นายสมศักดิ์ สมานวงศ์ นายกสมาคมอารักขาพืชไทยคนล่าสุด เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เพิ่งได้รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการคัดเลือกในสมาคมที่สมาชิกต่างเห็นพ้องกันที่จะให้ผมขึ้นมาเป็นนายกสมาคมฯ
“ผมก็คิดว่าเมื่อรับตำแหน่งนายกสมาคมจะมาช่วยเกษตรกร และการขับเคลื่อนสมาคม เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ และนำพาเกษตรของประเทศไปสู่ความมั่นคง ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่จะทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า นี่คือในมุมมองของผม”
ส่วนร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครองซึ่งอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. .... นั้นจะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบข้อดีข้อเสีย ยอมรับว่ายังไม่ได้ศึกษา
อนึ่ง ในปี 2525 กลุ่มนักธุรกิจสารเคมีเกษตรได้เห็นความจำเป็นของการมีสมาคมเป็นตัวแทนของ ภาคอุตสาหกรรมนี้ จึงได้ร่วมกันก่อตั้ง สมาคมผู้ประกอบธุรกิจสารเคมีกำจัดศัตรูพืช : ส.ธ.ก. ( Thai Pesticide Association : TPA ) ขึ้น และได้จดทะเบียนตามกฏหมายพระราชบัญญัติสมาคมการค้า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2526 ต่อมาในวันที่ 9 มิถุนายน 2538 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมอารักขาไทย : ( Thai Crop Protection Association : TCPA ) จนถึงปัจจุบัน เพื่อสะท้อนภาพกิจกรรมหลักที่สมาคมดำเนินการอยู่
ในปี 2529 สมาคมอารักขาพืชไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสภาสมาคมผู้ผลิตสารเคมีเกษตร นานาชาติ ( CropLife International ) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นสมาคมเคมีเกษตรในประเทศต่าง ๆ กว่า 50 ประเทศ และในปี 2534 สมาคมอารักขาพืชไทยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสามประเทศ คือ กัวเตมาลา เคนยา และประเทศไทย ในการดำเนินงาน "โครงการปรับปรุงการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย" ( Safe Use Project ) ซึ่งสมาคมได้ดำเนินงานต่อเนื่องอย่างได้ผลตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี 2540 สภาสมาคมผู้ผลิตสารเคมีเกษตรนานาชาติ ได้มีการจัดตั้งสำนักงานภูมิภาค เอเซีย-แปซิฟิค ของตนเองขึ้นมา คือ CropLife Asia ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 14 ประเทศ สมาคมอารักขาพืชไทย จึงได้เข้าเป็นสมาชิกของ CropLife Asia ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน