ศูนย์วิจัยกรุงไทย คอมพาส(Krungthai COMPASS) ธนคารกรุงไทย(KTB) ระบุในเอกสารเผยแพร่ว่าโครงการ"เราเที่ยวด้วยกัน" จะช่วยหนุนเม็ดเงินท่องเที่ยว 3.55-6.17 หมื่นล้านบาท ผ่านการสนับสนุนบประมาณโดยภาครัฐกว่า 22,400 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็น โครงการที่มีมูลค่าเป็นสัดส่วนกว่า 89% ของแพ็คเกจกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งหมด
ทั้งนี้ Krungthai COMPASS ได้ประเมินเม็ดงินท่องเที่ยวจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายใต้โครงการดังกล่าว เป็น 2 กรณี ดังนี้
1 Base Cas คนใช้จ่ายค่าที่พักตามปกติ : Krungthai COMPASS ประเมินว่า หากไม่รวมค่าใช้จ่ายของการเดินทางด้วยเครื่องบิน ผลของมาตรการ "เราเที่ยวด้วยกัน" จะก่อให้เกิดเม็ดเงินสะพัดไปยังธุรกิจบริการท่องเที่ยวมูลค่ประมาณ 3.55 หมื่นล้านบาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายด้านที่พักที่มูลค่า 1.13 หมื่นล้านบาท
2 Best Cas คนจ่ายคำที่พักแพงสุดเท่าที่จะได้รับส่วนลดจากมาตรการ (ต้องจ่ายค่าห้องพัก 7,500 ต่อคืน จึงจะได้ส่วนลดเต็มอัตราที่ 3,000 บาทต่อคืน) ในกรณีนี้ประเมินว่า หากไม่รวมค่าใช้จ่ายของการเดินทางด้วยเครื่องบิน จะก่อให้เกิดดเงินสะพัดไปยังธุรกิจบริการท่องเที่ยวมูลค่าประมาณ 6.17 หมื่นล้านบาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายด้านที่พักที่มูลค่า 3.75 หมื่นล้านบาท
โดยภาพรวมจะชดเชยรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปได้เพียง 3.7-6.4% แม้เราประเมินว่ามาตรการอุดหนุนการท่องเที่ยวในประเทศของภาครัฐจะทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 3.6 - 6.2 หมื่นล้านบาท แต่หากเทียบกับรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะหายไปกว่า 9.5 แสนล้านบาทในช่วงครึ่งปีหลัง
ข่าวเกี่ยวข้อง
เล็งเปิด "เราเที่ยวด้วยกัน" เฟส2 ชงครม.สิงหาคมนี้
ทั้งนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวถือเป็นรายได้หลักของเศรษฐกิจไทย โดยในปี 62 มีสัดส่วนถึง 16% ของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP โดยเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 10% ของ GDP ซึ่งคิดเป็น 61% จากรายได้ท่องเที่ยวทั้งหมด
ขณะที่ใน 63 นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถมาเที่ยวไทยได้ เนื่องจากสถานการณ์การระบาด ของโควิด- 19 ทำให้ Krungthai COMPASS ประเมินว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะหดตัวถึง 80% หรือมีจำนวน 8.1 ล้านคน ซึ่งลดลงจากปี 62 ที่มีจำนวน 39.8 ล้านคน