“ปวดหลัง” ทำไมต้อง X-RAY และ MRI

07 ก.ย. 2566 | 06:25 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ก.ย. 2566 | 06:30 น.

“ปวดหลัง” ทำไมต้อง X-RAY และ MRI : Tricks for Life

โรคกระดูกสันหลัง” หรือผู้ป่วยที่อาการผิดปกติทางด้านกระดูกสันหลัง รู้สึกปวดหลังร้าวลงขา หรือปวดโดยไม่ทราบสาเหตุ และอยากที่จะรักษาให้หายขาด จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญสูง

เมื่อแพทย์ซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยแล้ว และหากยังได้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยไม่ครบถ้วน ขั้นตอนต่อไปแพทย์จะส่งตรวจทางรังสีวินิจฉัย ซึ่งโดยทั่วไปเครื่องมือที่แพทย์กระดูกสันหลังนิยมใช้ ได้แก่ X-RAY และ MRI ซึ่งแต่ละวิธีมีขั้นตอนและจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้อง X-RAY และเมื่อ X-RAY แล้ว ทำไมยังต้องทำ MRI อีก จะเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้หรือไม่ และควรจะต้องทำควบคู่กันหรือไม่

“ปวดหลัง” ทำไมต้อง X-RAY และ MRI

นพ.เมธี ภัคเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ให้คำแนะนำว่า X-RAY และ MRI เป็นเครื่องมือที่แพทย์ใช้วินิจฉัยหาความผิดปกติภายในร่างกายของผู้ป่วย ในกรณีที่คุณมีอาการผิดปกติทางด้านกระดูกสันหลัง รู้สึกปวดหลังร้าวลงขา หรือปวดโดยไม่ทราบสาเหตุ และอยากที่จะรักษาให้หายขาดก็มีความจำเป็นต้องตรวจทั้งเอกซเรย์ และ MRI ควบคู่กัน

เพราะจะทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ เนื่องจาก X-RAY จะเน้นดูโครงสร้างของกระดูกสันหลัง ส่วนการทำ MRI จะเห็นความผิดปกติของหมอนรองกระดูกได้อย่างชัดเจนนั่นเอง หากแพทย์วิเคราะห์ได้ตรงจุด ผลลัพธ์ของการรักษาที่ได้ก็จะมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นเราจึงต้องใช้ทั้ง X-RAY และ MRI ช่วยในการวิเคราะห์โรคเพื่อความถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งในการดูฟิล์มเอกซเรย์ หรือผลตรวจของ MRI จำเป็นต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการอ่านผล เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้

“ปวดหลัง” ทำไมต้อง X-RAY และ MRI

ผลสำรวจการใช้งานเครื่อง MRI ทั่วโลกในปี 2018 พบว่า ความเหมาะสมในการตรวจโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังมาเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ สมอง เนื่องจากเครื่อง MRI ให้รายละเอียดและความคมชัดสูงระดับ 3 มิติ (3D) ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ และที่สำคัญการตรวจด้วยเครื่องมือชนิดนี้ ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสี

ขณะที่ MRI ที่ใช้อยู่ทั่วโลกประมาณ 90% จะเป็นแบบอุโมงค์ ซึ่งต่างจากเครื่อง MRI แบบยืนที่มีจำนวนจำกัด แต่ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของเครื่อง MRI แบบยืน จึงนำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีเพียงเครื่องเดียวในประเทศไทย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ ตรงจุด และชัดเจน แก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้อย่างยั่งยืน

เมื่อพบอาการปวดหลัง จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาการปวดอาจมาจากหลายสาเหตุ ดังนั้นเมื่อมีสัญญาณเตือน ควรเริ่มป้องกันและค้นหาสาเหตุคือสิ่งที่ดีที่สุด เหากปล่อยไว้นานจนเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายแรงได้

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,919 วันที่ 3 - 6 กันยายน พ.ศ. 2566