(คลิป) ว๊าวมากๆ "เมืองการบินอู่ตะเภา" โฉมใหม่ สมาร์ท แอร์พอร์ต ของไทย

24 มิ.ย. 2563 | 23:35 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มิ.ย. 2564 | 12:11 น.

บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด เผยคลิป VDO โฉมหน้า "เมืองการบินอู่ตะเภา"สมาร์ท & กรีน แอร์พอร์ต รับ 60 ล้านคน มีรถไฟความเร็วสูงเป็นเซ็นเตอร์เชื่อม 3 สนามบิน

บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด และอีอีซี เผย คลิป VDO แสดงให้เห็นถึงโฉมหน้าของการพัฒนาโครงการสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ที่จะพัฒนาใน คอนเซ็ปต์ สมาร์ท แอร์พอร์ต และ กรีน แอร์พอร์ต รองรับผู้โดยสารสูงสุด 60 ล้านคน บนพื้นที่6,500ไร่ ของกองทัพเรือ
    
  โครงการสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่เป็นการต่อยอดความสำเร็จมาจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก(อีสเทิร์น ซี บอร์ด)
         โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็น “สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ” เพื่อพัฒนาไปสู่ประตูเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เชื่อมต่อสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิด้วย รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทำให้ทั้ง 3 สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี

(คลิป) ว๊าวมากๆ \"เมืองการบินอู่ตะเภา\" โฉมใหม่ สมาร์ท แอร์พอร์ต ของไทย

โครงการ พัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก
มีองค์ประกอบหลักที่ทางรัฐดูแล ประกอบด้วย  ทางวิ่งมาตรฐาน 2 ทางวิ่ง มีความยาว 3,500 เมตร ซึ่งสามารถให้อากาศยานขึ้นลงทั้ง 2 ทางวิ่งอย่างอิสระต่อกัน และสามารถรองรับเครื่องบินพาณิชย์ได้ทุก ขนาด โดยมีหลุมจอด อากาศยานรวมทั้งสิ้น 124 หลุมจอด ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO Complex) ระยะแรก 500 ไร่ 
    รวมทั้งงานสนับสนุนอื่นๆ บนพื้นที่ ขนาด 1,400 ไร่  ประกอบด้วย ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน 
      ส่วนองค์ประกอบหลักที่ทางภาคเอกชนดูแล ประกอบด้วย ส่วนของอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 3 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จทุกระยะแล้ว จะมีขนาดพื้นที่กว่า 450,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 60 ล้านคนต่อปี ภายในอาคารมีการติดตั้งระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทันสมัย 

(คลิป) ว๊าวมากๆ \"เมืองการบินอู่ตะเภา\" โฉมใหม่ สมาร์ท แอร์พอร์ต ของไทย
     เช่น ระบบการ Check-in อัตโนมัติ (Smart Airport) ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automate People Mover, APM)  คลังสินค้า , Cargo Village และ Free Trade Zone ที่มีขนาดพื้นที่กว่า 470,000 ตารางเมตร ประมาณการขีดความสามารถรองรับการขนส่งสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ากว่า 3 ล้านตันต่อปี
     ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดิน (Ground Transportation Center, GTC) มีขนาดพื้นที่กว่า 30,000 ตารางเมตร เพื่อให้การเดินทางในรูปแบบต่างๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง รถบัส แท็กซี่ สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ได้อย่างรวดเร็วและไร้รอยต่อ พื้นที่กิจกรรมด้านอุตสาหกรรมการบินที่เกี่ยวข้อง
     นอกจากองค์ประกอบหลักดังกล่าวแล้ว ยังมีองค์ประกอบที่ดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์และส่งเสริมการเป็น Aviation Hub ของโครงการฯ คือ Commercial Gateway ขนาดพื้นที่กว่า 400,000 ตารางเมตร จัดเป็นพื้นที่ร้านค้าปลอดภาษี ร้านค้าและภัตตาคาร โรงแรม รวมทั้ง Business Park และ Airport City ซึ่งมีขนาดพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางเมตร ประกอบด้วย ศูนย์การค้า ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า อาคารพักอาศัยและอาคารสำนักงาน เป็นต้น