เคล็ด (ไม่) ลับ โดน stop บ่อยๆ ไม่ค่อยชิน

19 ก.พ. 2567 | 09:55 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.พ. 2567 | 09:56 น.

เคล็ด (ไม่) ลับ โดน stop บ่อยๆ ไม่ค่อยชิน เทรดให้เหมือนทำธุรกิจ : คอลัมน์ Investing Tactic โดย นางสาวจริยา สกุลไพโรจน์

โดน stop loss อีกแล้ว

อาการแบบนี้ เทรดเดอร์เจอกันเป็นปกติ แต่…ไม่ปกตินะสิ

โดน Stop Loss บ่อยๆ ไม่ค่อยชิน

เริ่ม กลัว เริ่มเซ็ง

ไม่อยากทำตามแผน

สงสัย ว้าวุ่นใจ เอ..ระบบนี้ทำงานได้จริงหรือเป่า

พอร์ทจะเสียหายขนาดไหน เดือนนี้ไม่มีกำไร

 

แล้วทำยังไงดี

แต่ก็เทรดตามระบบนะ ใช่ตลาดไม่เหมาะสมกับระบบ

“เทรดให้เหมือนทำธุรกิจ”

6 ขั้นตอนวางแผนสร้างธุรกิจในฝัน เริ่มจาก...

  1. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
  2. วางแผนและจัดทำกลยุทธ์การดำเนินงาน
  3. เพิ่มพูนความรู้ในด้านต่าง ๆ ทั้งการตลาด การเงิน การบริหารคน ไปจนถึง Supply Chain
  4. เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม สำหรับความสำเร็จและความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น
  5. ลงมือทำตามแผนที่วางไว้ โดยยึดหลักในการบริหารงาน บริหารเงิน บริหารคนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และ
  6. ทบทวนอย่างต่อเนื่อง ติดตามสภาพแวดล้อมของธุรกิจและผลดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อทบทวนแก้ไขหรือพัฒนาต่อยอดให้ธุรกิจมีการเติบโตและสามารถดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่นด้วยความมั่นใจ (cr. www.set.or.th)

เคล็ด (ไม่) ลับ โดน stop บ่อยๆ ไม่ค่อยชิน

โดยจัดแบ่งเป็น  2 ส่วน

ส่วนแรก การวางแผน เรียกว่า “นาย A” ดูแลในข้อ 1-4, 6

ส่วนสอง การปฏิบัติงาน เรียกว่า “นาย B” ดูแลในข้อ 5

นาย A จะวางแผน ตัดสินใจ บริษัทจะดำเนินธุรกิจอะไร ขายสินค้า หรือให้บริการ ลูกค้าคือใคร อยู่กลุ่มอุตสาหกรรมใด รวมถึงต้นทุนและผลกำไรที่คาดว่าจะได้ ทำแล้วคุ้มไหม น่าลงทุนไหม รวมทั้ง หลังจากดำเนินธุรกิจแล้ว ทำการแก้ไขปัญหาที่พบ หรือปรับปรุงเพื่อให้การทำงานเป็นไปตามแผนงาน หรือดีขึ้น

นาย B ลงมือทำตามที่วางแผนมา ทำให้ได้ตามแผนงานที่กำหนด หากติดปัญหาใดๆ ลงข้อมูลให้กับส่วนแรกเพื่อแก้ไขหรือปรับปรุง พูดง่ายๆ คือเป็นเหมือนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เช่น ลูกค้ารายนี้ อาจจะขายสินค้าให้ โดยไม่มีกำไรเรย แต่นาย A รับ คำสั่งซื้อมาแล้ว นาย B ก้ทำการส่งสินค้าให้ตามใบสั่งซื้อ โดยไม่ได้คิดว่าจะกำไรหรือขาดทุน

“นำมาใช้กับการเทรดอย่างไร”

นาย A ออกแบบระบบ ทดสอบระบบและตรวจสอบระบบ รวมทั้งปรับปรุงให้ดีขึ้น

  • วิธีเทรด หรือระบบเทรด ใช้ indicator อะไรบ้าง timeframe อะไร รายละเอียด จุดเข้า จุดยอม การทำกำไร รวมทั้งการยกจุดขาดทุน เมื่อเริ่มมีกำไร (trailing stop)
  • คุณสมบัติของระบบเทรดเช่น เปอร์เซนต์ชนะ (win rate), อัตราได้เทียบกับเสีย (Risk Reward Ratio), แพ้ติดกันกี่ครั้ง (consecutive loss), ขนาดของการเทรดแต่ละครั้ง (Position size) เป็นต้น
  • เมื่อระบบเทรดทำงานได้ดี การปันผล การปั้นพอร์ทจะทำอย่างไร
  • เมื่อระบบเทรดทำงานไม่ดีหรือผิดปกติ เช่น แพ้ติดกันเป็นจำนวนมากกว่าที่ทดสอบ, พอร์ทย่อลงเกินจากที่วางแผนไว้ เป็นต้น
  • ปรับปรุงระบบเทรดให้ทำการเทรดได้ หลังจากได้รับ feedback จากเทรดจริง อาจจะเจอประเด็น ปัญหาที่ทำการเทรดไม่ได้ ไม่ว่าเป็นเทคนิคหรืออารมณ์

นาย B ทำหน้าที่เทรด หรือ action ตามระบบ ถ้าเข้าตามระบบก็คือเทรด สมองว่างๆ โล่งๆ ไม่ต้องคิด “ว่าจะกำไรหรือไม่”  หลังจากนั้นบันทึกการเทรด อารมณ์ที่เกิดขึ้น ผลเป็นอย่างไร ส่งกลับให้ นาย A ทำการวิเคราะห์ต่อไป

  • บันทึกการเทรด ทำตามแผนได้หรือไม่ได้อย่างไร หรือมีรูปแบบที่ทำให้เกิดความลังเล ไม่แน่ใจ ไม่ชัดเจน เป็นต้น
  • อารมณ์ความรู้สึก
  • ผลกำไรขาดทุน

ดังนั้นไม่ว่า การเทรดไม้นั้นหรือช่วงนั้นๆ จะกำไรหรือขาดทุน ก็เป็นส่วนนึงของการทำธุรกิจที่มีทั้งกำไรหรือขาดทุนบ้าง แต่ในภาพรวมเป็นไปตามแผนธุรกิจที่วางไว้

ซึ่งในการเทรดก็เช่นเดียวกัน หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดนบ่อยๆ “เดี๋ยวก็ชิน”