รู้จักดัชนี AMA ผ่านศูนย์ทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ

15 ก.พ. 2567 | 08:30 น.

รู้จักดัชนี AMA ผ่านศูนย์ทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ คอลัมน์ Cat out of the box โดย พีรภัทร์ เกียรติภิญโญ

เมื่อปี 2562 สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) ได้ร่วมกับ นิด้า ศึกษา อุตสาหกรรมดาวเทียมและอวกาศในประเทศไทย เวลานั้นเขาพบกันว่า ประเทศไทยมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง มากกว่า 35,600 กิจการ สามารถสร้างรายได้ กว่า 56,000 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 29,701 ล้านบาท สร้างการจ้างงาน 300-400 อาชีพ มีจํานวนแรงงานกว่า 3.6 หมื่นคน และมีแนวโน้มและทิศทางที่จะเติบโตสูงในอนาคต

ขณะที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์อย่างสิงคโปร์มีขนาดอุตสาหกรรมการบินและอวกาศสูงถึง 11.3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (2562) มีการจ้างงานมากกว่า 22,000 ตําแหน่ง และประเทศมาเลเซียมี มูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 25.7 พันล้านริงกิต และมีการจ้างงานประมาณ 27,500 ตําแหน่ง

 

รู้จักดัชนี AMA ผ่านศูนย์ทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ

 

มาปีนี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ GISTDA อีก ทำโครงการศึกษาความสามารถในการแข่งขันธุรกิจและอุตสาหกรรมการทดสอบดาวเทียมของประเทศไทยกับภูมิภาค ก็ปรากฏพบว่าประเทศไทยมีขีดความสามารถในการทดสอบดาวเทียม ที่ทัดเทียมกับของมาเลเซียและอินโดนีเซียทั้งในเรื่องของมาตรฐานและประสิทธิภาพในการทดสอบ ชิ้นส่วนอากาศยานและดาวเทียม ถึงแม้อาจจะมีประเภทของเครื่องมือทดสอบน้อยกว่าก็ตาม

ในฐานะสื่อมวลชน_คอลัมน์นิสต์ที่จะต้องนำข้อมูลอันมีสาระมาเผยแพร่ให้คุณผู้อ่านได้ทราบ จึงได้มีคำถามเข้าไปโดยตรงกับคณะทำงานและนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้ ว่าไปรู้ได้อย่างไรว่าเรามีความสามารถที่ทัดเทียม?

 

รู้จักดัชนี AMA ผ่านศูนย์ทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ

 

เอาอะไรมาวัด_เอาอะไรมาวัด? ท่านคณะนักวิจัยนำโดยด็อกเตอร์ต่างๆท่านก็ กรุณา ชี้แจงโดยสุภาพว่า “โอ้ เราต้องเทียบเอาสิ่งอุปกรณ์ต่างๆที่เขามีและเรามีว่าของใครมีศักยภาพดีด้อยต่างกันเท่าไหร่ นำมา quantify”

“นอกจากนี้เรื่องที่ไม่ควรจะใจเย็นดีนัก คือ เรื่อง_ดัชนี Aerospace Manufacturing Attractivenes” ได้ยินได้ฟังเรื่องน่าสะดุดใจและมีสาระทันสมัยเช่นนี้ก็จำเป็นที่จะต้องนำมากราบเรียนกับท่านผู้อ่าน!!

อันว่าดัชนี AMA นี้ ท่านว่ามันเป็นดัชนีที่สะท้อนความน่าดึงดูดใจให้ผู้คนไปลงทุนสร้างงานสร้างการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกยุคสมัยใหม่

 

รู้จักดัชนี AMA ผ่านศูนย์ทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ

 

โดยเจ้าดัชนีนี้จะประเมินและเปรียบเทียบจุดแข็งใน 7 มิติ ว่าประเทศที่อยากจะดึงดูดให้ผู้คนไปลงทุนในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศนั้น มีความครบถ้วนบริการบ้างไหมอย่างไร กล่าวคือ 1.มิติต้นทุน (Cost), 2. มิติแรงงาน (Labour), 3. มิติโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure), 4. มิติอุตสาหกรรม (Industry), 5.มิติเศรษฐกิจ (Economy) 6. มิติทางภูมิรัฐศาสตร์  และ 7. มิตินโยบายภาษี (Tax Policy)

อีทีนี้ว่าจากการวิเคราะห์ AMA index ระหว่างประเทศต่างๆ จํานวน 100 ประเทศ หรือระหว่างมลรัฐต่างๆ ในประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปี 2563 (2020) พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 29 โดยมีจุดแข็งในด้าน เศรษฐกิจที่เป็นลําดับที่ 3 ของโลก และมีทําเลที่ได้เปรียบจากการประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินเชิงพาณิชย์ในภูมิภาคมานมนาน มีแผนการกําหนดแผนที่นําทางสําหรับเทคโนโลยีสําหรับการพัฒนา อุตสาหกรรมการบินและอวกาศที่ชัดเจนในบริเวณ EECi และมีมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน และอวกาศทั้งมาตรการด้านภาษีและที่ไม่ใช่ภาษีหลากหลายและมีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ต่ำในขณะเดียวกัน สิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 2 ส่วนมาเลเซียอันดับ 18 ในขณะที่ประเทศที่น่าลงทุนด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศมากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา

 

รู้จักดัชนี AMA ผ่านศูนย์ทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ

 

ทีนี้แล้วในทางเศรษฐกิจการบินและอวกาศเมืองไทยมีดีอะไร? พูดก็พูดเถิดว่าปัจจุบันประเทศไทยมีศูนย์ทดสอบดาวเทียมของรัฐอยู่แห่งหนึ่ง คือ “ศูนย์ทดสอบและประกอบ ดาวเทียมแห่งชาติ”(National Assembly Integration and Test: AIT) ตั้งอยู่ ณ อุทยานรังสรรค์ นวัตกรรมอวกาศ (Space Krenovation Park: SKP) อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภายในศูนย์ฯนี้เขาประกอบไปด้วยอุปกรณ์เพื่อการทดสอบดาวเทียมที่สําคัญต่าง ๆ อาทิ ห้องสะอาดควบคุมอนุภาค (Clean room) เครื่องทดสอบการต้านทานเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ (Thermal Cycle) เครื่อง ทดสอบหาคุณสมบัติเชิงมวลของดาวเทียม (Mass Properties Measurement) เครื่องทดสอบการ สั่นสะเทือนของส่วนประกอบดาวเทียม (Vibration Test) ห้องทดสอบอุณหภูมิในสภาวะสุญญากาศ (Thermal Vacuum Chamber: TVAC)

จากโครงการศึกษาความสามารถในการแข่งขันธุรกิจและอุตสาหกรรมการทดสอบดาวเทียม ของประเทศไทยกับภูมิภาคอาเซียนครั้งนี้เขาพบว่าประเทศไทยมีขีดความสามารถในการทดสอบที่สามารถ ทัดเทียมกับของมาเลเซียและอินโดนีเซียทั้งในเรื่องของมาตรฐานและประสิทธิภาพในการทดสอบ ชิ้นส่วนอากาศยานและดาวเทียม ถึงแม้อาจจะมีประเภทของเครื่องมือทดสอบน้อยกว่าก็ตาม อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น

อีทีนี้อีกก็คือว่า ศูนย์ทดสอบดาวเทียมนี้เองเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ดัชนีการดึงดูดเอเอ็มเอ AMAยังคงทำหน้าที่ได้อย่างเป็นปกติ เพราะเปนตัวสร้างคะแนนมิติโครงสร้างพื้นฐาน ยืนเอาไว้ คู่ไปกับคะแนนมิติอุตสาหกรรม

 

รู้จักดัชนี AMA ผ่านศูนย์ทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ

 

คำโบราณเขาว่าการเป็นแชมป์น่ะมันยาก แต่การณ์อันเเชมป์จะรักษาเข็มขัดไว้ได้มันนะซี ที่มันยากกว่า จริงอยู่ว่าอุตสาหกรรมอื่นๆยังสามารถมาใช้บริการศูนย์ทดสอบดาวเทียมนี้ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและระบบยานยนต์ เช่น รถสปอร์ตระดับซุปเปอร์หรู (Super car) ยานยนต์ที่ใช้วัสดุที่มี คุณสมบัติอันโดดเด่น เป็นต้น

รึไม่ก็อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต (Next Gen Automotive) เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ต้องทดสอบความ ทนทานในสภาวะการทํางาน ข้อบกพร่องของวัสดุ อุตสาหกรรมขนส่ง และผลิตภัณฑ์ที่ต้องทดสอบ ความทนทานในสภาวะการทํางาน ข้อบกพร่องของวัสดุ เช่น ส่วนประกอบอุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ดี การจะต้องรักษาคะแนนดัชนีอื่น เช่นด้านคุณภาพการบริการ ด้านต้นทุน ของการทดสอบ แม้ว่าบุคคลากรเราจะไว้ใจได้ แต่เราก็ต้องวางใจยังไม่ได้ เพราะลงว่าเปนเรื่องสมรรถนะการแข่งขันและไซร้ คงไม่ใช่เรื่องเเข่งกับตัวเองเสมอไป benchmarking หรือการวัดรอยเท้าช้างตามคำศัพท์ ดร.พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ เจ้าวิชาแห่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยยุคก่อตั้ง ยังคงสำคัญอยู่มิจางหาย