“ABAC 2022” เวทีเอกชน ถกโจทย์ท้าทายเศรษฐกิจโลก

12 พ.ย. 2565 | 11:45 น.
อัปเดตล่าสุด :12 พ.ย. 2565 | 18:53 น.

ABAC 2022 เวทีเอกชน ถกโจทย์ท้าทายเศรษฐกิจ   เพิ่มทักษะแรงงาน-เทคโนโลยี-ความยั่งยืน  รองรับโอกาสการลงทุนจากต่างประเทศหวังกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ

ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) ได้ทำรายงานถึงข้อมูลเกี่ยวกับประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค2022  ซึ่งจะมีเวทีสำหรับภาคธุรกิจไทย อย่างเวที  สภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (ABAC) เป็นหน่วยงานภาคเอกชน ภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก  โดยABAC ในฐานะผู้แทนของภาคเอกชนทั้งที่เป็นผู้ประกอบการ แรงงานและคนรุ่นใหม่นั้น คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมเป็นหลักเสมอในการเสนอข้อเสนอแนะแก่ผู้นำเอเปคทุกครั้ง ตัวอย่างที่ผลประโยชน์คนไทยจะได้รับ

“ABAC 2022” เวทีเอกชน ถกโจทย์ท้าทายเศรษฐกิจโลก

ได้แก่ โอกาสในการอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และการรวมกลุ่มของเศรษฐกิจที่มีขนาดตลาดใหญ่ขึ้น และมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มธุรกิจ MSMEs จะได้รับการรองรับโอกาสของการลงทุนจากต่างประเทศที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ยกระดับทักษะแรงงานในพื้นที่ต่อไป และด้านความยั่งยืน ประเด็นเรื่องการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต และ Future Food อาหารแห่งอนาคต ก็อาจเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของประชาชน

“ABAC 2022” เวทีเอกชน ถกโจทย์ท้าทายเศรษฐกิจโลก

ผลลัพธ์ของการประชุมเอเปค จะช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยภายหลังโควิด-19 ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการค้าดิจิทัล ซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำ อันก่อให้เกิดการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

การประชุม ABAC/APEC ในครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดี ในการแสดงศักยภาพของภาคธุรกิจไทยสู่เวทีโลก ด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (เทียบเท่าราว 19 ล้านล้านบาท) โดยที่ภาคเอกชนเป็นกลไกหลักในการเติบโตไม่ว่าจะเป็นการส่งออกกว่า 70% ของ GDP การมีภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งราว 40% ของ GDP และภาคบริการราว 50% ของ GDP โดยจุดแข็งของไทย คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการทางการเงิน และด้านอาหาร ที่ประเทศไทยมีจุดเด่นด้านความมั่นคงของอาหารในเวทีโลกอีกด้วย

“ABAC 2022” เวทีเอกชน ถกโจทย์ท้าทายเศรษฐกิจโลก

คนไทยจะมีส่วนร่วมอย่างไรได้บ้าง?

ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปจะเป็นกุญแจดอกสำคัญในการดำเนินเศรษฐกิจของเอเปคและทำให้ภูมิภาคนี้มีความก้าวหน้าและความยั่งยืนไปด้วยกัน โดยการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการนั้น คือ การปรับตัวและคว้าโอกาสกับข้อเสนอของ ABAC ที่ต้องการให้เขตเศรษฐกิจทั้ง 21 รวมทั้งไทย มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น และมีการพัฒนาระบบเพื่อการอำนวยความสะดวกทางการค้า การลดและยกเลิกปัญหาอุปสรรคทางการค้า รวมทั้งการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกยุคหลังโควิดที่ยั่งยืนและสมดุล และทุกคนมีส่วนร่วมผ่านแนวคิด BCG ที่ไทยได้ผลักดันมาตลอดในการเป็นเจ้าภาพ ABAC/APEC

“ABAC 2022” เวทีเอกชน ถกโจทย์ท้าทายเศรษฐกิจโลก

ผู้ประกอบการ MSMEs ซึ่งมีความสำคัญกับการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของทุกเขตเศรษฐกิจ จะต้องถูกพัฒนาเพื่อสร้างความเจริญ ขณะเดียวกันต้องมีความยั่งยืน และที่สำคัญ คือ ต้องสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ซึ่ง BCG Model สามารถช่วยส่งเสริมในประเด็นนี้ได้ โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การคิดนอกกรอบ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี การวิจัย พัฒนา การสร้างนวัตกรรมเพื่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาภายใต้ BCG Model และยังเป็นโอกาสที่จะช่วยสร้างธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มสตาร์ทอัพ (Startup) รวมถึงการให้บริษัทขนาดใหญ่ เป็นต้นแบบให้กับ MSMEs ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทรายใหญ่ และจะนำไปสู่ห่วงโซ่อุปทานโลกได้ในอนาคต