ปัญหาทุจริตเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไข เนื่องจากการทุจริตจะส่งโดยตรงต่อการพัฒนาทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลระยะยาวต่อแนวทางการใช้นโยบายเพื่อลดระดับความเหลื่อมลํ้าของการกระจายรายได้
โดยปัจจุบันประเทศไทยได้คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ความโปร่งใสที่ลดลงและต้องมีการปฏิรูปอย่างถูกต้องโดยดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปี ที่เผยแพร่โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) โดยประเทศไทยได้คะแนนดัชนีรับรู้การทุจริตอยู่ในอันดับ 110 ของโลกจาก 180 ชาติ และอยู่ในอันดับที่ 6 ของกลุ่มประเทศอาเซียน
ปัญหาดังกล่าว หน่วยงานรัฐจะต้องหาแนวทางในการแก้ไข หรือ หาต้นแบบในการปรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) เพื่อนำมาใช้กับการเพิ่มคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต CPI
1.1 หน่วยงานภาครัฐประชุมร่วมกันเพื่อจัดทำแผนในการสร้างระบบ Big data เชิงบูรณาการ โดยเริ่มจากการทำ Platform กลาง ให้ประชาชนเข้ามาให้ความเห็นตลอดเวลา ที่เกี่ยวกับกระบวนการของนโยบายต่างๆ โดยแบ่งเป็นแต่ละกรม
1.2 มีช่องทางร้องเรียนทุจริตในระบบของ Platform กลางภายใต้ Open Government Data ซึ่งต้องผ่านช่องทาง YouTube ของผู้บริหารแต่ละท่านในการแถลงนโยบาย หรือประเด็นนโยบายต่างๆ
1.3 การรวบรวมข้อมูลและ ประเมินการ vote และข้อคิดเห็นต่างๆของภาคประชาชนและ เพื่อนำมาพัฒนานโยบาย เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจะต้องมีการประชุมร่วมกันเพื่อจัดทำแผนในการสร้างระบบ Big data โดยเริ่มจากการเน้นนโยบายที่กระทบต่อรายได้ของประชาชนเป็นหลักก่อน โดยอาจนำคำถามจาก ITA มาใช้ใน Plat form กลางนี้ โดยเชื่อมโยงกับ Digital Democracy และรวบรวมข้อมูล เพื่อนำระบบมาประยุกต์กับการประเมิน ITA มาตอบโจทย์ปัญหา และวิเคราะห์ในการยกระดับ CPI แต่จะต้องเป็นการร้องเรียนภายใต้นโยบายต่างๆ
นอกจากนั้น นำข้อถกเถียงจากกระบวนการ Digital Democracy มาวางกรอบในการสร้าง E-government โดยรัฐบาลมอบหมายสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาขน) เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดระบบ E-government ภายใต้ระบบ Blockchain โดยจะต้องคำนึงถึงการนำเครื่องมือมาใช้ตามกลุ่มของภารกิจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานภายใต้การจัดรูปแบบ Clusters หรือ หน้าที่คล้ายกัน เช่น กรมที่ออกใบอนุญาต
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจำเป็น ต้องตั้งคณะกรรมการภายใต้สำนักงานในการติดตามการทำงาน โดยมีคำนึงถึงการตอบโจทย์เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในระยะต้น ระยะกลาง และระยะยาว และให้ตัวแทนในแต่ละหน่วยงานในฐานะกรรมการสามารถตั้งงบประมาณในการดำเนินการได้ โดยจะต้องคำนึงถึงความสำเร็จ และเกิดความคุ้มค่าในการบริหารจัดการงบประมาณ โดยสร้างดัชนีชี้วัดในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์และนำมาเชื่อมกับระบบของ Big data ในการสื่อสารร่วมกัน
โดยผมเชื่อมั่นว่าถ้าภาครัฐสามารถดำเนินการดังกล่าวการทุจริตก็จะลดลงและจะส่งโดยตรงต่อการพัฒนาทางการเมืองและนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและระยะยาวและยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศในการเพิ่มการลงทุนในประเทศไทยโดยเฉพาะ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และท้ายสุดยังส่งผลระยะยาวต่อแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อลดระดับความเหลื่อมลํ้าของการ กระจายรายได้อีกด้วย อย่าลืมว่าไม่มีประเทศไหนที่มีคอร์รัปชันสูงแต่มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่สูงตามในโลกใบนี้