วันที่ 13-6-60-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุการณ์โจกรรมตู้เอทีเอ็มของเเก๊งชาวจีนที่เข้ามาก่อเหตุนำเครื่องคัดลอกบัตรอิเล็คโทรนิกส์ และกล้องวีดีโอขนาดเล็ก มาติดไว้ที่บริเวณตู้เอทีเอ็มเพื่อโจรกรรมเงินจากลูกค้าธนาคารที่มาใช้บริการตู้เอทีเอ็มนั้นมีขั้นตอนการโจรกรรมอย่างไรบันทึกการจับกุมของสน.ห้วยขวางในเรื่องนี้น่าจะอธิบายรายะเอียดของขั้นตอนเเละกระบวนการดังกล่าวได้….
พฤติการณ์การจับกุม เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2560 เวลาประมาณ 12.00 น. นายประพฤทธิ์ อ่อนนิ่ม เจ้าหน้าที่บริษัทตู้เอทีเอ็มยี่ห้อเอ็นซีอาร์ ว่ามีการนำเครื่องคัดลอกบัตรอิเล็คโทรนิกส์ และกล้องวีดีโอขนาดเล็ก มาติดไว้ที่บริเวณตู้เอทีเอ็มธนาคารไทยพาณิชย์ ทางเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีเซ็นทรัลพระราม 9 เจ้าหน้าที่ธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้เดินทางไปตรวจสอบ พบอุปกรณ์ดังกล่าว ติดไว้ที่ตู้เอทีเอ็มจริง และ จำเป็นต้องมาเก็บอุปกรณ์กลับไป เจ้าหน้าที่ธนาคารจึงได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจงานสายตรวจ 1 กก. สายตรวจ และเจ้าหน้าที่ตารวจฝ่ายสืบสวน สน.ห้วยขวาง จึงได้วางกำลังซุ่มอยู่บริเวณโดยรอบ
จนกระทั่งวันที่ 12 มิ.ย. 2560 เวลาประมาณ 20.40 น. ได้มี นายจง ฟู่ หัว (Mr.Zhong Fuhua) อายุ 31 ปี สัญชาติจีน (ทราบชื่อภายหลัง) ผู้ถูกจับที่ 1 เดินมาที่บริเวณตู้เอทีเอ็มดังกล่าวทาท่าจะกด เงิน จากนั้นผู้ถูกจับที่ 1 ได้ใช้มือแกะอุปกรณ์ที่ติดอยู่บริเวณตู้เอทีเอ็มออกมาใส่กระเป๋าตนเอง
จากนั้นเจ้าหน้าที่ตารวจจึงเข้าทาการตรวจค้น ผลการตรวจค้นพบ ของกลางรายการที่ 1-5 อยู่ใน กระเป๋าดังกล่าว และยังรับว่านอกจากผู้ถูกจับที่ 1 แล้ว ยังมีชาวจีนร่วมกระทาการอีก 3 คน โดยผู้ถูกจับที่ 1 กับพวกพักอาศัยอยู่ที่ห้อง 823 อาคารไนซ์ แมนชั่น ซ.ประชาราษฎร์บาเพ็ญ 20 แขวง-เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม จึงได้นำตัวผู้ถูกจับที่ 1 เดินทางไปตรวจสอบยังห้องดังกล่าวเพื่อทำการ ขยายผล จนกระทั่งเวลาประมาณ 22.20 น. เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมเดินทางมาถึงอาคารดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมพบรถแท็กซี่สีชมพู จอดอยู่บริเวณหน้าอาคาร โดยมีผู้โดยสารนั่งอยู่ที่เบาะหลัง จำนวน 2 คน ผู้ถูกจับที่ 1 ได้ชี้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมทราบว่าผู้โดยสารจำนวน 2 คนที่อยู่บริเวณเบาะ หลังของรถแท๊กซี่คือ นายหลิว หลี่ หมิง (Mr.Liu Liming) อายุ 40 ปี สัญชาติจีน ผู้ถูกจับที่ 2 และ นายจู ว่าน หลง (Mr.Zhu Wanrong) อายุ 47 ปี สัญชาติจีน ผู้ถูกจับที่ 3 เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ขอทำการตรวจค้น ผลการตรวจค้นพบของกลางรายการที่ 6 – 22 อยู่บริเวณเบาะหลังของรถ
เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงแจ้ง แก่ผู้ถูกจับที่ 1 , 2 และ 3 ว่าต้องถูกจับกุมโดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันมีเครื่องมือหรือวัตถุสาหรับให้ได้ข้อมูลใน การปลอมหรือแปลง หรือมีเครื่องมือหรือวัตถุเช่นว่านั้น เพื่อใช้หรือให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลง (ประมวลกฎหมายอาญา ม.269/2)” และได้แจ้งสิทธิในชั้นจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 3ทราบ แล้วจึงได้จับกุมผู้ถูกจับทั้งหมด และควบคุมตัวมาที่งานสายตรวจ 1 กก.สายตรวจ เพื่อจัดทำบันทึกการจับกุม แล้วนำตัวผู้ถูกจับ พร้อมด้วยของกลางทั้งหมดนำส่งพนักงานสอบสวน สน.ห้วยขวาง ซึ่งเป็นที่ทำการของพนักงานสอบสวน
เมื่อ ไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานผู้จับได้แจ้งแก่ผู้ถูกจับว่าต้องถูกจับอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งในชั้นจับกุม โดยนายจง ฟู่ หัว (Mr.Zhong Fuhua) ผู้ถูกจับที่ 1 ให้การรับสารภาพตลอดข้อ กล่าวหาว่า ตนเดินทางเข้ามาที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยเดินทางเข้ามาพักอาศัยกับผู้ถูกจับที่ 3 ที่ไนซ์ แมนชั่น ห้อง 821 โดยผู้ถูกจับที่ 1 มีหน้าที่เดินเก็บเครื่องคัดลอกบัตรอิเล็คโทรนิกส์ และกล้องวีดีโอขนาดเล็ก ที่ติดตั้งไว้บริเวณตู้เอทีเอ็มที่ทำการจับกุม โดยมี นายซ่ง เลี่ยง หมิง (Mr.Zhong Lang Ming) สัญชาติจีน ซึ่ง หลบหนีไปแล้ว เป็นคนชักชวน โดยผู้ถูกจับที่ 1 มีหน้าที่มาเก็บอุปกรณ์กลับไปยังห้องพัก ผู้ถูกจับที่ 2 ให้การ รับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาว่า ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับนายซ่ง เลี่ยง หมิง (Mr.Zhong Lang Ming) ที่หลบหนีไป และพักอาศัยอยู่ที่ไนซ์ แมนชั่น ห้อง 823 กับนายซ่ง เลี่ยง หมิง โดยผู้ถูกจับที่ 2 มี หน้าที่นำอุปกรณ์ไปติดที่ตู้เอทีเอ็มที่ทำการจับกุม โดยผู้ถูกจับที่ 1 และ 2 ให้การตรงกันว่า ถูกชักชวนโดยนาย ซ่ง เลี่ยง หมิง (Mr.Zhong Lang Ming) ที่หลบหนีไปให้มาร่วมกันก่อเหตุ โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ส่วนผู้ถูกจับที่ 3 ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ เพียงแต่เดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยเท่านั้น โดยพักอยู่ที่ไนซ์ แมนชั่น ห้อง 821 กับผู้ถูกจับที่ 1 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้ทำการตรวจสอบหนังสือ เดินทางของผู้ถูกจับกุมทั้งสามคนในเบื้องต้นแล้ว พบว่าได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักร ไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวกับกรณีที่ลูกค้าธนาคารที่ถูกเเฮกข้อมูลทางธุรกรรมทางการเงินนั้น ลูกค้าธนาคารต้องรับผิดชอบกับเงินที่โดนโจรกรรมไปหรือไม่นั้น คำพิพากษาศาลฎีกา 2840/2550 น่าจะเป็นคำตอบ
คำพิพากษาศาลฎีกา 2840/2550 "….ธนาคารซึ่งโจทก์ให้ผู้ถือบัตรซึ่งเป็นจำเลยชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากบัตรเครดิตที่ถูกขโมยไป
จำเลยได้แสดงหลักฐานและมีการนำสืบพยานจนทำให้ศาลเห็นว่าบัตรเครดิตของจำเลยหายไปจริง และจำเลยไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรตามจำนวนเงินที่ธนาคารเรียกร้องมา
ศาลฎีกาจึงตัดสินดังนี้ จำเลยต้องรับผิดชอบในหนี้บัตรเครดิตที่เกิดจากการที่บุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของจำเลยไปใช้ต่อเมื่อจำเลยได้ยินยอมหรืออนุญาต
แต่การที่บัตรเครดิตของจำเลยถูกขโมยไปย่อมแสดงว่าจำเลยไม่ได้ยินยอมหรืออนุญาตให้มีการใช้บัตรเครดิตนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้นในกรณีดังกล่าว