การโจมตีระหว่างอิสราเอลและฮามาส ล่วงเลยเเละยังคงดำเนินต่อไปมีผู้เสียชีวิตทั้งอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์จำนวนมากมาก นับตั้งแต่ความขัดแย้งปะทุขึ้นเมื่อกลุ่มฮามาสเปิดฉากการโจมตีอิสราเอล หากมองในมุมเศรษฐกิจความขัดแย้งย่อมส่งผลต่อต้นทุนทางเศรษฐกิจภายในประเทศ
เศรษฐกิจของอิสราเอล มีพื้นที่สำหรับความขัดแย้งที่ยาวนานแค่ไหน อ้างอิงจาก CNBC รายงานว่า Bob Savage หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การตลาดและข้อมูลเชิงลึกของ BNY Mellon กล่าวว่า เศรษฐกิจของอิสราเอลสามารถทนต่อความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมานานกว่า 8 สัปดาห์ โดยอ้างถึงความขัดแย้งระหว่างอาหรับกับอิสราเอลที่เริ่มต้นขึ้นเกือบ 50 ปีจนถึงวันที่เกิดการรุกหลายรูปแบบล่าสุดของกลุ่มฮามาส นักรบปาเลสไตน์
จุดแข็งทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นบางอย่างควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อิสราเอลมีความเชื่อมโยงกับอียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พร้อมด้วยปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่สำคัญในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาสถานการณ์ด้านงบประมาณของอิสราเอล ดูเหมือนว่าจะมีพื้นที่เหลือสำหรับการใช้จ่ายในการทำสงคราม
การที่อิสราเอลจะเผชิญกับความขัดแย้งมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ จึงเป็นเหตุผลสำหรับความกล้าหาญทางเทคโนโลยี วัฒนธรรม และความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศ อิสราเอลเริ่มต้นจากการเป็นประเทศของผู้รอดชีวิตและผู้อพยพ ความเป็นจริงทางภูมิรัฐศาสตร์ ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติสำหรับสนับสนุนเศรษฐกิจ ไม่มีพันธมิตร คู่ค้า เป็นประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรเพียง 9 ล้านคน
แต่ด้วยการสร้างกรอบความคิดทั่วประเทศ ว่า "ความเป็นเลิศ" จากการพัฒนาทรัพยากรบุคคล คือองค์ประกอบแห่งความอยู่รอด จนปัจจุบัน อิสราเอลเป็นมหาอำนาจด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกอาวุธอันดับต้นๆ ของโลก ปี 2020 การส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของอิสราเอลสู่ตลาดโลก มีมูลค่าพุ่งสูงถึง 8,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 261,450 ล้านบาท)
การก่อตั้งกองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล
ความกล้าหาญทางเทคโนโลยีของอิสราเอลมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับกองกำลังทหาร รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ IDF ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 ความสำเร็จที่โดดเด่น ได้แก่ การทำให้อิสราเอลเป็นประเทศที่ 8 ในโลกที่ส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ และการพัฒนา Iron Dome ซึ่งได้รับการยอมรับทั่วโลกในด้านความสามารถในการสกัดกั้นจรวดด้วยความแม่นยำสูง
โครงสร้างของ IDF เน้นย้ำถึงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เมื่ออายุ 18 ปี ชาวอิสราเอลจะต้องเกณฑ์ทหารไม่ว่าชายหรือหญิง ซึ่งการฝึกอบรมที่เข้มข้นตั้งแต่อายุยังน้อย การขาดแคลนวัตถุดิบและแหล่งพลังงาน ตลอดจนอุปสรรคต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมในภูมิภาค ความท้าทายนี้จึงทำให้อิสราเอลต้องเอาชนะด้วย ความสามารถด้านเทคโนโลยี
1985 เป็นต้นมา อิสราเอลเป็นผู้ส่งออกโดรนรายใหญ่ที่สุดของโลก คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60 % ของตลาดโลก ตามด้วยสหรัฐฯ ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดต่ำกว่า 25 % ลูกค้ามีอยู่ทุกที่ รัสเซีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และบราซิล จนทุกวันนี้อิสราเอลยังคงเป็นประเทศที่ส่งออกโดรนอันดับ 1 ของโลก
หุ่นยนต์ตระเวนชายแดน Guardium ยานพาหนะภาคพื้นดินไร้คนขับหรือ UGV อิสราเอลเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้หุ่นยนต์เหล่านี้เพื่อทดแทนทหารในภารกิจต่างๆ เช่น หน่วยลาดตระเวนชายแดน
ระบบต้านขีปนาวุธชั้นสูงหรือ Arrow ระบบแอร์โรว์ ออกแบบมาเพื่อป้องกันขีปนาวุธเหนือชั้นบรรยากาศและอากาศ โดรนระบบสามารถยิงสกัดจรวดที่พุ่งเข้ามได้
Iron Dome ที่สามารถรับมือจรวดหลายลำและปืนใหญ่ได้
TecSAR-1 หรือที่รู้จักในชื่อของ TechSAR ดาวเทียมสอดแนมของอิสราเอล เป็นหนึ่งในดาวเทียมที่ติดอันดับระบบอวกาศที่ล้ำสมัยที่สุดในโลก
รถถัง Merkava หนึ่งในโครงการที่เป็นความลับสุดยอดของอิสราเอล กล่าวกันว่าเป็นหนึ่งในรถถังที่อันตรายถึงชีวิตและได้รับการปกป้องมากที่สุดในโลก และการก่อสร้างเริ่มต้นจากความจำเป็นอย่างแท้จริง รุ่นใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า Merkava Mk-4 สามารถเข้าถึงความเร็ว 40 ไมล์ต่อชั่วโมง และมาพร้อมกับชุดเกราะโมดูลาร์ใหม่ รถถังสามารถติดตั้งเกราะที่ต้องการตามภารกิจเฉพาะ
ต้นกำเนิดของ Silicon Wadi
นอกจากอิสราเอลจะเป็นประเทศที่มีความสำคัญในเชิงวัฒนธรรมและศาสนาโลก จากข้อมูลของ Forbes ความจริงที่ว่าอิสราเอลเป็นระบบนิเวศที่ "แน่นแฟ้น" ซึ่งมหาวิทยาลัย สตาร์ทอัพ และรัฐบาลทำงานร่วมกัน ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีจำนวนมากในอิสราเอล แผ่กระจายไปทั่วพื้นที่ขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยชั้นนำของอิสราเอลและผู้มีความสามารถมากมายล้วนเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน หรือที่รู้จักกันในชื่อ Silicon Valley of the Middle East หรือที่เรียกกันว่า Silicon Wadi ตั้งอยู่บนที่ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใน เทลอาวีฟ-ยาโฟ หรือมักเรียก เทลอาวีฟ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของประเทศอิสราเอล
ผลการจัดอันดับดัชนี Global Startup Ecosystem Index ปี 2023 อิสราเอล ติด1 ใน 5 ของโลก ในการเป็นประเทศผู้นำด้านระบบนิเวศสตาร์ทอัพของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิสราเอล แคนาดา และสวีเดน ตามลำดับ
ขณะที่ "เมือง" ศูนย์กลางระบบนิเวศสตาร์ทอัพของโลก เทลอาวีฟ ตกลงมาอยู่อันดับที่ 10 ในการจัดอันดับ ecosystem สำหรับสตาร์ทอัพ ซึ่งลดอันดับลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2019
แต่อิสราเอลก็ยังคงเป็นประเทศอันดับที่ 3 ในภาพรวมติดต่อกันเป็นปีที่ 4 รองจากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร และเป็นประเทศเดียวใน 5 อันดับแรกที่ลดช่องว่างกับสหรัฐฯ ปัจจุบัน อิสราเอลมี 8 เมืองใน 500 อันดับแรก เทียบกับ 6 เมืองในปี 2022 และอยู่ในอันดับที่ 21 ในด้านคะแนนธุรกิจ
ข้อมูลจาก หน่วยงานนวัตกรรมแห่งอิสราเอล อิสราเอลมีจำนวนบริษัทสตาร์ทอัพต่อหัวมากที่สุดในโลก ซึ่งรวมถึงบริษัทสตาร์ทอัพมากกว่า 2,000 แห่งที่ก่อตั้งขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา และอิสราเอลยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ R&D มากกว่า 350 แห่งของบริษัทข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่น Microsoft, Apple และ Google อย่าง Intel เป็นตัวอย่างที่ดีของบริษัทที่พึ่งพานวัตกรรมของอิสราเอล
นอกจากนี้อิสราเอล ยังมีจำนวนปริญญาเอกต่อหัวสูงที่สุดในโลก มีวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ล้ำหน้า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีฟินเทคอีกด้วย
ที่มาข้อมูล