วันที่ 4 มกราคม 2565 ครม.รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติเห็นชอบให้เดินหน้าเสนอร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์การไม่แสวงหากำไร พ.ศ. ….เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้
วันที่ 7 มกราคม 2565 เครือข่ายคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน ที่มีการรวมตัวกันของบรรดาองค์กรเอ็นจีโอกว่า 1,867 องค์กร ได้ร่วมกันลงนามคัดค้าและเผยแพร่แถลงการณ์ต่อต้านการออกกฎหมายมาควบคุมทันที..
องค์กรเอกชนที่ร่วมกันลงชื่อล้วนแล้วแต่มีพลังไม่ใช่เล่น...ทุกองค์กรเห็นพ้องว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. …. ของรัฐบาล ตามมติครม.โดยอ้างว่าองค์กรไม่แสวงหากำไรและองค์กรภาคประชาชนทั่วประเทศที่ทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ขาดธรรมาภิบาล ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีจิตแอบแฝง เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน จึงต้องควบคุมเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย จำกัดเสรีภาพในการรวมกลุ่ม การชุมนุมสาธารณะ การแสดงออก และสิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต
องค์กรที่ร่วมลงนามคัดค้านประกอบด้วย คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายองค์กรผู้สูงอายุ, เครือข่ายด้านสุขภาพ เครือข่ายองค์กรคนพิการ, เครือข่ายด้านเด็กและครอบครัว, เครือข่ายเยาวชน, เครือข่ายองค์กรผู้หญิง, เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ, เครือข่ายชุมชนเมือง/สลัมสี่ภาค, เครือข่ายแรงงานนอกระบบ, เครือข่ายแรงงานในระบบ, เครือข่ายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน/ความมั่นคงทางอาหาร, เครือข่ายด้านชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง, เครือข่ายสิทธิมนุษยชน/ประชาธิปไตย, เครือข่ายองค์กรระหว่างประเทศ, เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน, เครือข่ายนักวิชาการด้านสังคม ฯลฯ
คำถามที่ตามมาคือ ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ….มีสาระอย่างไร
หมวด ๑ การส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่มีการตั้ง “คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนา องค์กรไม่แสวงหากำไร” และมาจากกรรมการผู้แทนองค์กรไม่แสวงหากำไรจำนวนไม่เกินเจ็ดคน ผมว่าไม่ใช่สาเหตุที่มีการคัดค้านกัน แต่ขอให้พิจารณา หมวด ๒ ที่กำหนดเรื่องการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไร อันนี้แหละที่น่าจะเป็นต้นเหตุ มาดูกัน....
มาตรา ๑๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๐ องค์กรไม่แสวงหากำไรมีสิทธิและเสรีภาพ ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อประโยชน์ของสังคมหรือประโยชน์สาธารณะได้ตามวัตถุประสงค์ ในการจัดตั้ง
มาตรา ๑๘ การกำหนดหน้าที่ให้องค์กรไม่แสวงหากำไรต้องปฏิบัติตามความ ในหมวดนี้ หากคณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรให้มีการผ่อนผันหรือยกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ในเรื่องใดให้แก่องค์กรไม่แสวงหากำไรในลักษณะใดที่มีวัตถุประสงคด์ ดำเนินกิจกรรมด้านประชาสังคม โดยเฉพาะและไม่มีการปฏิบัติที่ฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ อาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติผ่อนผันหรือยกเว้น การปฏิบัติหน้าที่ตามความในหมวดนี้ในเรื่องใดให้แก่องค์กรไม่แสวงหากำไรลักษณะนั้นได้
มาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์แห่งความโปร่งใสและให้ประชาชนได้รับรู้กิจกรรม ขององค์กรไม่แสวงหากำไร ให้องค์กรไม่แสวงหากำไรมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อขององค์กร วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วิธีดำเนินงาน แหล่งที่มาของเงินทุน รายชื่อผู้รับผิดชอบดำเนินงาน โดยให้หน่วยงานของรัฐและบุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลนั้นโดยง่าย
หลักเกณฑ์และวิธีการเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ กำหนด โดยจะกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบที่กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำขึ้น โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรไม่แสวงหากำไร แห่งนั้นซึ่งบุคคลทั่วไปเข้าถึงได้หรือโดยวิธีอื่นใดที่องค์กรไม่แสวงหากำไรสามารถกระทำได้ โดยสะดวก
ในกรณีที่องค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งใดมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานของรัฐ อยู่แล้วตามกฎหมายเฉพาะ ให้นายทะเบียนแจ้งหน่วยงานของรัฐนั้นจัดส่งข้อมูลขององค์กร ไม่แสวงหากำไรแห่งนั้นมาให้นายทะเบียนเพื่อเปิดเผยตามวรรคสองแทนการเปิดเผยข้อมูลจาก องค์กรไม่แสวงหากำไรได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าองค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งนั้นได้เปิดเผยข้อมูล ตามวรรคหนึ่งแล้ว
ในกรณีที่นายทะเบียนพบว่าองค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งใดไม่เปิดเผยข้อมูล ตามวรรคหนึ่งหรือปกปิดข้อมูล ให้นายทะเบียนแจ้งเตอืนให้องค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งนั้น ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลภายในเวลาที่กำหนด หรือภายในเวลาที่องค์กรไม่แสวงหากำไรขอผ่อนผัน การดำเนินการ หากพ้นกำหนดเวลาแล้วยังมิได้ดำเนินการเปิดเผย ให้นายทะเบียนมีอำนาจ ออกคำสั่งให้องค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งนั้นหยุดการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร จนกว่าจะดำเนินการเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๒๐ องค์กรไม่แสวงหากำไรต้องไม่ดำเนินงานในลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ รวมถึงความมั่นคงของรัฐด้านเศรษฐกิจ หรือด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(๒) กระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือก่อให้เกิด ความแตกแยกในสังคม
(๓) กระทบต่อประโยชน์สาธารณะรวมทั้งความปลอดภัยสาธารณะ
(๔) เป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมาย
(๕) เป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือกระทบต่อ ความเป็นอยู่โดยปกติสุขของบุคคลอื่น
ในกรณที่องค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งใดดำเนินงานอันเป็นการฝ่าฝืนวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนแจ้งเตือนให้องค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งนั้นหยุดการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืน หรือให้แก้ไขการกระทำเสียให้ถูกต้อง หากองค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งนั้นยังฝ่าฝืนการแจ้งเตือน ของนายทะเบียน ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งให้องค์กรไม่แสวงหากำไรดังกล่าว ยุติการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไร
มาตรา ๒๑ องค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งใดที่ได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินบริจาค จากแหล่งเงินทุนต่างประเทศให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) แจ้งชื่อแหล่งเงินทุนต่างประเทศ บัญชีธนาคารที่จะรับเงิน จำนวนเงินที่จะได้รับ และวัตถุประสงค์ของการนำเงินไปใช้จ่าย ต่อนายทะเบียน
(๒) ต้องรับเงินผ่านบัญชีของธนาคารตามที่องค์กรไม่แสวงหากำไรแจ้งไว้ ต่อนายทะเบียน
(๓) ต้องใช้เงินที่ได้รับจากแหล่งเงนิ ทุนต่างประเทศเฉพาะตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้ง ต่อนายทะเบียนตาม (๑)
(๔) ต้องไม่ใช้เงินที่ได้รับจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศเพื่อดำเนินกิจกรรมในลักษณะ การแสวงหาอำนาจรัฐ หรอืเอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมือง
หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งต่อนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการประกาศกำหนด ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติ ในการรับเงินจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามวรรคหนึ่งก็ได้ การแจ้งตามมาตรานี้คณะกรรมการอาจกำหนดให้แจ้งด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ให้นำความในวรรคสองของมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒ องค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีรายได้จากการรบั เงินบริจาคจากบุคคลทั่วไป หรือจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศ มีหน้าที่จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละรอบปีปฏิทิน ซึ่งผู้รับผิดชอบดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรรับรองความถูกต้อง และเปิดเผยบัญชี รายรับรายจ่ายนั้นให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลนั้นโดยง่าย โดยต้องเก็บรักษาบัญชีรายรับรายจ่ายนั้น ไว้ให้สามารถตรวจสอบได้ป็นเวลาสามปี
ให้นำความในวรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ของมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
มาตรา ๒๓ องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ได้รับคำสั่งจากนายทะเบียนให้หยุดการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไรตามมาตรา ๑๙ วรรคสี่ หรือมาตรา ๒๒ ซึ่งให้นำความใน มาตรา ๑๙ วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หรือคำสั่งนายทะเบียนให้ยุติการดำเนินงานตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๑ ซึ่งให้นำความในมาตรา ๒๐ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม อาจอุทธรณ์ คำสั่งของนายทะเบียนต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากนายทะเบียน
การอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนไม่เป็นเหตุทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน
หลักเกณฑ์การพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๔ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าองค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งใดอาจจะกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจมีหนงัสือคำสั่งเรยีกให้บุคคล ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานใดเพื่อประกอบการพิจารณาได้
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๒๕ องค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งใดไม่หยุดการดำเนินกิจกรรมตามคำสั่ง ของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๙ วรรคสี่ หรือมาตรา ๒๒ ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๙ วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับอีกวันละหนึ่งพันบาท ตลอดเวลาที่ยังฝื่นหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๖ องค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งใดไม่ยุติการดำเนินงานตามคำสั่งของ นายทะเบียนตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๑ ซึ่งให้นำความในมาตรา ๒๐ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๗ ในกรณีที่องค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งใดกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้รับผิดชอบดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งนั้นต้องรับโทษ เช่นเดียวกับองค์กรไม่แสวงหากำไรด้วย
เห็นฤทธิ์เดชการควบคุมเอ็นจีโอหรือยังครับ!
ขณะที่บทเฉพาะกาล ก็ไม่ใช่เหตุเพราะให้ข้าราชการทำงานในฐานะกรรมการไปก่อน และให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการแล้วเสร็จในเก้าสิบวัน
ผมถึงบอกว่าริจะเล่นกับไฟต้องใจถึงๆ !