ทางเลือกใหม่ในการรักษา “โรคซึมเศร้า”

14 ก.ย. 2567 | 10:50 น.
อัพเดตล่าสุด :14 ก.ย. 2567 | 12:38 น.

ทางเลือกใหม่ในการรักษา “โรคซึมเศร้า” : Tricks for Life

“โรคซึมเศร้า” เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ทำให้การรักษาโรคซึมเศร้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยคืนคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา การทำจิตบำบัด และเทคโนโลยีใหม่

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมองหลายชนิด เช่น ซีโรโทนิน (serotonin) นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) และโดปามีน (dopamine) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเศร้าหมอง เบื่อหน่าย หมดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า และอาจคิดฆ่าตัวตายได้

ทางเลือกใหม่ในการรักษา “โรคซึมเศร้า”

สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม,การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง และเหตุการณ์ในชีวิตที่เครียดหรือกระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง การถูกล่วงละเมิด เป็นต้น

สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม,การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง และเหตุการณ์ในชีวิตที่เครียดหรือกระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง การถูกล่วงละเมิด เป็นต้น

ปัจจุบันโรคซึมเศร้ามีการรักษาหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา, การทำจิตบำบัด และการรักษาด้วย ล่าสุดที่มีการพูดถึงคือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีใหม่ dTMS หรือ Deep Transcranial Magnetic Stimulation การใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นเซลล์ประสาทในสมองส่วนลึก ถือเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อช่วยลดอาการซึมเศร้าโดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงเหมือนยาบางชนิด

การรักษาด้วย dTMS นี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่ามีความปลอดภัยเเละมีประโยชน์ช่วยในการรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีผลข้างเคียงจากยา ไม่ตอบสนองต่อยา หรือรับประทานยาเกินหนึ่งปีแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น แต่ในปัจจุบันมีการนำ dTMS มาใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการทำจิตบำบัดเเละการกินยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรักษาให้ดีขึ้นอีกด้วย

dTMS เป็นการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นบริเวณสมองส่วนหน้าในแต่ละครั้งจะกระตุ้นผ่านหมวกอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสวมใส่ที่ศีรษะโดยจะกระตุ้น 2 วินาที และเว้นพักเป็นระยะเวลา 20 วินาที จึงกระตุ้นซ้ำต่อเนื่องไป 20-30 นาที ผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นกับจำนวนครั้งสะสมของการกระตุ้น แต่มีข้อจำกัดในการกระตุ้นแต่ละวัน จึงจำเป็นต้องกระตุ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 10-15 วัน หรือเว้นไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ก่อนรับการรักษาด้วย dTMS จิตแพทย์จะประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยทุกราย

ทางเลือกใหม่ในการรักษา “โรคซึมเศร้า”

อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถรักษาหายได้ หากรู้ตัวเองเร็วแล้วรีบมารักษา ซึ่งการตรวจหาโรคในระยะเริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เบื้องต้นให้สังเกตอาการตัวเองและคนรอบข้างว่า มีอาการเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ หากมีอาการเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ แนะนำให้ไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

ขอบคุณ : โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental Health Hospital

คอลัมน์ Tricks for Life หน้า 15 ฉบับ 4,027 วันที่ 15 - 18 กันยายน พ.ศ. 2567