เลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ประชาชนคนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. ( ไม่มีพักเที่ยง ) อย่างไรก็ดี สำหรับกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก หรือ First Voter ที่มีอายุ 18-22 ปี ซึ่งมีจำนวนราว 4 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 7.67 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด อาจกังวล หรืออยากจะรู้เรื่องของ "ข้อห้ามการแต่งตัวเข้าคูหาเลือกตั้ง" ทำอย่างไรไม่ให้ผิดกฏหมาย เรื่องนี้มีคำตอบ
กฏหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2561 มาตรา 79 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการโฆษณาหาเสียงโดยวิธีการใด ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง นับตั้งแต่เวลา 18.00 น.ของวันก่อนการเลือกตั้งหนึ่งวัน จนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
นั่นก็คือการเลือกตั้ง 2566 สามารถโฆษณาหาเสียงได้ถึงเวลา 18.00 น.ของวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 เท่านั้น หลังจากนั้นคือ ตั้งแต่เวลา 18.00 น.ของวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 จนจบวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ของการเลือกตั้ง ห้ามไม่ให้ผู้ใดโฆษณาหาเสียง
ตัวอย่างของการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการโฆษณาหาเสียงให้พรรคการเมือง เช่น
บทลงโทษตามกฏหมาย
ขณะที่ พล.ต.ท.นิธิธร จินตกานนท์ ผู้บัญชาการประจำสำนักงาน ผบ.ตร.ในฐานะโฆษก ศูนย์อำนวยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยการจัดการเลือกตั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศลต.ตร.) เปิดเผยว่าในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เตือนว่า
การหาเสียงขอให้อยู่ในกรอบของกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 79 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการโฆษณาหาเสียงโดยวิธีการใดไม่ว่าจะเป็นหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง นับตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนการเลือกตั้งหนึ่งวัน จนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง นั่นคือสามารถโฆษณาหาเสียงได้ถึงเวลา 18.00 น. ของวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 เท่านั้น
พร้อมย้ำในเรื่องของการงดเว้นแสดงสัญลักษณ์ที่เข้าข่ายเป็นการโฆษณาหาเสียง โดยการสวมใส่เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย กระเป๋า หมวก ที่มีโลโก้ หมายเลข สัญลักษณ์พรรคการเมือง หรือ ผู้สมัคร ส.ส. ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 โดยเฉพาะเมื่อเข้าไปในบริเวณหน่วยเลือกตั้ง และคูหาเลือกตั้ง เพราะอาจถือเป็นการโฆษณาหาเสียง เข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ