มาทำความรู้จักกับ “สรรเพ็ชญ ศรีสวัสดิ์” หรือ“เจมส์”ลูกชายคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 4 คน ของ “ชำนาญ ศรีสวัสดิ์” ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) นักธุรกิจแถวหน้าด้านการท่องเที่ยวระดับประเทศ และจังหวัดกระบี่ เจ้าของบริษัท พีพีทัวร์ จำกัด และหจก. ศรีสวัสดิ์ ทราเวล แอนด์ ทัวร์ ผู้เชี่ยวชาญการให้บริการนักท่องเที่ยวทั้งทางบกและทางทะเล
“เจมส์” เกิดและเติบโตที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ เริ่มเรียนที่แรกคือ โรงเรียนวัดบ้านห้วยเสียด เป็นโรงเรียนใกล้บ้าน ก่อนจะเข้ามาเรียนต่อในอำเภอเมืองที่โรงเรียนอนุบาลกระบี่ จนจบระดับมัธยมต้นที่โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล
จบไฮสกูลที่ Henry Herbert Dow High School รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และจบปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ (BBA) โดยได้รับรางวัล นักศึกษาสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Honor Student)
“ผมพร้อมลุยจริงๆ ทุกวันนี้ผมเดินเข้าทุกพื้นที่เขต 1 เพื่อพบปะชาวกระบี่มากที่สุด กลยุทธ์หาเสียงที่เหนือคู่แข่งคนอื่นคือ ความรู้ความสามารถในการบริหารธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจด้านดิจิทัลที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้แก่ทุกพื้นที่ของจังหวัดกระบี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมยังเป็นผู้สมัครที่อายุน้อยที่สุดและแข็งแรงที่สุด เมื่อเทียบกับคู่ชิงในสมรภูมิเลือกตั้งเขต 1 ของกระบี่อีกด้วย”
“เจมส์”เปิดฉากเล่าถึงความมุ่งมั่นที่จะเป็นตัวแทนชาวกระบี่ เขต 1 ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง ด้วยอายุที่ยังน้อย และมีร่างกายที่แข็งแรง เขาย้ำว่า “พยายามลงพื้นที่เคาะประตูบ้านให้ได้ครอบคลุมทุกตำบล ตั้งเป้าเดินพบประชาชนให้ได้วันละ 400 บ้าน ตั้งแต่ได้รับหมายเลข 4 จนถึงปัจจุบัน ผมก็เริ่มเดินตั้งแต่เช้า ถึงพลบค่ำทุกวัน”
หลังได้สัมผัสกับประชาชน “เจมส์” ยอมรับว่า ปัญหามีหลายรูปแบบ ที่ได้รับเสียงสะท้อนจริงๆคือ นโยบายที่ “ลุงตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ทำมานั้นเข้าถึงชาวรากหญ้าจริงๆ เพราะประเทศไทยมีความต้องการหลากหลาย บางคนต้องการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ขณะที่ยังมีกลุ่มเปราะบาง ผู้ยากไร้อยู่อีกมาก การได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจึงเป็นนโยบายที่เข้าถึงประชาชนได้เป็นอย่างดี
เจมส์ เล่าว่า ความต้องการของกลุ่มวัยรุ่น ก็มีหลากหลายแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะอิงประเทศไทยกับต่างประเทศ อยากมีการศึกษาเหมือนฟินแลนด์บ้าง อยากให้บ้านเมืองเหมือนสิงคโปร์บ้าง
“ผมยกตัวอย่างให้ฟังว่าประเทศไทยจริงๆมีมิติความสวยงามมากมายและโดดเด่น ผมเป็นคนหนึ่งที่เดินทางไปทั่วโลก ได้เห็นโลกในมุมต่างๆ เช่น ไปสิงคโปร์ ประเทศเขาเป็นเกาะที่มีการพัฒนา มีระเบียบ มีความทันสมัยมาก แต่ปัญหาก็มีคือ เขาต้องรักษาทรัพยากรให้อยู่ในประเทศ เพราะคนอยากออกมาอยู่ข้างนอก จากปัญหาค่าครองชีพสูง การแข่งขันสูง ระดับความเครียดก็สูง หรือประเทศญี่ปุ่นเรามองเห็นธรรมชาติสวยงาม ความมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความทันสมัย แต่ขณะเดียวกันอัตราการฆ่าตัวตายก็สูงมากที่สุด”
ขณะที่ประเทศไทยดูจากภายนอกอาจไม่สมบูรณ์มากมาย เท่าสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี แต่ความเครียดของประชาชน หรือความสุขของประชาชนมีมากกว่าแน่นอน สำหรับคนรุ่นใหม่เขาอยากเห็นความก้าวหน้า แต่มิติที่เราจะมาขับเคลื่อนเมืองกระบี่ได้คือ การพัฒนาพื้นที่ การพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เพื่อทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ต่อประชากรต่อหัวให้เพิ่มมากขึ้นภายในจังหวัดกระบี่
“ผมมองว่าการที่จะให้คนรุ่นใหม่กลับมาอยู่บ้านเกิดมากขึ้นต้องมีโอกาส และมีงานให้เขาทำ ทำอย่างไรที่จะทำให้จังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่มีการกระจายตัวในหลายพื้นที่ หลายรูปแบบมากขึ้น โดยไม่กระจุกในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง”
หนึ่งในเรื่องสำคัญที่ “เจมส์” อยากผลักดันเพื่อกระบี่คือ การพัฒนาพื้นที่นอกสายตาให้เป็น “พื้นที่ทองคำ” สร้างการท่องเที่ยวให้บางพื้นที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสร้างรายได้ จังหวัดกระบี่โชคดีที่มีทั้งเกษตร และประมงเป็นพื้นฐาน จากที่เคยได้รับโอกาสให้เสนอแผนยุทธศาสตร์ชาติต่อนายกฯว่าพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว จะเป็นพื้นที่ทองคำ เช่น เขาใหญ่ แต่ก่อนทิ่ดินไร่ละ 3 แสนบาทช่วงที่ไม่มีการท่องเที่ยวเข้าถึง
แต่เมื่อมีการท่องเที่ยวเข้าถึงแล้ว ราคาที่ดินริมถนนเพิ่มสูงถึง 5-10 ล้านบาท แปลว่า การท่องเที่ยวไปเพิ่มมูลค่าที่ดิน ไปเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ในที่ดิน ทำให้เกิดการลงทุนตามมา เช่น จากไร่ละ 3 แสนบาทขึ้นเป็น 5 ล้านบาท มี10ไร่ ก็สามารถนำไปเข้าธนาคารได้ กู้เงินมาทำคาเฟ่ได้ ส่งผลให้เกิดการจ้างงานขึ้นมา กลายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมบริการไม่ว่าโรงแรมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่แค่ 2ไร่ก็สามารถสร้างงานได้ 50-100 คน
“ผมกำลังจะบอกว่า พื้นที่ทางเศรษฐกิจจะเกิดการลงทุน การจ้างงาน สร้างโอกาสให้คนในพื้นที่ได้ ต่อเมื่อพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว จึงจะสามารถดึงคน กลับมาทำงาน กลับมาลงทุนในพื้นที่ตรงนั้นได้”
ยกตัวอย่างเวียดนาม เขาลงทุนสร้างสะพานมือบานาฮิลล์ สะพานมือแห่งเดียวก็ดึงคนมาท่องเที่ยวได้ถึง 20 ล้านคน ทำให้เกิดรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจสูงมาก
ขณะที่ประเทศไทยดูจากภายนอกอาจไม่สมบูรณ์มากมาย เท่าสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี แต่ความเครียดของประชาชน หรือความสุขของประชาชนมีมากกว่าแน่นอน สำหรับคนรุ่นใหม่เขาอยากเห็นความก้าวหน้า แต่มิติที่เราจะมาขับเคลื่อนเมืองกระบี่ได้คือ การพัฒนาพื้นที่ การพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เพื่อทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ต่อประชากรต่อหัวให้เพิ่มมากขึ้นภายในจังหวัดกระบี่
“ผมมองว่าการที่จะให้คนรุ่นใหม่กลับมาอยู่บ้านเกิดมากขึ้นต้องมีโอกาส และมีงานให้เขาทำ ทำอย่างไรที่จะทำให้จังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่มีการกระจายตัวในหลายพื้นที่ หลายรูปแบบมากขึ้น โดยไม่กระจุกในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง”
หนึ่งในเรื่องสำคัญที่ “เจมส์” อยากผลักดันเพื่อกระบี่คือ การพัฒนาพื้นที่นอกสายตาให้เป็น “พื้นที่ทองคำ” สร้างการท่องเที่ยวให้บางพื้นที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสร้างรายได้ จังหวัดกระบี่โชคดีที่มีทั้งเกษตร และประมงเป็นพื้นฐาน จากที่เคยได้รับโอกาสให้เสนอแผนยุทธศาสตร์ชาติต่อนายกฯว่าพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว จะเป็นพื้นที่ทองคำ เช่น เขาใหญ่ แต่ก่อนทิ่ดินไร่ละ 3 แสนบาทช่วงที่ไม่มีการท่องเที่ยวเข้าถึง
แต่เมื่อมีการท่องเที่ยวเข้าถึงแล้ว ราคาที่ดินริมถนนเพิ่มสูงถึง 5-10 ล้านบาท แปลว่า การท่องเที่ยวไปเพิ่มมูลค่าที่ดิน ไปเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ในที่ดิน ทำให้เกิดการลงทุนตามมา เช่น จากไร่ละ 3 แสนบาทขึ้นเป็น 5 ล้านบาท มี10ไร่ ก็สามารถนำไปเข้าธนาคารได้ กู้เงินมาทำคาเฟ่ได้ ส่งผลให้เกิดการจ้างงานขึ้นมา กลายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมบริการไม่ว่าโรงแรมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่แค่ 2ไร่ก็สามารถสร้างงานได้ 50-100 คน
“ผมกำลังจะบอกว่า พื้นที่ทางเศรษฐกิจจะเกิดการลงทุน การจ้างงาน สร้างโอกาสให้คนในพื้นที่ได้ ต่อเมื่อพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว จึงจะสามารถดึงคน กลับมาทำงาน กลับมาลงทุนในพื้นที่ตรงนั้นได้”
ยกตัวอย่างเวียดนาม เขาลงทุนสร้างสะพานมือบานาฮิลล์ สะพานมือแห่งเดียวก็ดึงคนมาท่องเที่ยวได้ถึง 20 ล้านคน ทำให้เกิดรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจสูงมาก
“ผมจึงเชื่อว่า จังหวัดกระบี่มีการท่องเที่ยวเป็นจุดขาย ถ้าเราดึงนักท่องเที่ยว เข้าสู่พื้นที่อื่นๆได้ เช่นที่ เกาะปู เกาะศรีบอยา เกาะจำ อำเภอเมือง และอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ได้ พื้นที่เหล่านั้นจะไม่ใช่เมืองทางผ่านอีกต่อไป เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติเยอะมาก เช่น เขาขนาบน้ำ ป่าโกงกาง ทำให้บริเวณรอบๆเปรียบเสมือน “เวนิสน้อย” อำเภอเหนือคลองก็จะมีตลาดใน เหมือนเยาวราชหรือไชน่าทาวน์สวยงามมาก การดึงคนกลับมาในพื้นที่ เราต้องสร้างโอกาสให้เขา ต้องผลักดันพื้นที่ให้กลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะกระจายรายได้เข้าสู่พื้นที่นั้น เพื่อเปลี่ยนพื้นที่นั้นให้เป็นพื้นที่ทองคำในที่สุด
ที่ผ่านมาตั้งแต่ ครม. “ลุงตู่” สิ่งที่ทำแล้วเกิดขึ้นจริง คือ ปี 2561 ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอันดับ 4 ของโลก ช่วงเกิดวิกฤติโควิด-19 สิ่งที่นายกฯ ให้ความสำคัญคือ การกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชน ทำโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อไปถึงชุมชนคือ ถนน หนทางต่างๆเกิดการพัฒนาไปสู่ชุมชน สิ่งที่จะต้องเพิ่มเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่คือ มิติของการท่องเที่ยว
ในฐานะตัวแทนนำเสนอแผนเศรษฐกิจไทย-อันดามันสู่ยุทธศาสตร์ชาติต่อนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ที่จังหวัดภูเก็ตเป็นความภูมิใจและแรงผลักดันที่ทำให้ความตั้งใจของเขาจะต้องเป็นจริงให้ได้
ไม่แปลกที่ “เจมส์”ประกาศจะเดินหน้าต่อยอดไอเดียพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้สร้างอาชีพที่มั่นคงตามวิถีชุมชนอย่างเต็มที่ ขอเพียงประชาชนให้โอกาสเท่านั้น!