"ข้าวหอมมะลิปลอม" ระบาดทั่วอีสาน ส่งออกข้าวสะเทือน! ตรวจดีเอ็นเอไม่ผ่าน

30 ต.ค. 2561 | 10:03 น.
อัปเดตล่าสุด :04 พ.ย. 2561 | 08:01 น.
ส่งออกข้าวระส่ำ "หอมมะลิ" ปลอมปนระบาดหนัก ตรวจดีเอ็นเอไม่ผ่าน แฉโรงสีภาคกลางลากข้าวหอมปทุมขึ้นมาผสม ฉวยจังหวะข้าวราคาดีแย่งซื้อกันดุเดือด ด้าน ชาวนาเมินขาย "สตก.-สหกรณ์" ไม่เชื่อมั่น วิ่งหาโรงสีขาย ระบุ ได้ราคาดีกว่าไม่หักสิ่งเจือปน



โรงสี

แหล่งข่าววงการค้าข้าว เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากราคาข้าวหอมมะลิที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้มีกลุ่มพ่อค้าเร่ นายทุน โรงสีภาคกลาง ได้ลากข้าวหอมปทุมธานีขึ้นไปผสม จึงทำให้ผู้ส่งออกที่รับซื้อข้าวในช่วงนี้ค่อนข้างระมัดระวัง ล่าสุด ได้นำข้าวหอมจากที่รับซื้อจากโรงสีไปตรวจดีเอ็นเอ ปรากฏไม่ผ่าน จึงทำให้ความเชื่อมั่นลดน้อยลง ต่อไปเชื่อว่าจะมีการตรวจเข้มข้นมากขึ้น ท้ายสุดจะส่งผลกระทบถึงชาวนาแทนที่จะได้ราคาดี แต่กลับจะต้องถูกตรวจสอบมากขึ้น เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจหายไป อย่างไรก็ดี ผลลิตข้าวหอมมะลิ คาดว่าจะออกมามากประมาณกลางเดือน พ.ย. นี้ ก็คงจะต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้งว่า ราคาข้าวจะปรับราคาต่ำลงมาหรือไม่อย่างไร


climate-change-2241061_1920

แหล่งข่าวเกษตรจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เผยว่า ปัญหาภัยแล้งปีนี้หนักไม่ต่างจากปีที่แล้ว แต่มีปัญหาก็คือ ไม่กล้าประกาศภัยแล้ง เพราะกลัวว่าชาวนาจะไม่แจ้งตามจริง เนื่องจากรัฐบาลมีค่าปรับปรุงและค่าเก็บเกี่ยว 1,500 บาท ผู้ที่มีพื้นที่ไม่เกิน 12 ไร่ จะได้เงินรวมแล้ว 1.8 หมื่นบาท วิธีการง่ายและสะดวก แค่ไปแจ้งชื่อกับกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อขึ้นทะเบียนชาวนา แล้วภายในเดือน พ.ย. นี้ ทาง ธ.ก.ส. จะโอนเงินให้อัตโนมัติ ส่วนกรณีภัยแล้งจะได้รับเงินเยียวยาแค่ไร่ละ 1,111 บาทต่อไร่ ไม่เกิน 10 ไร่ รวมแล้วจะเห็นว่า ส่วนต่างมีมาก ยอมรับว่า ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ได้แต่ประชาสัมพันธ์


S__13303817

"ฐานเศรษฐกิจ" ได้ลงไปสำรวจผลผลิตข้าวกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยปลายสัปดาห์ที่แล้ว โดยมี นายนายบู๊เฮียง รุ่งรัชกานนท์ ประธานที่ปรึกษา บริษัท โรงสีข้าวยิ่งไพบูลย์ (2007) จำกัด อาสาขับรถตระเวนไปตามโรงสีต่าง ๆ พบว่า ในแต่ละที่จะมีการประกาศราคาที่จูงใจชาวนา เพื่อให้นำข้าวมาขาย อย่างไรก็ดี จากการสอบถามชาวนาในพื้นที่ว่า ทางสหกรณ์และ สกต. ได้จูงใจให้นำข้าวไปขาย แต่ไม่เชื่อมั่น จึงนำข้าวมาขายตรงกับโรงสี แม้ว่าระยะทางจะไกลกว่าก็ตาม แต่ก็เชื่อว่าเป็นมืออาชีพมากกว่า


S__13303822 S__13303823 S__13303824

ขณะที่ รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร (ด้านการผลิต) ณ กรมการข้าว ว่า ที่ประชุมเห็นชอบพื้นที่เป้าหมายการปลูกข้าว ปี 2561/62 รอบที่ 2 จำนวน 11.36 ล้านไร่ ผลผลิต 7.567 ล้านตันข้าวเปลือก แยกเป็น รายชนิดข้าว รายจังหวัด และรายอำเภอ แบ่งเป็น ในเขตชลประทาน 8.03 ล้านไร่ และนอกชลประทาน 3.33 ล้านไร่ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ได้มีการปรับอุปสงค์จากเดิม 30.524 เป็น 34.034 ล้านต้นข้าวเปลือก


c9bb4c7f0c9866b0e2f71540286cacd3f_15943642_๑๘๑๐๓๐_0016

ทั้่งนี้ การปรับเป้าหมายการผลิตข้าวจากเดิม 33.422 เป็น 34.993 ล้านตันข้าวเปลือก เพื่อให้การผลิตข้าวสมดุลกับความต้องการทางการตลาด ต้องปลูกข้าวรอบที่ 2 จำนวน 13.99 ล้านไร่ ผลผลิต 9.26 ล้านตันข้าวเปลือก แต่มีโครงการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าว ปี 2561/62 รอบที่ 2 จำนวน 3 โครงการ พื้นที่ 2.244 ล้านไร่ (โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย เป้าหมาย 0.2 ล้านไร่ โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่สำหรับการปลูกพืชอาหารสัตว์ เป้าหมาย 0.044 ล้านไร่ โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เป้าหมาย 2 ล้านไร่)

สำหรับการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2561/62 รวมทั้ง 2 รอบ พื้นที่ 70.59 ล้านไร่ ผลผลิต 32.97 ล้านตันข้าวเปลือก จะทำให้ได้ปริมาณผลผลิตข้าวต่ำกว่าความต้องการตลาด (34.03 ล้านตันข้าวเปลือก) จำนวน 1.06 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งถือเป็นการวางแผนการผลิตข้าวที่เหมาะสมแล้ว เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่ต้องการควบคุมปริมาณผลผลิตข้าวไม่ให้มากจนเกินไป ซึ่งอาจจะส่งผลต่อราคาข้าวเปลือกได้ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้ผลผลิตข้าวมีความน่าเชื่อถือในสัปดาห์นี้จะมีลงไปสำรวจข้าวใหม่อีกรอบ


090861-1927-9-335x503-8-335x503