รมต.เศรษฐกิจอาเซียนลั่น! จับมือกันฝ่าวิกฤติโลก

10 ก.ย. 2562 | 05:09 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ก.ย. 2562 | 06:13 น.

"จุรินทร์"ลั่นอาเซียนบวก 3 พร้อมจับมือฝ่าวิกฤติโลก ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน มั่นใจความสัมพันธ์อันดีจะผลักดันให้การค้า การลงทุนในอาเซียนโต

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานการประชุม เผยว่า ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนบวก 3 (อาเซียนบวกจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) ในวันนี้(10 ก.ย.2562) ถือเป็นความร่วมมือและเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชียตะวันออกให้เติบโตในเศรษฐกิจโลก มีความร่วมมือในหลายมิติ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยของอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนบวก 3 รวมทั้งได้รับการสนับสนุนอย่างใกล้ชิดจากหน่วยงานเอกชนในภูมิภาคอย่างสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก

รมต.เศรษฐกิจอาเซียนลั่น!  จับมือกันฝ่าวิกฤติโลก

 

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน ความสัมพันธ์อันดีทางด้านการค้าการลงทุน ในปี 2561 การค้ารวมของอาเซียนบวก 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.8% จากปีก่อน ในส่วนด้านการลงทุน การลงทุนอาเซียน-ประเทศบวก 3 มีมูลค่า 37.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 24.5 % ของเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าอาเซียน เพิ่มขึ้น 9.9% จากปีก่อน

รมต.เศรษฐกิจอาเซียนลั่น!  จับมือกันฝ่าวิกฤติโลก

โดยวันนี้ได้มีการประชุมกับประเทศคู่ค้า เช่น 1. หารือทวิภาคีอินเดีย 2. ประชุมอาเซียนบวกสาม (จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้) และ 3. หารือ RCEP กับประธาน RCEP-TNC 4. ประชุมอาเซียน-รัสเซีย 5. Working lunch กับรัฐมนตรีเศรษฐกิจ EAS (East Asia Summit) 6. พิธีส่งมอบฐานข้อมูลมาตรการที่มิใช่ภาษี โดย ERIA (economic research institute of asean) 7. ประชุมอาเซียน-อินเดีย 8. ประชุมอาเซียน-แคนาดา และจะมีการมีการแถลงข่าวผลการประชุมในช่วงเย็น

รมต.เศรษฐกิจอาเซียนลั่น!  จับมือกันฝ่าวิกฤติโลก

ทั้งนี้ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน บวก3 (จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้) รัฐมนตรีว่าการกะทรวงพาณิชย์ เผยว่า ตั้งแต่การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาร์เซ็ป และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับคู่เจรจาการค้า มาอย่างต่อเนื่อง ในวันนี้ได้มีการหารือในเรื่องสำคัญกับประเทศคู่ค้า เช่น การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา โดยเริ่มต้นจากการหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับอินเดียเสร็จสิ้นไปตั้งแต่ช่วงเช้า ต่อมาเป็นการประชุมอาเซียนบวก 3 กับประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือเอเชียตะวันออก ต่อด้วยการประชุมอาเซียนกับรัสเซีย อาเซียนกับอินเดีย สุดท้าย คือ อาเซียนกับแคนาดา

รมต.เศรษฐกิจอาเซียนลั่น!  จับมือกันฝ่าวิกฤติโลก

ในกรณีอินเดียนั้นมีประเด็นที่เปิดเผยได้ 2-3 เรื่อง คือไทยและอินเดียเห็นพ้องกันในเรื่องเอฟทีเอไทยกับอินเดียว่าควรจะมีความคืบหน้าไปทิศทางที่ดีเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าระหว่างกันให้เพิ่มเติมขึ้นทั้งนี้เนื่องจากว่าตัวเลข 7 เดือนแรกของปีนี้มูลค่าการค้าขยายตัวแค่ 4.6% ( 4.6% ) ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่แล้วขยายตัวถึง 20% 

ดังนั้นเป็นเหตุผลสำคัญอันหนึ่ง สำหรับไทยที่ส่งออกเครื่องปรับอากาศไปอินเดียจำนวนมากและมีเคมีภัณฑ์ คอมพิวเตอร์รถยนต์และชิ้นส่วนและมีการนำเข้ามาก็คือเครื่องจักรกล เพชรพลอย เวชภัณฑ์ ยา เหล็กและปลาแช่แข็ง ซึ่งในที่ประชุมไทยได้แจ้งให้ทราบว่ามีคณะที่จะเดินทางไปอินเดียเพื่อเจรจาเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันในช่วงวันที่ 24 - 28 กันยายนนี้โดยส่วนหนึ่งมีความตั้งใจที่จะไปเจรจาขายสินค้าทางการเกษตรให้กับอินเดียด้วยไม่ว่าจะเป็นยางพารา ปาล์ม และมันสำปะหลัง

รมต.เศรษฐกิจอาเซียนลั่น!  จับมือกันฝ่าวิกฤติโลก