เช็คสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 ในเขต-นอกเขตด้วยเลข 13 หลัก

05 เม.ย. 2566 | 07:05 น.

เช็คสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 ในเขต-นอกเขตเลือกตั้งลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เปิดตรวจสอบสิทธิ์ด้วยเลข 13 หลัก คลิกที่นี่

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่จะมีการเลือกตั้งกันในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งต่างตื่นตัวและให้ความสนใจกันอย่างมาก

ทั้งนี้ ตามกฎหมาย กกต.กำหนดให้ผู้ที่ติดภารกิจหรืออาจมีธุรกิจในวันออกเสียงดังกล่าวหรืออยู่ไกลจากภูมิลำเนาที่ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าไว้แล้ว สามารถตรวจสอบสิทธิการเลือกตั้งล่วงหน้าได้ โดยมีขั้นตอนรายละเอียด ดังนี้ 

ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าของ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (คลิกที่นี่

เช็คสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 ในเขต-นอกเขตด้วยเลข 13 หลัก เช็คสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 ในเขต-นอกเขตด้วยเลข 13 หลัก

2.กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก

3.คลิกที่ปุ่ม "ตรวจสอบ"

4.ข้อมูลจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้งของบุคคลนั้น อาทิ เขตเลือกตั้งตามภูมิลำเนา และหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าที่จะไปใช้สิทธิ

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

1.มีสัญชาติไทย หรือหากเคยแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

2.อายุไม่ตํ่ากว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง

3.มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง

1.เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

2.อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้ง

3.ต้องคุมขังโดยหมายของศาล หรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

ทั้งนี้ กกต.กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงทะเบียนยื่นขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต นอกเขต และนอกราชอาณาจักรได้ จนถึงวันที่ 9 เมษายน 2566 นี้เท่านั้น 

หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ได้แจ้งเหตุฯ หรือแจ้งเหตุฯ แล้วแต่เหตุนั้นไม่สมควร กฎหมายกําหนดให้เสียสิทธิบางประการดังต่อไปนี้

1.สิทธิในการยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส.

2.สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.

3.สิทธิในการสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน

4.ต้องห้ามดํารงตําแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

5.ต้องห้ามดํารงตําแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นหรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การจํากัดสิทธิทั้ง 5 ข้อข้างต้นกําหนดเวลาครั้งละ 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง