คอลัมน์ ชี้ช่องจากทีมทูต โดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์/คณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป
แผ่นดินไหว ฝนไม่ตกตามฤดูกาล พายุรุนแรง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภัยพิบัติเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจาก ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน จากสิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ จากเหตุการณ์ดังกล่าว หลายประเทศทั่วโลกจึงหาแนวทางแบ่งเบาความรุนแรงที่เกิดขึ้นผ่านนโยบายและมาตรการต่าง ๆ รวมถึง สหภาพยุโรป (อียู) ที่ตื่นตัวกับเรื่องนี้เช่นเดียวกัน
คณะกรรมาธิการยุโรป ได้เสนอแผนปฏิรูปกฎหมาย ‘EU Nature Protection Package’ ต่อสภายุโรป และคณะมนตรียุโรป เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2565 เพื่อกำหนดมาตรการด้านการปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ ตลอดจนการลดใช้ยาปราบศัตรูพืช ให้ประเทศสมาชิกอียู 27 ประเทศร่วมกันปฏิบัติอย่างจริงจัง ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ EU Biodiversity Strategy เพื่อหยุดยั้งอัตราการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในปี 2030
นอกจากนี้ ยังเพื่อผลักดันให้เกษตรกรเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์กันมากยิ่งขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากสารเคมีตกค้างและหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางดิน ทางน้ำ และอากาศ
กำหนดเป้าหมายฟื้นฟูระบบนิเวศให้ได้ร้อยละ 20 และลดการใช้สารพิษในภาคเกษตรร้อยละ 50 ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573) โดยแผนปฏิรูปประกอบด้วยร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่
1.ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ (Nature Restoration Regulation) ซึ่งเป็น กฎหมายฉบับแรกของโลกที่ได้กำหนดเป้าหมายที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (binding targets) ให้ทุกประเทศสมาชิกอียูยึดถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางบกและทางทะเลอย่างน้อยร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมดภายในภูมิภาคยุโรปให้มีสภาพที่ดีขึ้นภายในปี 2030 รวมถึงปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ทางธรรมชาติอื่น ๆ ทั้งหมดให้กลับคืนสู่สภาพสมดุลภายในปี 2050 ภายใต้ข้อเสนอสำคัญ ดังนี้
2. ร่างแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอย่างยั่งยืน (Sustainable Use of Pesticides Regulation) ซึ่งมีข้อเสนอสำคัญ ดังนี้
ด้านกลุ่ม Greens ในสภายุโรป ตลอดจนภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ และย้ำความสำคัญของการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ แต่กลุ่มเกษตรกรภายในอียู ได้ออกมาแสดงความกังวลต่อแผนการดังกล่าว เนื่องจากมองว่ามาตรการลดการใช้สารเคมีที่เข้มงวดเกินไปจะทำให้ปริมาณการผลิตและคุณภาพไม่สม่ำเสมอ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร และยังเป็นการซ้ำเติมให้ภาระต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกษตรกรต้องแบกรับจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีกจนอาจทำให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการในภูมิภาคตามมาได้
ประเทศสมาชิกอียูบางประเทศย้ำว่าเป้าหมายในการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีเกษตรจะต้องมีความยืดหยุ่น เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรมและการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ยังได้เรียกร้องให้ภาครัฐให้ความรู้และข้อมูลแก่เกษตรกร รวมถึงชาวประมงพื้นบ้านในเรื่องของแนวทางการปรับตัวจากการเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติด้านนิเวศเกษตร (น้ำ ป่าไม้ ที่ดิน) และการลดใช้สารเคมีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในลำดับต่อไป รัฐสภายุโรปจะต้องหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป (ฝ่ายบริหาร) และคณะมนตรียุโรป (ประเทศสมาชิก) ซึ่งอาจมีการเพิ่มเติมข้อเสนอใหม่ๆ เข้ามาในร่างกฎหมายฯ อีกในอนาคต
ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับไทย
แม้ว่ามาตรการข้างต้นจะถูกบังคับใช้เฉพาะประเทศสมาชิกอียู แต่ยังมีประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อย่างมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการย่อยของ European Green Deal จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2569
โดยมาตรการดังกล่าวมีการปรับราคาสินค้านำเข้าบางประเภท เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิก EU ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องระมัดระวังการส่งออกสินค้าในกลุ่มต่อไปนี้เป็นพิเศษ ได้แก่
(1) บริการไฟฟ้า (2) ซีเมนต์ (3) ปุ๋ย (4) เหล็กและเหล็กกล้า (5) อะลูมิเนียม
ด้านรายละเอียดอื่น ๆ นั้น ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ คลิกที่นี่