นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า กรมราชทัณฑ์ ประกาศยกเว้นภาษีผู้ประกอบการที่รับผู้พ้นโทษเข้าทำงานเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนให้นายจ้างที่เป็น บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เกิดการจ้างงาน ผู้พ้นโทษเข้าทำงาน โดยสามารถนำรายจ่ายที่เป็นค่าจ้างแรงงานผู้พ้นโทษมายกเว้นภาษีเงินได้ เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่าย
ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกามาตรการเว้นภาษีการจ้างงานผู้พ้นโทษ กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับผู้พ้นโทษซึ่งได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีเข้าทำงาน สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษเฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ราชทัณฑ์เร่งพักโทษผู้ต้องหาผ่านเกณฑ์ลดแออัด8,000ราย
กรมราชทัณฑ์งดเยี่ยมญาติต่ออีก 1 เดือน
ยกเว้นภาษีหนุนการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย
กรมภาษี คุย เพิ่มเงินลงระบบศก.มากกว่า 200,000 ล้านบาท
ซึ่งการยกเว้นภาษีในครั้งนี้ เฉพาะรอบระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 2563 นี้เท่านั้น
สำหรับนายจ้างที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ จะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลเท่านั้น และต้องมีการจ้างงานผู้พ้นโทษเข้าทำงาน โดยผู้พ้นโทษจะต้องเป็นนักโทษเด็ดขาดที่พ้นโทษครบกำหนดตามหมายศาล หรือเป็นนักโทษที่มีหนังสือสำคัญพักการลงโทษกรณีปกติ หนังสือสำคัญพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ หรือหนังสือสำคัญการปล่อยตัวลดวันต้องโทษจำคุก ซึ่งจะต้องเป็นผู้พ้นโทษที่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีเท่านั้น
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เกิดการจ้างงานผู้พ้นโทษ อันจะก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้แก่ผู้พ้นโทษ ซึ่งจะช่วยลดการกระทำผิดซ้ำ สอดคล้องกับภารกิจกรมราชทัณฑ์ที่นอกจากการควบคุมผู้ต้องขังแล้ว ยังมีหน้าที่ในการแก้ไขและพัฒนาพฤติกรรม นิสัยของผู้ต้องขังให้เป็นผู้ที่มีทักษะ มีความสามารถ เพื่อให้ผู้พ้นโทษได้มีงานมีรายได้ สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ภายหลังพ้นโทษ ไม่หันมาก่อความผิดซ้ำ