ทุกวันนี้ เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้า สิ่งที่หลายคนคว้าขึ้นมาเป็นอันดับแรก ก็คือ โทรศัพท์มือถือ หลังจากนั้น ข้อมูลการตื่นนอนของคุณก็จะถูกบันทึกเป็นไว้ในโลกออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าคุณจะเดินหรือขยับตัว ย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
ข้อมูลระยะการเดินในแนวราบหรือขึ้นบันไดก็จะถูกวัดและบันทึกไว้ ยิ่งถ้าคุณมี Device ที่เสมือนเป็นประตูเชื่อมต่อการติดตามข้อมูลในโลกความเป็นจริงกับออนไลน์ด้วยแล้ว ข้อมูลด้านสุขภาพของคุณ ก็จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลเพื่อประเมินพฤติกรรมและสุขภาพของคุณได้อีกด้วย
ในวงการการแพทย์และสุขภาพ เราคุยกันถึงความเป็นไปได้ของการออกแบบการแพทย์ส่วนบุคคล (Personalized medicine) โดยตระหนักดีว่า มันจะมีความเป็นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อช่องว่างระหว่างโลกออนไลน์กับโลกเสมือนจริงลดน้อยลง
ขณะเดียวกันนั้น ผู้คนก็เริ่มเปิดใจยอมรับการตรวจสอบและติดตามผลด้านสุขภาพในรูปแบบ Digital Wellness ผ่านอุปกรณ์ไอทีที่มีอยู่มากมายในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะนาฬิกาดิจิทัลอัจฉริยะ ที่มีการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ เช่นเดียวกับบรรดาแว่นตา กำไลข้อมือ ซึ่งไม่เพียงแต่จะแสดงข้อมูล
ขณะที่เราออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่ยังแสดงสถานะของสุขภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดสุขภาพหัวใจ ความเข้มข้นของออกซิเจน หรือติดตามสุขภาพส่วนอื่นๆ ได้อีกด้วย ซึ่งพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้องนั้น มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ ประกอบกับข้อมูลด้านสุขภาพในปัจจุบันมีความหลากหลายและมีคุณภาพมากขึ้น
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การประเมินผลด้านสุขภาพมีความแม่นยำมากขึ้นไปอีก และถ้ายิ่งมีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมทั้งเมือง อย่าง Smart City และโครงข่าย 5G รวมถึง Smart Device ต่างๆ ภายในบ้านที่รองรับระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น ก็ยิ่งทำให้การประมวลผลข้อมูล
เริ่มจากข้อมูลของตัวผู้ป่วย ตั้งแต่ตื่นนอน จนถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ขณะอยู่บ้าน ข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งต่อและประมวลผล นำไปสู่การร่วมวินิจฉัยที่สามารถใช้ได้ทั้งที่โรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลด้วยกัน (Single Health Record) ทำให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวก รวมทั้งการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะในโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันในแวดวงการแพทย์และการสาธารณสุข มีการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ป่วยสามารถใช้งานได้เองที่บ้านแล้ว เช่น ที่ตรวจวัดความดันโลหิต เครื่อง AED หรือเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องพ่นยา ฯลฯ เมื่อมีข้อมูลผลการตรวจสุขภาพพื้นฐานที่จะสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ต่อ หรือเมื่อพบแพทย์และมีการตรวจซ้ำ
ก็จะทำให้ได้ผลการรักษาที่แม่นยำ ผมขอยกตัวอย่าง 1 ในเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในวงการการแพทย์ที่แพร่หลายมากที่สุด ได้แก่ Telemedicine หรือโทรเวชกรรมผ่านทางไกล ทำได้มากกว่าที่คิด ไม่ใช่เพียงเครื่องมือในการพบแพทย์ แต่ยังสามารถเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้ง Early Detection ก่อนที่จะไปตรวจสุขภาพ หรือพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การปรึกษาแพทย์ในมุมเวชศาสตร์เชิงป้องกัน (Prevention) หรือแม้กระทั่งปรับเป็นคลินิกสุขภาพดิจิทัลประจำหน่วยงานหรือองค์กร ที่สามารถพบแพทย์อายุรกรรมทั่วไป โดยหากเมื่อพบอาการ ก็สามารถส่งต่อเคสไปพบกับแพทย์เฉพาะทาง
และสามารถส่งตัวเข้ามารับการตรวจวินิจฉัยต่อในสถานพยาบาลได้ทันที หรือกรณีการติดตามอาการโดยแพทย์หรือบุคลากรการแพทย์ ซึ่ง Telemedicine ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนไข้กับแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกรเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้กับนักโภชนากร หรือเทรนเนอร์ในการดูแลสุขภาพได้อีกด้วย เป็นต้น
จากที่กล่าวมา หัวใจสำคัญทั้ง Device และระบบโครงข่าย 5G ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) แม้ก่อนหน้านี้จะมีการคุยเรื่องนี้มานานแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างลื่นไหล เนื่องจากข้อจำกัดด้านความเร็ว และความเสถียรของการส่งต่อข้อมูลต่างๆ
เมื่อไม่มีข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำเพียงพอ คุณภาพของ Smart device จึงถูกลดทอนลงไปด้วย ดังนั้นในมุมมองผมแล้ว เมืองอัจฉริยะ (Smart City) จะนำมาสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเอื้อให้เกิดการเข้าถึงระบบสุขภาพและการสาธารณสุขที่ดียิ่งขึ้น
หากเราใช้ให้เกิดประโยชน์และมีการดำเนินนโยบายเหล่านี้อย่างถูกต้อง จะมีส่วนช่วยให้เราประหยัดงบประมาณแผ่นดินเพื่อปรับให้เกิดยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขที่เน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา และจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยดีขึ้นในระยะยาว
หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,834 วันที่ 10 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565