วิธีกาบัตรเลือกตั้ง 2566 สีเขียว สีม่วง สิ่งที่ห้ามทำเสี่ยงติดคุกหัวโต

10 พ.ค. 2566 | 23:55 น.

วิธีกาบัตรเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 สีเขียว สีม่วง สำหรับผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง พร้อมรายละเอียดสิ่งที่ต้องทำกับการกาบัตรดี ป้องกันบัตรเสีย และสิ่งที่ห้ามทำเสี่ยงติดคุกหัวโต

เลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 เดิมพันอนาคตประเทศไทย ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งเตรียมตัวออกไปเลือกคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ โดยที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดรายละเอียดของการไปลงคะแนน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ “บัตรเลือกตั้ง” สีม่วง สีเขียว พร้อมระบุสิ่งที่ห้ามทำเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นประโยชน์ก่อนเข้าคูหา

ฐานเศรษฐกิจ ได้รวบรวมข้อมูล รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับบัตรเลือกตั้ง รวมทั้งข้อกำหนด และวิธีการเลือกตั้งเอาไว้อย่างชัดเจน แบบเข้าใจง่ายที่สุด สรุปได้ดังนี้

บัตรเลือกตั้ง เป็นยังไง

การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566  สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้ผู้ลงคะแนนได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ นั่นคือ 

  • บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (บัตรสีม่วง) 
  • บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (บัตรเขียว) 
     

บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (บัตรสีม่วง) 

 

บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (บัตรเขียว) 

ขั้นตอนการรับบัตรเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบแล้ว ต้องลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้ว หัวแม่มือขวา บนต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ประเภท โดยกรรมการประจำที่เลือกตั้งลงลายมือชื่อในต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง ก่อนที่จะเข้าคูหาเพื่อไปทำเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้ง แต่ละประเภท

7 ข้อห้ามทำอะไรกับบัตรเลือกตั้ง

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดข้อห้ามรวม 7 ข้อที่ผู้มีสิทธิห้ามทำกับบัตรเลือกตั้งโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะผิดกฎหมายเลือกตั้งได้ แยกเป็นกรณีต่าง ๆ ดังนี้

  1. ห้ามใช้บัตรอื่น ที่ไม่ได้รับจากเจ้าพนักงาน
  2. ห้ามนำบัตรใส่ในหีบโดยมิชอบ หรือทำให้มีบัตรเพิ่มจากความจริง
  3. ห้ามนำบัตรออก จากหน่วยเลือกตั้ง
  4. ห้ามทำเครื่องหมายอื่น หรือสัญลักษณ์ในบัตรเลือกตั้ง
  5. ห้ามถ่ายภาพบัตร ที่ลงคะแนนแล้ว
  6. ห้ามโชว์บัตรที่ลงคะแนนแล้วต่อผู้อื่น
  7. ห้ามทำบัตรให้ชำรุด หรือทำบัตรเสียให้เป็นบัตรที่ใช้ได้

 

7 ข้อห้ามทำอะไรกับบัตรเลือกตั้ง

บทลงโทษตามข้อห้ามบัตรเลือกตั้ง

1.ใช้บัตรอื่น ที่ไม่ได้รับจากเจ้าพนักงาน มีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000 – 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี

2.นำบัตรใส่ในหีบโดยมิชอบ หรือทำให้มีบัตรเพิ่มจากความจริง, นำบัตรออก จากหน่วยเลือกตั้ง และทำเครื่องหมายอื่น หรือสัญลักษณ์ในบัตรเลือกตั้ง มีโทษจำคุก 1-5 ปี ปรับ 20,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี

3.ถ่ายภาพบัตร ที่ลงคะแนนแล้ว และโชว์บัตรที่ลงคะแนนแล้วต่อผู้อื่น มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.ทำบัตรให้ชำรุด หรือทำบัตรเสียให้เป็นบัตรที่ใช้ได้ มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี

วิธีกาบัตรเลือกตั้ง ที่ถูกต้อง

สำหรับวิธีกาบัตรเลือกตั้งที่ถูกต้องนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะต้องทำเครื่องหมายกาบาท หรือทำเครื่องหมาย X ลงในบัตรเลือกตั้ง ทั้ง 2 ประเภท คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ในช่องที่ระบุไว้ โดยมีรูปแบบการกาบัตรเลือกตั้งที่เป็นบัตรดี และบัตรเสีย ดังนี้

 

รูปแบบการกาบัตรเลือกตั้งที่เป็นบัตรดี และบัตรเสีย มีวิธีการกาอย่างไร