ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งระหว่าง "พรรคเพื่อไทย" และ "พรรคก้าวไกล"ในการชิงเก้าอี้ประธานสภา โดยทั้ง 2 พรรคต่างมีเหตุผลของตนเองในการครอบครองเก้าอี้ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ แม้ตามธรรมเนียมปฏิบัติ พรรคอันดับ1 ต้องได้ครองเก้าอี้ประธานสภา แต่การเลือกตั้งปี 2562 ก็เป็นตัวอย่างว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป
นอกเหนือจากการตกลงระหว่างกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปแล้ว แต่หากไม่มีการยอมถอยให้แก่กัน เก้าอี้ประธานสภาจะตกเป็นของผู้ใด ฐานเศรษฐกิจ เปิดขั้นตอนเลือก "ประธานสภา" ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562
ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 หมวด 1 การเลือกประธานสภา และ รองประธานสภา ระบุว่า การเลือกประธานสภา และ รองประธานสภาครั้งแรกให้เลขาธิการเชิญสมาชิกผู้มีอายุสูงสุด ซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อดำเนินการเลือกประธานสภา และรองประธานสภา และดำเนินการในเรื่องอื่นที่จำเป็นจะต้อง ประชุมปรึกษาในการประชุมครั้งนั้นด้วย
ถ้าผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม ได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานสภา หรือ รองประธานสภา ให้สมาชิกผู้มีอายุสูงสุดในลำดับถัดไปซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม
ขั้นตอนการเลือกประธานสภา
สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ โดยการเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน
จากนั้นให้ผู้ถูกเสนอชื่อกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุมภายในระยะเวลาที่ประธานกำหนด โดยไม่มีการอภิปราย
ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ แล้วให้ประธานประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกต่อที่ประชุม
การเลือกรองประธานสภา
ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการเลือกตำแหน่งประธาน ในกรณีที่สภามีมติให้มีรองประธานสภา 2คน ให้เลือกรองประธานสภาคนที่ 1 ก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานสภาคนที่ 2
เมื่อเลือกประธานสภา และรองประธานสภาได้แล้ว ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งไปยัง
นายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาแล้ว ให้เลขาธิการส่งสำเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบด้วย
อำนาจ หน้าที่ ของประธานสภา