หยุดกังวลเรื่องการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เพราะที่เอส สไปน์ มีเทคโนโลยีที่จะทำให้การผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอีกต่อไป
“ปวดหลังร้าวลงขา” อาการเหล่านี้ไม่ใช่แค่การปวดเมื่อยเพียงเพราะนั่งทำงานนานๆ หรือยกของหนัก แต่นั่นเป็นสัญญาณของเส้นประสาทที่มีปัญหาซึ่งอาจกำลังเผชิญกับความผิดปกติ
“การผ่าตัด” จึงเป็นแนวทางการรักษาที่นับว่าให้ผลลัพธ์ดีที่สุด ซึ่งการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงไม่ได้น่ากังวลอย่างที่หลายคนคิดและหวาดวิตก
นพ.พร นริศชาติ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ กล่าวว่า การรักษาโรคกระดูกสันหลังมีหลายวิธีตั้งแต่การทานยา กายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัด ที่ผ่านมาที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ จะวิเคราะห์อาการของผู้ป่วยก่อนเสมอโดยใช้เทคโนโลยี การเอกซเรย์ร่วมกับการทำเอ็มอาร์ไอ จึงทำให้ผลของการวิเคราะห์รอยโรคมีความแม่นยำ และนำไปสู่การรักษาที่ตรงจุด
โดยปัจจุบันโรงพยาบาลเอส สไปน์ เป็นศูนย์ให้บริการตรวจสแกนร่างกายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง โดยเฉพาะเครื่อง MRI แบบยืนซึ่งเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ที่สามารถแสดงรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
“การรักษาแบบ Minimally Invasive Spine Surgery หรือ MIS Spine แบบครบวงจร เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังและกลัวการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดแผลใหญ่กลายเป็นแผลเล็ก แต่ได้ผลการรักษาที่เท่ากัน ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ความเจ็บปวดหลังการรักษาลดลง
จากเดิมที่ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 1 สัปดาห์ หรือบางรายอาจต้องนอนนาน 1-2 เดือน แต่เมื่อมารักษาด้วยวิธี MIS Spine จะทำให้ผู้ป่วยนอนพักที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้น"
เมื่อย้อนเวลากลับไปในยุคที่เครื่องมือในการผ่าตัดยังไม่ถูกพัฒนาเหมือนในปัจจุบัน การรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังในแต่ละครั้งถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากยังไม่มีเครื่องเอกซเรย์ ไม่มีกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง ไม่มีไฟที่ใช้ส่องในการผ่าตัดที่เหมาะสม และศัลยแพทย์ที่ถูกฝึกฝนมาเฉพาะทางยังมีไม่มาก
จึงเป็นสาเหตุที่แพทย์จำเป็นต้องเปิดแผลตามขนาดของจำนวนข้อกระดูกสันหลังที่มีปัญหา ทำให้เกิดผลข้างเคียงขณะทำการผ่าตัดและหลังทำการผ่าตัด จึงเป็นเหตุให้ผู้ป่วยหรือญาติรู้สึกกลัวที่จะต้องรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังด้วยวิธีการผ่าตัด
แต่ในปัจจุบันวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทคนิคการผ่าตัดที่มุ่งเน้นไปยังรอยโรคของผู้ป่วย ทำให้การเสียเลือด การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และการบาดเจ็บหลังการผ่าตัดน้อยกว่าแบบเดิมหลายเท่า อีกทั้งระยะเวลาในการนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลก็สั้นกว่า ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมได้เร็วขึ้น
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Microscope ที่มีกำลังขยายสูง ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงเหลือ 3-5 เซนติเมตร และมีความปลอดภัยมากขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน ซึ่งในผู้ป่วยที่มีความแข็งแรงของร่างกายน้อย หรือผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อกลับมาใช้งานได้อย่างปกติ
แต่ด้วยการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope หรือ การเจาะรูส่องกล้อง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่โดยที่เลนส์ของกล้องเอ็นโดสโคปจะติดอยู่ที่ปลายของอุปกรณ์ ซึ่งเปรียบเสมือนดวงตาของแพทย์ที่สามารถเข้าไปอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นตำแหน่งของรอยโรคได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
การเจาะรูส่องกล้องสามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก แต่ได้ผลการรักษาดีเทียบเท่ากับการผ่าตัดใหญ่ และข้อดีของการเจาะรูส่องกล้อง คือแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 0.5 ซม.ทำให้ผู้ป่วยนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียงแค่ 1 คืนเท่านั้น หลังจากทำการรักษาก็สามารถกลับบ้านไปใช้ชีวิตได้ตามปกติและไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดให้เสียเวลา
อย่างไรก็ตามการทำงานเป็นทีมสำคัญมาก และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ เครื่องมือในการรักษาและทีมงานในการผ่าตัดซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผมมั่นใจในเครื่องมือการผ่าตัดของโรงพยาบาลเอส สไปน์ เพราะเป็นโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในเรื่องของการผ่าตัด MIS Spine แบบครบวงจร โดยเฉพาะกล้องเอ็นโดสโคป ถ้าเครื่องมือไม่ดีหรือไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสม แพทย์ก็ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่เป็นที่น่าพอใจ
“การผ่าตัดไม่ได้เป็นเรื่องสนุก ถ้ามีความจำเป็นต้องทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด และเราเพิกเฉยหรือปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เส้นประสาทชำรุด การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากหรือผลการรักษาก็จะไม่ได้ดีเท่าที่ควร
ดังนั้นถ้ารู้สึกว่าการใช้ชีวิตของเราเริ่มไม่ปกติ และมีข้อบ่งชี้หนึ่งที่ควรจะต้องได้รับการผ่าตัด การเลือกแพทย์และสถานพยาบาลที่ปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนได้อย่างมาก”
ขอบคุณ : โรงพยาบาลเอส สไปน์