วิเวียน จุลมนต์ หรือ “อีฟ” จบปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นติวเตอร์กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการและวิชาการเงิน SIIT มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในสถาบัน Apogee วิศวกรฝ่ายขาย บริษัท โดนัลด์สัน(ประเทศไทย) จำกัด และที่ปรึกษาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม บริษัท 2บี กริม จำกัด
“อีฟ”ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ”ถึงแรงจูง เบนเข็มเข้าสู่สนามการเมืองว่า ชื่นชมการจัดการบริหารด้านการเงิน-เศรษฐกิจ ของหัวหน้าพรรค " กรณ์ จาติกวณิช" และชอบนโยบายพรรคที่กล้าพุ่งเป้าทะลาย"ทุนผูกขาด"ทุกประเภท
" วิเวียน" กล่าวด้วยแววตามุ่งมั่นว่า แม้เป็นผู้สมัครหน้าใหม่ แต่เวลาลงพื้นที่รู้สึกประทับใจแววตาและรอยยิ้มจากชาวจตุจักร-หลักสี่ ที่ให้การต้อนรับและมีกระแสดีขึ้นเป็นลำดับ ปัญหาที่ประชาชนสะท้อนมากที่สุดคือเรื่องปากท้อง ปัญหาหนี้นอกระบบ จึงเสนอยกเลิกแบล็กลิสต์ ไม่ต้องพึ่งหนี้นอกระบบ และ"แก๊งหมวกกันน็อค"
ส่วนนโยบายของพรรคในการทะลายทุนผูกขาดที่กล่าวถึง คือ เรื่องแรก การแข่งขันที่เป็นธรรม ประชาชนสามารถที่จะเซ็นซื้อขายไฟระหว่างกันได้ จึงเป็นที่มาของการเสนอรื้อโครงสร้างพลังงาน เพราะพลังงานเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุด ยิ่งในเดือนเมษายน ค่าไฟแพงขึ้น กำลังเป็นประเด็นร้อนของทุกคน
"วิเวียน"ขยายความถึงนโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้าว่า มีนโยบายเศรษฐกิจเฉดสี ซึ่งเป็นสีเขียว เรามีนโยบายสิ่งแวดล้อม การพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้โลกร้อนขึ้น ทางแก้คือต้องพลักดันให้ใช้พลังงานเสรีมากขึ้น การติดโซลาเซลล์ เป็นเรื่องของคนมาเงิน จะติดได้ต้องมีเงิน 1-2 แสน ยังเข้าไม่ถึงประชาชนรากหญ้า บางพรรคให้ติดโซล่าบนหลังคาบ้าน
แต่การครอบครองโซล่าเซลล์ บนหลังคาบ้านยังไม่พอ จะดีกว่าไหมถ้าเรามีแผงโซลาเซลล์บนหลังคาบ้านของเรา สามารถขายไฟกลับเข้าสู่ไมโครกริด ได้ หรือไมโครกริด เป็นระบบไฟฟ้าย่อย มองให้เห็นภาพง่ายคือ สมัยก่อนถ้าพูดถึงเรื่องน้ำมัน ท่องส่งก๊าซ เจ้าภาพคือ ปตท. แต่ตอนนี้มีการแปรรูปก็มีการแยกท่อก๊าซออกมา แต่มุมมองของสายไฟฟ้า คนควบคุมคือ กฟผ. พรรคมีแนวคิดที่จะไปรื้อระบบราชการ ระบบกฎหมาย ทำอย่างไรก็ได้ให้ประชาชนขายไฟเข้าสู่ระบบ
เรื่องทุนผูกขาด เรามีเอกชนเป็นทั้งคนไทยและต่างชาติ ตลกตรงที่ เราทำสัญญาซื้อไฟ คิดว่าๆจะทำโรงไฟฟ้าโรงหนึ่งต้องมีทุนมหาศาล เราไปลงพื้นที่มีคนบอกว่าอยู่ดีๆจะไปสู้กับทุนใหญ่ได้อย่างไร เขาอุตส่าห์มาสร้างโรงไฟฟ้าในบ้านเราเป็นพลังงานทางเลือกให้เราแล้ว เขาลงทุนเยอะก็มีสิทธิที่จะได้ในสิ่งนั้น
แต่พลังงานไฟฟ้าใช้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ไม่ต้องกลัวว่าอยู่ดีๆประชาชนจะลุกขึ้นมาขายไฟแล้วโรงไฟฟ้าของเอกชนรายใหญ่จะขายไม่ได้ เดี๋ยวประเทศเราก็ต้องมีรถอีวีใช้แล้ว ภายในปี 2030 โลกของเราจะเข้าสู่ “ carbon neutrality”หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน และปี 2050 เข้าสู่ Net Zero Emission หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
คำถามคือ ประเทศไทยพร้อมแล้วหรือยัง และถ้าเราทำให้ประเทศเราให้พร้อม เราต้องพึ่งทุนผูกขาด พึ่งบริษัทพลังงานไฟฟ้าแค่นั้นหรือค่ะ ทำไมรัฐบาลไม่เลือกให้ประชาชนมีสิทธิผลิตสู้ มีไฟเองได้ แบ่งปันได้
"วิเวียน" กล่าวถึงนโยบาย“อีโคโนมีสเปกตรัม (economy spectrum) หรือแนวทางการหาเงิน 5 ล้านล้านบาท ของ”กรณ์”และทีมนโยบายพรรคที่คิดเป็นแบบเจ็ดเฉกสี และหนึ่งในนั้นเป็นด้านเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งจะทำลักษณะของการหาเงินเข้าประเทศ และช่วยลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม
เช่นเรื่องไฟฟ้าเสรี ถ้าเราผลิตไฟฟ้าต้องสามารถขายเข้ากริดได้ แต่ในมุมประชาชน ในแง่ความคุ้มไม่คุ้มเลย คุ้มเฉพาะการประหยัดไฟในบ้าน แต่เราต้องการเข้ามารื้อโครงสร้างด้านราคาให้เป็นธรรม เมื่อประชาชนติดโซล่าแล้ว สามารถขายกลับเข้าระบบสร้างเงินในกระเป๋าได้ ซึ่งรัฐบาลต้องแฟร์และเป็นเจ้าภาพ ในเรื่องการทำสัญญาการขายไฟ
เราจึงเสนอในเรื่องของกองทุนโซล่า โดยรัฐบาลให้ยืมเงินมาติดตั้งโซล่า แล้วผ่อนเงินเข้ากองทุน อัตราดอกเบี้ย 0 % เป็นการแบ่งเบาภาระประชาชน ไม่ใช่การสนับสนุนให้คนใช้ไฟฟรี ในระยะยาวเมื่อประชาชนผ่อนหมด ก็จะมีเงินในกระเป๋าเพราะสามารถผลิตไฟเองได้
ส่วนโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง วิเวียนเน้นการลงพื้นที่ให้มากที่สุด แม้จะลงพื้นที่ครบแล้ว แต่ยังไม่ละเอียด ต้องเดินซ้ำอีกครั้ง คุณกรณ์บอกให้เดินทุกบ้าน ให้เข้าทุกโซล
พร้อมย้ำว่า ต้องทำให้ดีที่สุด ไม่กลัวและกล้าที่จะเดินทุกพื้นที่ เน้นเดินและคุยเป็นหลัก บางครั้งต้องลุยแก้ไขป้ายด้วยตัวเอง ลงพื้นที่ครบแล้ว แต่ยังไม่ละเอียด ต้องเดินซ้ำอีกครั้ง คุณกรณ์บอกให้เดินทุกบ้าน เข้าทุกโซลให้ดีที่สุด
“เราเอาความจริงใจเดินพบเจ้าบ้าน เรากล้าที่จะไปพบประชาชน แม้จะมีคนเตือนว่าเป็นพื้นที่ของพรรคการเมืองหนึ่ง แต่เราไปพบพี่น้องประชาชนด้วยความจริงใจ และไม่กังวลต่ออำนาจการเมืองใดๆ”
คำยืนยันจากผู้สมัครเลือดใหม่ ที่พร้อมจะต่อสู้เพื่อการแข่งขันที่เป็นธรรม และกล้าชนกับทุนผูกขาด!