เลือกตั้ง 2566 กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น ล่าสุดได้มีการจับเบอร์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ระบบเขต กทม. เป็นที่เรียบร้อย
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่สำคัญก็คือวิธีการกาบัตรเลือกตั้งของประชาชนจะต้องทำอย่างไร เพราะเบอร์ของพรรค และผู้สมัครจะไม่ตรงกัน
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เพื่อไขคำตอบเรื่องดังกล่าวพบว่า
ในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้แบ่ง "บัตรเลือกตั้ง" ออกเป็น 2 ใบ ประกอบด้วย
ข้อแตกต่างบัตรเลือกตั้งแบ่งเขต-บัญชีรายชื่อ
และประชาชนผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 2566 จะต้องกาเลือกส.ส. 2 ใบ ทั้งบัตรแบบแบ่งเขต และ แบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566
นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวชี้แจงเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้จะเป็นพรรคเดียวกันแต่เป็นคนละหมายเลข (เบอร์ ) โดยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กกต.เป็นเพียงผู้กำหนดรูปแบบบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น
สำหรับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 84 กำหนดรูปแบบบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภทไว้คือ
1. ต้องเป็นแบบละ 1 ใบ
2. ต้องมีลักษณะ "แตกต่างกันที่สามารถจำแนกออกจากกันได้อย่างชัดเจน" เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิดความสับสน ดังนั้น การกำหนดให้บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มีชื่อพรรคการเมืองและเครื่องหมายพรรคการเมือง จึงเป็นบัตรที่มีลักษณะเดียวกันกับบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จึงอาจต้องห้ามตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง
3.บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง(มาตรา 84 วรรคสอง) "ต้องมี"
4. บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ(มาตรา 84 วรรคสาม) "ต้องมี"
การกำหนดรูปแบบบัตรเลือกตั้งของ กกต. จึงเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายทุกประการ
อย่างไรก็ดี หากย้อนดูประวัติศาสตร์ของประเทศไทย พบว่ารูปแบบบัตรเลือกตั้ง นับแต่มีการเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมา ในไทยมาจนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบบัตรที่ใช้เลือกตั้ง อยู่ 3 ประเภท คือ