เชื่อว่าภาพหลังเกษียณของทุกคนคือ พักผ่อน สบาย สบาย อยากทำอะไรทำได้อิสระ แต่ในความเป็นจริง ผู้ที่เกษียณแล้วก็อาจมีความกังวล ไม่แน่ใจว่าเงินออมทั้งหมดที่มีอยู่จะพอใช้หลังเกษียณหรือไม่
บางท่านเกษียณได้เงินก้อน เข้ามาปรึกษาว่าอยากนำเงินก้อนนี้ไปลงทุนจะลงทุนอะไรดี สิ่งที่ต้องทำก่อนการนำเงินไปลงทุนคือการรวบรวมเงินหลังเกษียณทั้งหมด แล้วประมาณการรายจ่ายเทียบกับเงินที่มีอยู่ทั้งหมด ก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเงินที่เตรียมไว้เพียงพอหรือไม่ ควรนำเงินไปลงทุนที่ไหนที่เหมาะสม
นี่คือการเปลี่ยนผ่านวัยทำงานมาเป็นวัยเกษียณ (transition into retirement) การเข้าใจสถานะปัจจุบันทำให้เกิดทางเลือกที่ชัดเจนว่าเงินออมพอตามวิถีชีวิตที่ต้องการ (Life Style) หรือไม่ ถ้าไม่พอก็มีทางเลือกได้ว่าจะต้องหารายได้เพิ่มหรือเลือกที่จะใช้จ่ายตามเงินออมเท่าที่มีอยู่
ก่อนอื่นต้องยอมรับก่อนว่าหลังเกษียณรายได้ที่เคยไหลเข้ามาจะหยุด รายรับที่จะเข้ามาแทนคือแหล่งเงินหลังเกษียณ ลองดูภาพแหล่งรายได้ เทียบกับค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณกับหลังเกษียณ ตารางด้านซ้ายรายรับมาจากรายได้จากการทำงาน ตารางด้านขวารายรับมาจากเงินออมและสวัสดิการจากภาครัฐ รายรับด้านขวาคือสิ่งที่เราต้องรวบรวม เทียบกับประมาณการรายจ่ายหลังเกษียณ
ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำลำดับแรกคือ สำรวจแหล่งเงินทดแทนรายรับหลังเกษียณ จะมีอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับอาชีพ ทำงานบริษัทเอกชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่รัฐ เงินออมก้อนใหญ่คือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินชดเชยตามกฎหมายกรณีเกษียณตามเงื่อนไขขององค์กรที่สังกัด
ลำดับความคิด*
*เพื่อให้ผู้อ่านทั่วไปที่ไม่มีพื้นฐานความรู้การเงินสามารถเข้าได้ และประมาณการสถานะปัจจุบันได้ บทความนี้จึงไม่มีการคำนวณด้วยสูตรการเงินเชิงลึก
ตัวอย่าง
วิธีสำรวจสถานะปัจจุบันนี้สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีการวางแผนจริงจังล่วงหน้าในวัยทำงาน และต้องการวางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณกับแหล่งเงินเกษียณที่มี
จากตัวอย่างจะทำให้พอทราบว่าประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณที่ประมาณการไว้สูงกว่าเงินที่เตรียมไว้ไม่มาก ซึ่งมีทางเลือกในการบริหารจัดการดังนี้
คนที่เกษียณและกำลังเกษียณในช่วงไม่กี่ปีนี้ ส่วนมากจะไม่ได้กำหนดจำนวนเงินเกษียณที่ต้องเตรียมล่วงหน้า ดังนั้นการวางแผนการใช้จ่ายหลังเกษียณเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านจากวัยทำงานมาเกษียณได้ราบรื่นมากกว่าไม่มีการวางแผน
จะดีกว่ามากสำหรับคนรุ่นหลังที่ยังทำงานอยู่และเกษียณในอีก 10 ปี 20 ปี หรือ 30 ปีข้างหน้า กำหนดเป้าหมายจำนวนเงินเกษียณที่ต้องการตามวิถีชีวิตที่ต้องการ วางแผนการออมและลงทุนอย่างเป็นระบบ ช่วงเกษียณจะสามารถใช้ชีวิตอิสระ สบายๆ ได้อย่างภาพฝันที่ตั้งใจ
ที่มา : สมาคมนักวางแผนการเงินไทย