นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 4 ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 ว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ขยายตัว 1.9%
โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจปรับเพิ่มขึ้นเกือบทุกตัว โดยเฉพาะตัวเลขการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง โดยเฉพาะปริมาณการส่งออกสินค้าขยายตัว 16.6% รวมถึงปริมาณส่งออกบริการขยายตัว 30.5% ยกเว้นการลงทุนรวมที่ยังติดลบอยู่ 0.2%
ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ที่ 1.6% เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่เคยประเมินว่า จะขยายตัวได้ 1.2%
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าและบริการ และการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้น เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัว
สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2564 ที่ขยายตัว 1.6% ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง 6.2% ในปี 2563 โดยมีจีดีพีอยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท จีดีพีต่อหัวของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 232,176 บาทต่อคนต่อปี เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 1.2% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.2% ของจีดีพี ทั้งนี้ แยกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้านการใช้จ่าย
ด้านการผลิต
ส่วนปี 2565 สศช.ประเมินแนวโน้มว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ในกรอบ 3.5 – 4.5% ตามกรอบเดิมที่เคยประมาณการเอาไว้ครั้งก่อน โดยต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงหลักที่เข้ามากระทบ คือ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งในช่วงที่เหลือของปีนี้ ต้องติดตามกรณีของการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด เพราะทำให้ประเทศต่าง ๆ ออกมาตรการจำกัดการเดินทาง ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจได้
สำหรับรายละเอียดเศรษฐกิจไทยปี 2565 ที่คาดว่าจะขยายตัว 3.5 – 4.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ประกอบด้วย
ส่วนเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ สศช. ประเมินว่า