"สมชาย-เสรี" 2 ส.ว. ประกาศชัดไม่โหวตเลือก "พิธา"

13 ก.ค. 2566 | 08:40 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ก.ค. 2566 | 08:42 น.

"สมชาย" ส.ว. ประกาศชัดไม่โหวตเลือก "พิธา" แคนดิเดตพรรคก้าวไกล ย้ำชัดไม่เหมาะเป็นนายกฯ ปมหนุนแก้ ม.112 "เสรี" ลั่นต่อให้บอกว่า ไม่แก้ 112 ก็ไม่เชื่อ เผยเจอเสียงก่นด่าตลอด 4 ปีแต่ต้องอยู่ทำหน้าที่ปกป้องสถาบันหลักของชาติ

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญซึ่งเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกลนั้น

นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) อภิปรายคุณสมบัตินายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ว่า ประเทศไทยเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วให้ไปร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลโดยมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีไม่ใช่การเลือกตั้งประธานาธิบดีหรือการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงที่กลุ่มบุคคลสภาทั้งในสภามวลชนบนถนน และในโซเชียลมีเดียที่เป็นกองทัพอวตาร

แก้วสามประการที่พยายามบังคับกดทับกดทับ ด้อยค่าแต่ให้สมาชิกวุฒิสภา มีส่วนร่วมในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรซึ่งระบุไว้ในรัฐธรรมนูญและผ่านเสียงประชามติมาแล้ว 

มี ส.ว.บางส่วนที่จะปิดสวิตช์ตัวเองที่เสมือนจะบวชเป็นพระไปตลอดชีวิตจนกว่าจะพ้นวาระการดำรงตำแหน่งก็ยังถูกขุด อ้อนวอนและไปขู่ บุญลี่และใช้ภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ไปปลุกท่านขึ้นมามาใช้สิทธิ์ซึ่งตนเองและสมาชิกทุกคนก็โดนทุกรูปแบบ

ทางครอบครัวตัวบุคคลและสภาพแวดล้อมแต่ทั้ง 250 คนยืนยันว่าส.ว.ทั้งหมด เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยอย่างสมบูรณ์มีสิทธิ์ในคะแนนเสียงเช่นเดียวกับ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งแม้จะมาจากการสรรหาก็ตาม

เพราะฉะนั้น การทำหน้าที่ของ ส.ว. วันนี้จากกระทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติซึ่งสถาบันหลักคือชาติศาสนาพระมหากษัตริย์เป็นที่ตั้ง 

นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ก่อนจะนำเอกสารหลักฐาน ร่างแก้ไขมาตรา 112 ที่พรรคก้าวไกล เสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯ ที่ระบุว่า ยกเลิก ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยจะกำหนดลักษณะความผิด

นอกจากนี้ผู้ที่แสดงความใด ๆ โดยความบริสุทธ์ไม่มีความผิด และให้ผู้ถูกกล่าวหาผู้ที่กระทำความผิด หากความผิดนั้นเป็นความจริงไม่ต้องรับโทษพร้อมทั้งกำหนดให้ความผิดลักษณะนี้เป็นความผิดที่ยอมความได้ซึ่งเป็นการทำให้ความผิดฐานหมิ่นประมาทมาตราพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท องค์รัชทายาท ลดลง เท่ากับการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา

ในช่วงท้าย นายสมชาย ยังมีข้อสงสัยต่อตัวตนของนายพิธา ทั้งเรื่องความจงรักภักดี ความพยายามในการดำเนินการนิรโทษกรรม คดี 112 มีการบิดเบือนด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ใช้วาทะกรรมกล้าวหาผู้เห็นต่าง พร้อมยังเห็นว่าการทำหน้าที่ของพรรคก้าวไกล ตั้งแต่เป็นฝ่ายค้าน จนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ตนจึงเห็นว่า นายพิธา ยังไม่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี 

ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา อภิปรายว่า สิ่งที่ตนเสนอต่อที่ประชุมแห่งนี้ไม่ได้เกิดจากความอคติหรือความไม่ชอบ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไก่ แต่เป็นด้วยหลักสำคัญของรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ให้รัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมมนูญภายใน 5 ปี ทำหน้าที่สำคัญในการให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จึงอยากให้ที่ประชุมแห่งนี้ได้พิจารณาเป็นสำคัญ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา "นายพิธา ไม่สมควรที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แม้จะถูกถามว่าจะไม่เลือกนายพิธาตามมติมหาชน หรือประชาชนที่ลงคะแนนเลือกตั้งมาหรือ การที่เราจะไม่ทำตามมติมหาชนก็ต้องทำความเข้าใจว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา เป็นการเลือกตั้งที่ประชาชนเลือกแต่พรรคพรรคการเมืองมาเรียบร้อยแล้ว

และแต่ละพรรคก็ต้องทำตามฉันทามติของพรรค แต่ ส.ว. ก็ถูกกล่าวถึงโดยถ้อยคำรุนแรงมาตลอด ยืนยันว่า ส.ว.ให้ความเคารพประชาชน แต่การทำหน้าที่ของส.ว. ก็แยกส่วนจากเสียงของประชาชนที่ลงคะแนนเลือกตั้งให้ ส.ส. แต่ละพรรค ซึ่งส่วนนั้นจบไปแล้ว"

นายเสรี กล่าวต่อว่า วันนี้มีกระบวนการที่ให้ประชาชนออกมาแสดงเจตจำนงหลายจังหวัดทั่วประเทศ จนสื่อมวลชนถามตนว่าไม่กลัวเสียงประชาชนที่สนับสนุนนายพิธา ที่อยู่นอกสภาหรือ ก็ต้องตอบว่ากลัวประชาชนเข้าใจผิดว่า ส.ว.ไม่ให้ความเกรงใจเสียงประชาชนแต่เราคำนึงถึงการทำหน้าที่ ส.ว.ที่ต้องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมระบุว่า เสียงประชาชนที่เลือกให้ 8 พรรค มี 25 ล้านเสียงแต่พรรคก้าวไกลได้เพียง 14 ล้านเสียงก็อย่าสำคัญผิดไป

เพราะฉะนั้น ความเห็นชอบก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการทำหน้าที่เป็นผู้นำประเทศ เป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องไม่กระทำการใดๆอันเป็นการลบหลู่ดูหมิ่น ไม่ปกป้อง ไม่เชิดชูสถาบัน เราจึงต้องพูดถึงมาตรา 112

"การแก้กฎหมายมาตรา 112 ที่พูดกันเป็นเพียงการแสดงเจตนา แต่สิ่งที่ตนและ ส.ว.เกือบทั้งหมด มีความตระหนักว่าเหตุการณ์ที่เกิดในบ้านเมืองนี้ ก่อนจะแก้มาตรา 112 ไม่ได้เกิดจากเหตุผลให้เป็นสากล หรือเป็นการสร้างแนวทางกฎหมายให้เป็นที่ปกป้องดูแลประชาชนที่ถูกกลั่นแกล้งในทางการเมือง

แต่สิ่งที่ปรากฏในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ส.ว.ถูกด่าทอในสภามาตลอด เราไม่ใส่ใจ แต่สิ่งที่ต้องทนอยู่เพราะต้องการปกป้องบ้านเมือง  4 ปีที่ผ่านมามีการกระทำที่ผิดต่อกฏหมายมากมาย สร้างเสรีภาพ แนวคิดให้เยาวชน ประชาชนทั่วไป แบบผิดๆ ให้มีการกระทำจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันและท่านก็มาพูดเองว่าถ้าจะแก้มาตรา 112 เพราะมีคนถูกดำเนินคดี 272 คดี

มีคนอยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีตอนนี้ 253 คน มันก็มาจากสิ่งที่ท่านไปสนับสนุนให้เยาวชน ประชาชนทั้งหลาย กระทำแต่เรื่องละเมิดสถาบัน จนปรากฏเป็นคดีมากมาย ซึ่งมันมีคลิปวิดีโอให้เห็น มีพอคนเหล่านี้ถูกดำเนินคดีก็ใช้สถานะความเป็น ส.ส.ไปช่วยประกันตัว แทนที่จะไปลดปัญหาไม่ให้กระทำความผิด จนเด็กเสียอนาคต ครอบครัวแตกแยก ไม่เคยเห็นท่านออกมาปกป้องห้ามปรามในสิ่งเหล่านี้"

นายเสรี กล่าวย้ำว่า สิ่งที่ทำปรากฏชัดเจนว่าเป็นการล้มล้าง แล้วจะให้ ส.ว. ไปสนับสนุนให้นายพิธาเป็นนายกฯ มันก็ผิดวิสัย และขอพูดเผื่อไว้ว่าถ้าอยากจะเป็นนายกฯ แล้วลุกขึ้นมาพูดว่าจะไม่แก้ไขมาตรา 112 ตนก็ไม่เชื่อแล้วเพราะไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะกลับมาแก้อีกหรือไม่ เราถูกก่นด่า ด่าทอจนเสียหาย แต่ก็ต้องอยู่เพื่อให้สิ่งไม่ดีไม่งาม ไม่เกิดขึ้นในบ้านเมืองไทย

การที่นายพิธาไปลงพื้นที่ต่างๆ มีประชาชนมาห้อมล้อมแสดงความยินดี เรียกท่านนายกฯ คนที่ 30 ก็เป็นความต้องการของประชาชน เป็นความรัก ความเชื่อ ความศรัทธา แต่ ส.ว.อยู่ในกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติ ความประพฤติ ก็ไม่อยากเห็นภาพคนมาก้มลงกราบทั้งที่ยังไม่ได้เป็นนายกฯ ก็ไม่นู้กราบจริงหรือจ้างมาแต่ไม่ควรให้ภาพเหล่านี้เกิดขึ้น ไหนจะเอาเด็กอายุ 10 ขวบมาขึ้นเวที ตนก็รู้สึกว่าจะอยู่ลำบาก ไม่ปลอดภัย เพราะคนเชียร์มากเหลือเกิน 

"ถ้าคนที่เชียร์ได้ฟังผมวันนี้ แล้วจะเลือกคนที่มีลักษณะต้องห้าม ขัดต่อรัฐธรรมนูญ กระทำการอันเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาตรา 112 ให้เป็นนายกฯ หรือ ก็ขอให้นำเรื่องนี้ไปพิจารณาก่อนที่จะออกมาชุมนุมเรียกร้อง อยากให้หูตาสว่าง ไม่เกิดความรุนแรง และผมไม่เห็นด้วยที่จะให้นายพิธาและพรรคก้าวไกล เป็นผู้บริหารประเทศหรือเป็นนายกฯ"