เกษตรยุคใหม่ปลูกผักสั่งได้ แปลงตู้คอนเทนเนอร์โรงเรือนอัจฉริยะ ให้ผลผลิตทั้งปี

02 มี.ค. 2562 | 00:05 น.
อัปเดตล่าสุด :02 มี.ค. 2562 | 07:08 น.

ghouse2

ซินโครตรอน จับมือ มทส. และบริษัท อินโน ฟู๊ด มาร์เก็ตติ้ง พัฒนาตู้คอนเทนเนอร์เป็นโรงเรือนอัจฉริยะ เพื่อผลิตผักสะอาด ปลอดภัย ไฟเบอร์สูง ได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี ตอบโจทย์สายรักษ์สุขภาพ
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และบริษัท อินโน ฟู๊ด มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ ซัพพลาย จำกัด พัฒนาระบบโรงเรือนอัจฉริยะระบบปิดภายในตู้คอนเทนเนอร์ ควบคุมตัวแปรต่างๆ แก้ปัญหาความผันแปรของสภาพอากาศในแต่ละฤดูได้พืชผักมีคาร์โบไฮเดรตและไฟเบอร์สูง

ทีมงานลุยวิจัยด้านการกระตุ้นพืชสร้างสารสำคัญทางชีวภาพ ทั้งฤทธิ์ทางยาของพืชสมุนไพรหรือพืชที่กลิ่นหอม หวังเพิ่มมูลค่าการปลูกพืชเศรษฐกิจ ตอบโจทย์ผู้บริโภคสายสุขภาพ ส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาสู่ด้านเกษตรกรรมตามนโยบาย Thailand 4.0

นายธาวิน วิทยอุดม ผู้บริหารบริษัท อินโน ฟู๊ด มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ ซัพพลาย จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาบริษัทผลิตผักไฮโดรโปนิกส์รายใหญ่ในอำเภอหาดใหญ่ แต่ประสบปัญหาสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนสูงในแต่ละวัน และมีฤดูฝนยาวนานปริมาณแสงแดดไม่เพียงพอต่อการเจริญและความสมบูรณ์ของผักสลัด ส่งผลให้การผลิตในแต่ละช่วงเวลาของปีไม่คงที่ จึงได้แสวงหาเทคโนโลยีการปลูกที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

ดร.สมชาย ตันชรากรณ์ หัวหน้าโครงการระบบโรงเรือนอัจฉริยะ เปิดเผยว่า จากโจทย์ดังกล่าวทีมวิจัยได้ร่วมกันพัฒนาโรงเรือนอัจฉริยะภายในตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นโรงเรือนแบบระบบปิดสมบูรณ์ ภายในโรงเรือนติดตั้งระบบควบคุมตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหาร ความยาวคลื่นแสงและความเข้ม อุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อแก้ไขปัญหาความแปรปรวนของสภาพอากาศและฤดูกาล นอกจากนั้นยังเป็นการป้องกันปัญหาโรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืชได้อีกด้วย ผักที่ปลูกในระบบโรงเรือนอัจฉริยะนี้มีความสมบูรณ์แข็งแรง ปลอดโรค ปลอดสารกำจัดแมลงและวัชพืช จึงเป็นผักที่สะอาด มีความปลอดภัยสูง และมีอายุหลังเก็บเกี่ยวเพื่อจำหน่ายที่ยาวนานขึ้น Screen Shot 2562-02-22 at 18.16.07 Screen Shot 2562-02-22 at 18.18.32

สำหรับงานวิจัยหลักของโครงการนี้ คณะผู้วิจัยได้พัฒนาและทดสอบแหล่งกำเนิดแสงโดยใช้เทคโนโลยีแอลอีดี ที่สามารถเลือกแสงเฉพาะในย่านความยาว คลื่นที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสงเท่านั้น

ผลการวิเคราะห์ผักสลัดด้วย Synchrotron FTIR Microspectroscopy พบว่า การปลูกภายใต้โรงเรือนอัจฉริยะนี้ พืชสะสมคาร์โบไฮเดรตและไฟเบอร์สูงกว่าพืชที่ปลูกในโรงเรือนไฮโดรโปนิกส์ มทส.และพืชที่ปลูกด้วยดิน รวมทั้งยังพบปริมาณคลอโรฟิลล์ในปริมาณที่สูงกว่าทั้ง 2 ระบบดังกล่าว

นายนันทกร บุญเกิดผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบโรงเรือนอัจฉริยะนี้ เป็นงานวิจัยขั้นแรกที่จะนำไปสู่การวิจัยด้านการกระตุ้นพืชด้วยความยาวคลื่นแสงช่วงต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต หรือการกระตุ้นให้เกิดการสร้างสารสำคัญทางชีวภาพมากขึ้น เช่น สารที่มีฤทธิ์ทางยาของพืชสมุนไพร พืชผักหรือผลไม้หลากสี และพืชที่กลิ่นหอม เพื่อเพิ่มมูลค่าการปลูกพืชเศรษฐกิจ หรือพืชมูลค่าสูงได้ อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการปลูก การเก็บเกี่ยว เพื่อให้มียอดการผลิตได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และมีสามารถปลูกพืชนอกฤดูกาลได้

หน้า 8 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3447 วันที่ 24-27 กุมภาพันธ์ 2562

595959859