ดัชนี China Index ประจำปี 2022 จัดทำโดย ดับเบิลธิงค์ แล็บ (Doublethink Lab) องค์กรภาคประชาสังคมไม่แสวงผลกำไรในไต้หวัน ที่เน้นศึกษาเกี่ยวกับ อิทธิพลของจีน ร่วมกับเครือข่าย China In The World ชี้ว่า ไทย ติดอันดับ 4 จากทั้งหมด 82 ประเทศ ของประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากจีนมากที่สุด โดยเฉพาะด้านกองทัพ การบังคับใช้กฎหมาย และเทคโนโลยี ที่นำหน้าด้านอื่น ๆ
สำหรับ Top 5 หรือ 5 ประเทศแรก ที่ติดอันดับได้รับอิทธิพลจากจีนมากที่สุดตาม ดัชนี China Index 2022 ได้แก่
อิทธิพลด้านกองทัพ
คณะผู้จัดทำ China Index ระบุว่า เมื่อพิจารณา อิทธิพลจีนด้านกองทัพ แล้ว ไทยได้นำเข้ายุทโธปกรณ์จากจีน รวมทั้งมีสัญญาผลิตยุทโธปกรณ์ร่วมกับจีน โดยเมื่อปี 2560 สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศของไทยได้ตกลงสร้างโรงงานผลิตยุทโธปกรณ์ป้องกันประเทศเพื่อการพาณิชย์ร่วมกับจีนในจังหวัดขอนแก่น
ขณะเดียวกัน China Index ยังระบุด้วยว่า เมื่อปี 2563 จีนแสดงท่าทีสนใจสร้างฐานทัพในไทยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายขนส่งในมหาสมุทรอินเดีย โดยอ้างอิงตามการเปิดเผยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ
นอกจากนี้ กองทัพจีนยังร่วมฝึกซ้อมกับกองทัพไทย รวมถึงซ้อมปฏิบัติภารกิจด้านการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ และยังมีโครงการแลกเปลี่ยนการศึกษากับกองทัพไทยด้วย
อ่านเพิ่มเติม: มาแล้ว จีนส่งเครื่องบินรบร่วมฝึกซ้อม Falcon Strike กับทัพอากาศไทย
ข้อมูลจากสถาบัน Stockholm International Peace Research Institute ระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย เคยตกต่ำลงหลังเกิดการรัฐประหารในไทยเมื่อปี 2557 ทำให้สหรัฐจำกัดความสัมพันธ์ด้านการทหารกับไทยในขณะนั้น จีนจึงใช้โอกาสดังกล่าวเพิ่มการฝึกทหารร่วมกับไทย และลงนามในสัญญาจัดซื้ออาวุธ 10 ฉบับ ครอบคลุมถึงเรือดำน้ำพลังดีเซลไฟฟ้า 3 ลำ และรถถัง 48 คัน มูลค่ารวม 1,030 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นการจัดซื้อด้านกองทัพครั้งใหญ่ที่สุดของไทย
อิทธิพลด้านการบังคับใช้กฎหมาย
รายงานของดัชนี China Index ระบุด้วยว่า จีนยังมีอิทธิพลต่อไทยทางด้านการบังคับใช้กฎหมาย ตัวอย่างเช่น
รายงานระบุว่า จีนอาจส่งคำขอให้ไทยควบคุมตัวบุคคล เช่น การควบคุมตัวนายโจชัว หว่อง นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยชาวฮ่องกงที่สนามบินสุวรรณภูมิ ก่อนส่งตัวกลับฮ่องกงเมื่อปี 2559 การส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์มุสลิมในไทยเกือบ 100 คนกลับจีนเมื่อปี 2558 และการส่งตัวสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ชาวไต้หวัน 25 คนไปดำเนินคดีในจีนเมื่อปี 2560 เป็นต้น
รายงานของ China Index ยังเผยว่า มีการเนรเทศบุคคลจากไทยไปยังจีนแม้การกระทำดังกล่าวจะตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์จากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น เมื่อปี 2558 รัฐบาลไทยได้เนรเทศนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิชาวจีนกลับจีน แม้พวกเขาจะได้สถานะผู้ลี้ภัยจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติแล้วก็ตาม
อิทธิพลด้านเทคโนโลยี
อีกด้านหนึ่งคือ อิทธิพลจีนด้านเทคโนโลยี รายงานของ China Index เผยว่า บริษัทโทรคมนาคมของจีน อาทิ บริษัทไชน่า โมบาย (China Mobile) และบริษัทแซดทีอี คอร์ปอเรชัน (ZTE Corporation) ได้ให้บริการในไทย รวมถึงการให้บริการสัญญาณ 5G
นอกจากนี้ บริษัทไชน่า ชิปบิลดิง อันดัสทรี คอร์ปอเรชัน (China Shipbuilding Industry Corporation) รัฐวิสาหกิจของจีน ยังตกลงร่วมพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหารและยุทโธปกรณ์กับกองทัพบกไทยด้วย
China Index ยังระบุว่า ไทยได้ตกลงพัฒนาเมืองอัจฉริยะกับจีนและญี่ปุ่นในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี และเมื่อปี 2563 จีนยังเปิดตัวระบบดาวเทียมระบุพิกัด “Beidou-3Geo3” เพื่อแข่งกับระบบจีพีเอสของสหรัฐ โดยไทยเป็นหนึ่งใน 120 ประเทศที่ใช้บริการ Beidou เพื่อติดตามการเดินเรือ และใช้ในปฏิบัติการช่วยเหลือภัยพิบัติ ตลอดจนบริการอื่น ๆ
ทั้งนี้ ดัชนี China Index ชี้วัดอิทธิพลของจีนในประเทศต่าง ๆ ใน 9 ด้าน ได้แก่
โดยพิจารณาจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่รวบรวมและมีการทบทวนทุกปี
สำหรับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ที่ถูกจัดว่า “ได้รับอิทธิพลจีนมากที่สุด” ในอันดับ Top10 ของ China Index 2022 มีถึง 5 ประเทศ ดังนี้
ที่มา ดัชนี China Index 2022