โลกโคม่าแนะผู้เลี้ยงกุ้งลดการเลี้ยงก่อนเจ๊ง

06 เม.ย. 2563 | 07:10 น.
อัปเดตล่าสุด :06 พ.ค. 2563 | 06:56 น.

​​​​​​​อดีตมิสเตอร์กุ้ง ระบุโลกเผชิญวิกฤติหนักยิ่งกว่าต้มยำกุ้ง ไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไร แนะผู้เลี้ยงกุ้งชะลอการเลี้ยง ชี้กุ้งไม่ใช่อาหารที่จำเป็น

 

โลกโคม่าแนะผู้เลี้ยงกุ้งลดการเลี้ยงก่อนเจ๊ง

 

นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล อดีตมิสเตอร์กุ้งของประเทศไทย และ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กฤษฎา บุญราช)  เผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขณะนี้ผู้เลี้ยงกุ้งอาจได้รับผลกระทบซึ่งจะเลวร้ายยิ่งกว่ายุคเศรษฐกิจล่มสลายจากฟองสบู่แตก ปี 2540 การระบาดของโรค EMS และยิ่งกว่าทุก ๆ เรื่องที่มีผลต่อการเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากสถานการณ์นี้ไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไร ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคชะลอตัว อาทิ สายการบินหยุดการบิน โรงแรม ร้านอาหาร และภัตตาคารปิด การท่องเที่ยวหยุดชะงัก กีฬาโอลิมปิคที่ญี่ปุ่นเลื่อน ธนาคารชาติออกแถลงเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 GDP ของประเทศไทยจะติดลบ 5.3 เปอร์เซ็นต์ ตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี

โลกโคม่าแนะผู้เลี้ยงกุ้งลดการเลี้ยงก่อนเจ๊ง

ถ้าขายกุ้งเนื้อไม่ได้ก็จะส่งผลกระทบมายังผู้เพาะลูกกุ้ง ดังนั้น จึงขอเตือนและแจ้งไปยังผู้ผลิตลูกกุ้ง ต้องลดปริมาณการผลิตลงมากกว่า 50% จากเดิมที่เคยใช้ลูกกุ้งในแต่ละเดือนเฉลี่ยประมาณ 2000 ล้านตัว/เดือน ให้เหลือแค่ 500-700 ล้านตัว/เดือน โดยลดขนาดโรงเพาะฟักให้มีขนาดเล็กลดลงพอเลี้ยงตัวเองและลูกจ้างได้ ยกเว้นหากผู้เลี้ยงกุ้งที่มีตลาดอยู่แล้วก็สามารถทำสัญญาสั่งซื้อลูกกุ้งได้

 

โลกโคม่าแนะผู้เลี้ยงกุ้งลดการเลี้ยงก่อนเจ๊ง

 

ดังนั้น สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการในขณะนี้ผู้เลี้ยงกุ้งต้องเอาตัวให้รอด โดยต้องชะลอหรือหยุดการเลี้ยงกุ้ง เพราะการขายกุ้งทำได้ลำบาก ยุคการเลี้ยงกุ้งที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมีผลผลิตประมาณ 4-5 แสนตัน จะไม่กลับมาอีกแล้ว ประเทศไทยปีนี้มีผลผลิตถึงแสนตันก็เก่งมากแล้ว เนื่องจากตลาดอเมริกาและญี่ปุ่น น่าจะหายไปอย่างมาก ส่วนตลาดจีนยังพอมีความหวังบ้าง แต่ก็มีเปอร์เซ็นต์การนำเข้ากุ้งจากไทยเพียง 10-20%

 

โลกโคม่าแนะผู้เลี้ยงกุ้งลดการเลี้ยงก่อนเจ๊ง

 

ตลาดหลักเรายังเป็นสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ขณะที่ความต้องการภายในประเทศก็มีแนวโน้มลดลง เราต้องเข้าใจกันว่า กุ้งไม่ใช้อาหารที่จำเป็น มีสินค้าโปรตีนประเภทอื่นที่ทดแทนได้กุ้งเป็นสินค้า สำหรับเศรษฐกิจที่ดีคนต้องมีเงินถึงจะกินกุ้งได้ การบริโภคกุ้งภายในประเทศ เดิมมีประมาณ 6-7 หมื่นตันต่อปี เราปิดเมืองปิดการท่องเที่ยว คนซื้อกุ้งจากจังหวัดต่างๆ จึงมีปริมาณลดลงอย่างมากจึงขอสื่อสารในช่วงวิกฤติโรคระบาดขอให้เลี้ยงกุ้งน้อยลง อยู่กับบ้าน ท่านจะปลอดภัยจากโควิด-19 ประเทศชาติจะมั่นคง ปลอดภัย

 

โลกโคม่าแนะผู้เลี้ยงกุ้งลดการเลี้ยงก่อนเจ๊ง

 

นายครรชิต เหมะรักษ์  ประธานเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในวันพรุ่งนี้ (7 เม.ย.63) เป็นวันชี้ชะตาอนาคตกุ้งไทยจะหยุด หรือได้สิทธิ์ไปต่อจากวิกฤติโควิด-19  มี 3 ข้อในขณะนี้ก็คือ 1.เกษตรกรต้องมีความมั่นใจว่ากุ้งที่มีอยู่ 3 เดือนข้างหน้า(เม.ย-มิ.ย63)มีผู้ซื้อและราคากุ้งที่ขายต้องสูงกว่าต้นทุนการผลิต 2.เมื่อมีความมั่นใจจากข้อ1.ก็จะตัดสินใจปล่อยลูกกุ้งต่อในเดือนเม.ย. และ พ.ค.63  แต่ 3.หากไม่มั่นใจในข้อ1. เกษตรกรจะไม่ปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงในเดือน เม.ย.63 ก็จะส่งผลให้เดือน ก.ค. และ ส.ค. ไม่มีผลผลิตกุ้ง ซึ่งจะห่วงโซ่อุตสาหกรรมกุ้งก็จะขาดทันทีคำถาม?แล้วจะต้องทำอย่างไรในวิกฤตนี้!! รอฟังคำตอบ

 

โลกโคม่าแนะผู้เลี้ยงกุ้งลดการเลี้ยงก่อนเจ๊ง