แอร์บัสพร้อมบริการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ครบวงจรแก่ไทย

26 มิ.ย. 2561 | 06:39 น.
อัปเดตล่าสุด :26 มิ.ย. 2561 | 13:39 น.
แอร์บัสพร้อมที่จะให้บริการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบครบวงจรแก่ประเทศไทย ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก การเสริมสร้างขีดความสามารถ แพลตฟอร์มข้อมูลภูมิศาสตร์แบบองค์รวมที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาที่มีความสำคัญของประเทศไทย

ปารีส 26 มิถุนายน 2561 – สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (จิสด้า) ได้เลือกให้แอร์บัสเป็นพันธมิตรในส่วนของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ยุคใหม่ของประเทศไทย โดยระบบที่ครบวงจรนี้จะทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่จะใช้ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประโยชน์ทางสังคมได้อย่างเต็มรูปแบบ โครงการดาวเทียมธีออส 2 (THEOS-2) นับว่าจะเป็นก้าวที่สำคัญของการพัฒนาด้านอวกาศในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่นวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นอย่างยิ่ง

ตามที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้ โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถแบบเบ็ดเสร็จจะมีวิศวกรชาวไทยมาร่วมพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบครบวงจร ระบบส่วนภาคพื้นและดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกจำนวนสองดวง ซึ่งเป็นระบบดาวเทียมที่มีความละเอียดสูงมากและระบบดาวเทียมขนาดเล็ก โดยระบบดาวเทียมขนาดเล็กจากบริษัท เซอร์เรย์ แซทเทิลไลท์ เทคโนโลยี (Surrey Satellite Technology Ltd หรือ SSTL) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของแอร์บัส จะถูกประกอบขึ้นและทดสอบภายในประเทศโดยวิศวกรชาวไทยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้ซัพพลายเออร์ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม โครงการนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการฝึกอบรมที่อาศัยความชำนาญด้านการใช้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบของแอร์บัส ดังนั้นโครงการนี้จึงถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมข้อมูลเชิงพื้นที่ของไทย
airb1 “เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับแอร์บัส ในการพัฒนานวัตกรรมแพลตฟอร์มระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ครบวงจร ซึ่งจะกลายเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศของประเทศในด้านการจัดการพื้นที่และการตัดสินใจ” ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวและเสริมว่า “แพลตฟอร์มนี้จะเป็นแม่ข่ายและใช้ประโยชน์จากข้อมูลหลายแหล่งเพื่อการทำงานร่วมกันและแบบองค์รวม ข้อมูลเชิงลึกที่ใช้ในการตัดสินใจจะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับความต้องการด้านข่าวกรองในอนาคต ซึ่งจะทำให้ผู้นำของไทยมีเครื่องมือ Actionable Intelligence Policy (API) ที่ช่วยกลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในอนาคต”

“ผู้ใช้จำนวนมากจะเข้าถึงระบบจากผู้กำหนดนโยบายกับผู้ใช้ท้องถิ่น และธีออส 2 จะถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะระดับประเทศของประเทศไทยในด้านอวกาศโดยรวม”

“แอร์บัสได้รับเลือกจากจิสด้าให้มีส่วนร่วมในโครงการธีออส 2 แอร์บัสจึงเดินหน้าสานความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จซึ่งต่อยอดมาจากดาวเทียมธีออส 1 และเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จิสด้ามีความเชื่อมั่นในตัวเราอย่างต่อเนื่อง” นายนิโคลัส ชามัซซี หัวหน้าส่วนงานระบบอวกาศบริษัท แอร์บัส กล่าวและเพิ่มเติมอีกว่า “ด้วยความเชี่ยวชาญที่ยอดเยี่ยมของเราในเรื่องเครือข่ายการสังเกตการณ์โลกทั้งหมด เรามีศักยภาพที่จะให้การสนับสนุนองค์กร ที่มีความมุ่งมั่นเช่นจิสด้าในการสร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ครบวงจรเพื่อประโยชน์แห่งราชอาณาจักรไทย”
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

ตั้งแต่ขั้นตอนในช่วงแรกของโครงการ จิสด้าจะให้ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมที่เก็บรวบรวมโดยกลุ่มดาวเทียมสังเกตการณ์โลกของแอร์บัสที่เป็นดาวเทียมสังเกตุการณ์โลกแบบออพติคคอลและแบบเรดาห์ ซึ่งได้แก่ ดาวเทียมเปลอยาด (Pléiades) ดาวเทียมสปอต (SPOT) ดาวเทียมเทอร์ราซาร์-เอ็กซ์ (TerraSAR-X) และดาวเทียมแทนเดม-เอ็กซ์ (TanDEM-X) รวมถึงการใช้แหล่งข้อมูลอื่นๆ อีกด้วย

ดาวเทียมธีออส 2 เป็นระบบดาวเทียมถ่ายภาพแบบออพติคอลซึ่งให้รายละเอียดภาพพื้นดินที่ความละเอียด 0.5 เมตร และดาวเทียมธีออส 2 ตั้งอยู่บนดาวเทียมแอสโตรบัส-เอส (AstroBus-S) ซึ่งเป็นนวัตกรรมได้รับการพิสูจน์เรื่องการใช้งานแล้วของแอร์บัส สำหรับดาวเทียมธีออส 2 นั้นมีกำหนดที่จะขึ้นสู่อวกาศในปี 2563 เพื่อช่วยรับประกันความต่อเนื่องในการให้บริการของธีออส 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมที่แอร์บัสผลิตและขึ้นสู่วงโคจรในปี 2551 และยังคงให้ภาพถ่ายคุณภาพสูงแม้จะหมดอายุการใช้งานตามที่คาดไว้มาสี่ปีแล้ว ประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลภูมิสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ความละเอียดสูงมากด้วยดาวเทียมแอสโตรบัส-เอส

e-book-1-503x62