ยื่นหนังสือทบทวนมติแบน “พาราควอต”

17 ส.ค. 2563 | 04:45 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ส.ค. 2563 | 10:11 น.

​​​​​​สมาคมวิทยาการวัชพืชฯ ยื่นหนังสือทบทวนมติแบนพาราควอต จับโป๊ะแตกงานวิจัยอ้างบิดเบือนทั้งใน-ต่างประเทศ ทั้งยังไม่มีสารทดแทนใช้ ยิ่งทำให้เกิดความขัดแย้งสังคมบานปลาย เผยสถานีต่อไป ก.เกษตรฯ 21 ส.ค.

การประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย (30 เม.ย.63) โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน และมีกรรมการเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 25 คน จากทั้งหมด 28 คน จึงมีองค์ประชุมครบตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2563 มีมติให้ “พาราควอต” และ “คลอร์ไพริฟอส” ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.63 ส่วน “ไกลโฟเซต” ให้จำกัดการใช้ตามมติ วันที่ 23 พ.ค.61

ทีมสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย

 

ล่าสุด วันที่ 17 สิงหาคม 2563 ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า  ได้เดินทางไปยื่นหนังสือกับอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการวัตถุอันตราย ขอเรียกร้องให้ทบทวนมติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ยกเลิกการใช้พาราควอต สืบเนื่องจาก เอกสารที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ใช้อ้างว่าเป็น รายงานการประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาความคิดเห็นส่วนรัฐ ผู้นำเข้า เกษตรกรและผู้บริโภค ต่อการยกเลิกคลอร์ไพรีฟอส พาราควอต และไกลโฟเซต ครั้งที่1/2562 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562  นั้นกลายเป็น “รายงานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาแนวทางการควบคุมการใช้สารในภาคเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร : ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม :พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพรีฟอส” ไม่ใช่รายงานการประชุม ประกอบกับเนื้อหาในเอกสารดังกล่าวอ้างอิงถึงงานวิจัยทั้งในและต่างประเท ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพาราควอต แต่ทางสมาคมได้ตรวจสอบข้อมูลจากเอกสารวิจัยต้นฉบับเหล่านั้น พบว่า มีการสรุปเนื้อหาไม่ตรงกับผลงานวิจัยต้นฉบับ

 

นอกจากนี้การเก็บตัวอย่างตะกอนดินและน้ำ ของนักวิจัย ที่มาใช้ในประกอบการแบน ผลตรวจวิเคราะห์ในข้อมูลเอกสาร ไม่พบการตกค้างของพาราควอต แต่พบเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเนื้อเน่าทั้งในตะกอนดินและน้ำที่อ้าง ผลการศึกษาที่กล้าววอ้าง ได้ทดลองศึกษาความตกค้าง ตามงานวิจัยของนักวิชาการไทยท่านหนึ่งที่ได้เผยแพร่ข้อมูลไปทางสื่อต่างๆ หลายฉบับ เมื่อนำผลงานของท่านดังกล่าวมาพิจารณาก็พบว่า ผู้วิจัยท่านนั้นใช้ค่ามาตรฐานน้ำดื่มสากลผิดจากความเป็นจริง เช่น ค่ามาตรฐานที่ถูกต้องของพาราควอตในน้ำดื่มออสเตรเลีย คือ 20 ไมโครกรัมต่อลิตร (ppb) แต่อ้างตัวเลข ไมโครกรัมต่อลิตร (ppb) มาเปรียบเทียบ ทำให้สังคมเกิดความตื่นตระหนก และเป็นจุดเริ่มต้นในการแบนพาราควอต

สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือต่ออธิบดีกรมโรงงาน

 

ยังไม่นับประเด็นที่ประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง ได้รับจดหมายตอบเป็นทางการ โรงพยาบาลพหลพยุหเสนา ว่า ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการศึกษาในครั้งนี้”  ส่วนโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์  ยืนยันว่า “ไม่พบข้อมูลการดำเนินการเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด”  ขณะที่โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ตอบว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 7 ปี ซึงผู้บริหารและบุคลากรมีการเปลี่ยนแปลง จากข้อมูลดังกล่าวนี้ทำให้ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือและไม่สมควรถูกนำมาใช้ในการแบนพาราควอต เพราะทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม และยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้และเศรษฐกิจของประเทศในวงกว้าง

ยื่นหนังสือทบทวนมติแบน “พาราควอต”

 

ดร.จรรยา กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีสารทดแทนที่มีคุณสมบัติ ประสิทธิภาพ และราคาเทียบเท่าพาราควอต ให้เกษตรกรใช้เป็นทางเลือก มีแต่ผลงานวิจัย “โครงศึกษาวิธีการจัดการวัชพืชแบบบูรณาการเพื่อลดปริมาณการใช้สารไกลโฟเซตและพาราควอต ในพืชเศรษฐกิจ” ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.ตามมาตรการและแผนการบริหารจัดการจำกัดการใช้วัตถุอันตราย พาราควอต ไกลโฟเซต และพาราควอต ของกรมวิชาการเกษตร เสนอต่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย 30 สิงหาคม 2561 ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเริ่มต้นดำเนินการในปีที่2 คาดว่าจะสิ้นสุดภายในปี 2564 ปัจจุบันยังไม่มีชีวภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนถูกตกับกรมวิชาการเกษตร สำหรับให้เกษตรกรใช้กำจัดวัชพืช มีแต่ชีวภัณฑ์ปลอมปนด้วยสารพาราควอต และไกลโฟเซต

 

อย่างก็ดีทางสมาคมได้สำรวจความคิดเห็นทางออนไลน์ จำนวน เกษตรกร 432 ราย (มีหลักฐานบัตรประชาชนกรอก) ถึงผลกระทบหลังการแบนพาราควอต ระหว่างวันที่ 8-16 สิงหาคม 2563  (ยังเปิดรับฟังอยู่) ซึ้งเสียงส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าให้ทบทวนการแบนมติยกเลิกการใช้ "พาราควอต" โดยกลับไปอนุญาตให้ใช้พาราควอตแบบจำกัดการใช้ ตามมติของบอร์ดวัตถุอันตรายวันที่ 23 พ.ค.61 เช่นเดียวกับ “ไกลโฟเซต”

 

ยื่นหนังสือทบทวนมติแบน “พาราควอต”

 

หากจะยกเลิกการใช้พาราควอตในประเทศไทย ด้วยเหตุผลว่าปริมาณเพียงเล็กน้อย รัฐบาลไม่ควรอนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศที่ยังมีการใช้พาราควอต ถึงแม้ว่าสินค้าเหล่านั้นจะมีค่าตกค้างของพาราควอตไม่เกินค่ามาตรฐานโคเด็กซ์ (codex) ก็ตาม 

 

ดร.จรรยา กล่าวว่า ในวันที่ 21 ส.ค.นี้จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย