ABAC 2022 เอกชนเห็นพ้องโควิดยังเป็นข้อกังวลของการลงทุน 

22 ก.พ. 2565 | 11:02 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ก.พ. 2565 | 18:09 น.

ABAC 2022 เอกชนเห็นพ้องโควิดยังเป็นข้อกังวลของการลงทุน  ชี้ประชุมเอเปคปี2022 เป้าหมายสู่การตั้ง Free Trade Area ภายใต้คอนเซ็ป “การเปิดรับความท้าทาย ความร่วมมือร่วมใจ และการส่งเสริมโอกาส เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก”

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน  ABAC 2022 และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ABAC 2022 ขับเคลื่อนภายใต้แนวคิด EMBRACE ENGAGE ENABLE โดยภาคเอกชนต่างตระหนักดีว่า ขณะนี้เป็นเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรุนแรงและรวดเร็ว

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน  ABAC 2022

อย่างไรก็ตาม ก็เป็นช่วงเวลาแห่งโอกาส พวกเราสามารถยกระดับการทำงานร่วมกันโดยการ ร่วมมือกันเปิดรับความท้าทาย และขยายข้อจำกัด ให้ทุกสิ่งเป็นไปได้ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ABAC 2022 เอกชนเห็นพ้องโควิดยังเป็นข้อกังวลของการลงทุน 

ทั้งนี้นายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของไทย ในฐานะประธาน SOM ซึ่งทาง ABAC ได้เน้นย้ำว่า นี่คือวิถีทางที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้เป็นภูมิภาคแห่งความเปิดกว้าง มีพลวัต มีความยืดหยุ่น และมีสันติภาพ ตามที่ผู้นำได้เล็งเห็นตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040  (APEC Putrajaya Vision 2040) ซึ่งจะได้รับการผลักดันให้บรรลุผลโดยแผนปฏิบัติการเอาทีอารอ (Aotearoa Plan of Action) ที่กำหนดเริ่มดำเนินการในปีนี้ ทั้งนี้นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับ ABAC ที่ Mr.Gan Kim Yong รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศสิงคโปร์ ได้มาเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม

เอกชนเห็นพ้องโควิดยังเป็นข้อกังวลของการลงทุน

สำหรับประเด็นที่ ABAC ให้ความสำคัญ ประธาน ABAC 2022 กล่าวว่า การแพร่ระบาดของ COVID ยังคงดำเนินอยู่และเป็นข้อห่วงกังวลหลัก อย่างไรก็ตามในปีค.ศ. 2022 เป็นโอกาสที่จะเปิดรับความปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) ด้วยการกลับมาเปิดพรมแดนอย่างปลอดภัย  โดยมีการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม มีแนวทางการเดินทางในภูมิภาคที่สอดคล้องกัน ตลอดจนความพยายามในการแก้ปัญหาภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความสามารถในการผลิต และการเจริญเติบโตโดยการส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้าง

เอกชนเห็นพ้องโควิดยังเป็นข้อกังวลของการลงทุน

“ในอนาคตบริบททางการค้าในภูมิภาคยังคงมีความสำคัญ “ผู้นำเอเปค ได้กำหนดเป้าหมายสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งได้มีการวางรากฐานไว้แล้ว จำเป็นต้องมีการต่อเติมโครงสร้าง โดยต้องคำนึงถึงประเด็นด้าน ความยืดหยุ่น (Resilience) ความยั่งยืน (Sustainability) และความครอบคลุม (Inclusion) ที่ได้เรียนรู้มาจากการระบาดของ COVID ทั้งนี้ ABAC ต้องการเห็นองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) มีความเข้มแข็งและมีบทบาทที่มากขึ้นจากการประชุมระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก (WTO Ministerial Conference)ในปีนี้”

ABAC 2022 เอกชนเห็นพ้องโควิดยังเป็นข้อกังวลของการลงทุน 

และอีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดย ABAC จะดำเนินการตาม Climate Leadership Principles ปี ค.ศ. 2021 เพื่อเตรียมรับกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ ABAC จะยังผลักดันการจัดทำแผนการดำเนินงานสำหรับระบบอาหาร (Food System) ที่มีความยั่งยืน การใช้เทคโนโลยี และการเป็นมิตรกับการค้าภายใต้  APEC Food Security Roadmap ฉบับใหม่

ABAC 2022 เอกชนเห็นพ้องโควิดยังเป็นข้อกังวลของการลงทุน 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะส่งเสริมการดำเนินงานทั้งหมดคือ Digital Transformation “ ABAC ได้มีการจัดงาน Digital Trade Symposium และจะมีงานด้านดิจิตอลอื่นๆในปีนี้” เทคโนโลยีดิจิทัล (DIGITAL TECHNOLOGY) จะช่วยเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Green Recovery) ช่วยขับเคลื่อนการขยายตัวทางการค้าและสร้างโอกาสใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม เราต้องสร้างสภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการเจริญเติบโต

ABAC 2022 เอกชนเห็นพ้องโควิดยังเป็นข้อกังวลของการลงทุน 

“นับเป็นความท้าทายต่อวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ตลอดจนผู้ประกอบการผู้หญิง และกลุ่มต่างๆ ที่เสียเปรียบ แม้ MSMEs และกิจการที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของจะมีส่วนแบ่งที่มากที่สุดในภาคธุรกิจและการจ้างงาน แต่ก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดอย่างหนัก ถ้าสามารถเสริมสร้างความสามารถด้านดิจิตอลและทางเลือกต่างๆก็จะช่วยปลดปล่อยศักยภาพให้ผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาพรวม”

เอกชนเห็นพ้องโควิดยังเป็นข้อกังวลของการลงทุน

 ทั้งนี้ ABAC สนับสนุนแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีของไทย ที่กล่าวถึงสหรัฐอเมริกาจะเป็นเจ้าภาพ APEC ในปีค.ศ. 2023 และ เปรูจะเป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ. 2024 ความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพอย่างต่อเนื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความตั้งใจของ APEC ในการสร้างอนาคตทีดียิ่งขึ้น  โดย ABAC ขอเรียกร้องให้สมาชิกเขตเศรษฐกิจ APEC ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเปิดพรมแดนอย่างปลอดภัย เพื่อช่วยเร่งการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจในภูมิภาคซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับ MSME ที่ได้รับผลกระทบจากการจำกัดการเคลื่อนย้ายของผู้คน

ในระหว่างการประชุมในครั้งนี้​ มีการประชุมของคณะทำงาน​จำนวน 5 คณะ​ โดยมีข้อสรุปประเด็นสำคัญในการผลักดันในปีนี้  ได้แก่

1. Regional Economic Integration Working Group (REIWG)

    Working Group Chair: Lam Yi Young, ABAC Singapore

•        ข้อตกลง FTAAP

•        สนับสนุนการดำเนินงานขององค์การการค้าโลกตามระบบการค้าพหุภาคี

•        ส่งเสริมการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาค

•        การเปิดพรมแดนอย่างปลอดภัยหลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

2. Digital Working Group (DWG)

   Working Group Chair: Jan De Silva, ABAC Canada

•        ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล

•        เสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการค้าและความสามารถในการแข่งขัน

•        ขยายโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

3. MSME and Inclusiveness Working Group (MSMEWG)

   Working Group Chair: Dato Rohana Mahmood, ABAC Malaysia

•        ส่งเสริมระบบดิจิตอลสำหรับ MSMEs

•        ส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนสำหรับ MSMEs

•        การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลสำหรับ Supply Chain Finance ของ MSMEs

4. Sustainability Working Group (SWG)

    Working Group Chair: Frank Ning Gaoning, ABAC China

•        การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค

•        ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน

•        ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร

5. Finance and Economics Working Group (FEWG)

   Working Group Chair: Hiroshi Nakaso, ABAC Japan

•        การพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnerships – PPPs) สำหรับ Pandemic Risk Financing

•        การเงินสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนในภูมิภาค

•        การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับระบบการเงินดิจิทัล