WHO เตือนการใช้พลาสมารักษาผู้ป่วยโควิด ยังมีความเสี่ยง

24 ส.ค. 2563 | 18:12 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ส.ค. 2563 | 07:25 น.

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ที่ผ่านมา การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยการใช้พลาสมายังคงมีประสิทธิภาพต่ำ และยังอยู่ในขั้นของการทดลอง

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) มีท่าทีระมัดระวังต่อข่าวที่ว่า สหรัฐอเมริกา ให้การ อนุมัติการใช้พลาสมาที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน (convalescent plasma) ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยพลาสมาเหล่านี้มาจากผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคโควิด-19 แต่ได้รับการรักษาจนหายดี

พลาสมาเหล่านี้มาจากผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคโควิด-19 แต่ได้รับการรักษาจนหายดี

นายซอมยา สวามินาธาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ WHO กล่าวว่า การทดลองทางคลินิกพบว่า การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยการใช้พลาสมา ประสบความสำเร็จเพียงไม่กี่ครั้ง และควรมีการใช้ในการทดลองเท่านั้น เพื่อทำการประเมินผลต่อไป แทนที่จะมีการใช้รักษาในวงกว้าง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ทรัมป์"เผย FDA ไฟเขียวใช้พลาสมา รักษาผู้ป่วยโควิดได้แล้ว

WHO ชี้วัคซีนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถยุติโควิด-19 ระบาด

ศบค.เผยความคืบหน้า "การพัฒนา-ผลิตวัคซีนโควิด-19"

รัสเซียเตรียมทดลองวัคซีนโควิด-19 เฟส 3

ทางด้านนายบรูซ อายล์เวิร์ด ที่ปรึกษาอาวุโสของ WHO กล่าวว่า การรักษาโดยใช้พลาสมายังเสี่ยงต่อความปลอดภัย โดยผู้ที่ได้รับพลาสมาอาจมีผลข้างเคียง ซึ่งทำให้มีไข้ และอาจมีการบาดเจ็บที่ปอดอย่างรุนแรง หรืออาจเกิดปัญหาด้านการไหลเวียนของโลหิต

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แถลงเมื่อวันอาทิตย์ (23 ส.ค.) ที่ทำเนียบขาว

ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แถลงเมื่อวันอาทิตย์ (23 ส.ค.) ที่ทำเนียบขาวว่า สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้อนุมัติให้ใช้พลาสมาจากผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคโควิด-19 เพื่อนำมารักษาผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ โดย ปธน.ทรัมป์กล่าวว่า การรักษาโดยใช้พลาสมาจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ถึง 35%

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

UN cautions that virus plasma treatment still experimental

FDA Issues Emergency Use Authorization for Convalescent Plasma as Potential Promising COVID–19 Treatment, Another Achievement in Administration’s Fight Against Pandemic

Trump hails FDA's authorization of plasma treatment for coronavirus, after slamming agency

Evidence lags behind excitement over blood plasma as a coronavirus treatment