รายงานของ องค์การสหประชาชาติ (UN) เตือนว่า เศรษฐกิจโลก ใกล้เข้าสู่ ภาวะถดถอย แล้วในขณะนี้ โดยคาดว่า กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงคือบรรดาประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมทั้งในเอเชียด้วย
รายงานของ UN ที่ชื่อ "รายการการค้าและการพัฒนาประจำปี 2565 (Trade and Development Report 2022)" ได้รับการนำเสนอในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เมื่อวันอังคาร (4 ต.ค.) เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า
นโยบายการเงินและการคลังในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งรวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อาจจะผลักดันให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยและชะงักงัน โดยในรายงานของยูเอ็นเตือนว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะสร้างความเสียหายร้ายแรงยิ่งกว่าในช่วงวิกฤตการเงิน (วิกฤตซับไพรม์) เมื่อปี 2551 รวมถึงวิกฤตโควิด-19 ในปี 2563 ด้วย
"ทั่วทุกภูมิภาคจะได้รับผลกระทบ แต่ประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุด โดยหลายประเทศในกลุ่มนี้ใกล้จะต้องเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้" รายงานชิ้นนี้ระบุ
รายงานของ UN ยังเผยด้วยว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะถดถอย หากธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ พากันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องโดยไม่ใช้เครื่องมืออื่น ๆ และไม่ได้พิจารณาเศรษฐกิจในฝั่งอุปทาน พร้อมกับเตือนว่า ไม่มีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือซอฟต์แลนดิ้ง
อ่านเพิ่มเติม: บิ๊กบริษัทสหรัฐมอง “เศรษฐกิจถดถอย” จ่อคอหอยใน 12 เดือน
นางรีเบกา กรินสแปน เลขาธิการ UNCTAD กล่าวว่า "ในวันนี้ เราจำเป็นต้องออกมาเตือนว่า โลกอาจจะใกล้เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยอันเนื่องมาจากนโยบายการเงินของหลายประเทศ"
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังพอมีเวลาที่จะสามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าวได้ด้วยการผสมผสานนโยบายเชิงปฏิบัติให้มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งนโยบายเหล่านั้นได้แก่
"ขอย้ำอีกครั้งว่า ทุกประเทศควรผสมผสานนโยบายเชิงปฏิบัติให้มีความหลากหลายมากขึ้น และเราจำเป็นต้องพยายามให้มากขึ้นเพื่อยุติการคาดการณ์เกี่ยวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์" นางกรินสแปนกล่าว