมนตรี ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีย่อมเล็งเห็นผลว่า การกระทําดังกล่าวจะช่วยให้พรรค การเมืองที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะถูกเสนอชื่อในบัญชีนายกรัฐมนตรีมีโอกาสที่จะชักชวนสมาชิกของ พรรคการเมืองอื่นหรือบุคคลใดที่มีโอกาสจะชนะการเลือกตั้งให้ลาออกแล้วมาสมัครเป็นสมาชิก พรรคการเมืองที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นสมาชิกและหวังผลจะเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยหน้า เนื่องจาก จะต้องทําให้พรรคการเมืองดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้มีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละห้า คือไม่น้อย 25 คน

ดังนั้น การยุบสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกฟ้องคดีจึงมุ่งหวังเพื่อให้ได้เปรียบทางการเมืองโดยอาศัยพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 มาเป็นประโยชน์ใน การลดเวลาการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีส่วนได้เสียจากเก้าสิบวันเหลือเพียง สามสิบวันในการเตรียมการหาเสียงเลือกตั้งภายในสี่สิบห้าวันหากสภาผู้แทนราษฎรครบวาระสี่ปี

การกระทําดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดี ยังเข้าข่ายเป็นการกระทําที่ใช้บังคับมิได้ตามความใน รัฐธรรมนูญ มาตรา 5 กรณีจึงจําเป็นต้องขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาความชอบด้วย กฎหมายของพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ดังกล่าว