นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท เป็นผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สถานการณ์ราคายาง ณ วันที่ 1 กันยายน 2563 ราคา "ยางแผ่นรมควันชั้น 3" ปรับขึ้นยกแผง ได้แก่ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ราคาบวก 1.80 บาท/กิโลกรัม ทำให้ราคา 60.05 บาท/กิโลกรัม ,สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานี ราคาปรับขึ้น 1.66 บาท ทำให้ราคายาง 60.05 บาท/กิโลกรัม เช่นเดียวกับสำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช ปรับขึ้น 1.80 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลทำให้ราคา ปรับที่ 60.05 บาทต่อกิโลกรัม สูงสุดในรอบ 3 ปี สอดรับกับ ตลาดล่วงหน้า ยางแผ่นรมวัน (เอฟโอบี) ปรับราคาขึ้น 1.40 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาปรับขึ้นเป็น 62.90 บาทต่อกิโลกรัม เช่นเดียวกับ "น้ำยางก้อนถ้วย" (อีสาน) ปรับขึ้น 0.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นราคา 38 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนน้ำยางสด ปรับขึ้นมา 1 บาท ทำให้ราคาอยู่ที่ 45 บาทต่อกิโลกรัม
ส่วนราคาราคายางแท่ง 1 ก.ย. 2563 แบ่งเป็น STR20(ไทย) ราคาอยู่ที่ 46.45 บาทต่อกิโลกรัม ปรับราคาจากเมื่อวาน บวก 0.70 บาทต่อกิโลกรัม TSR-20(สิงคโปร์) ราคาอยู่ที่ 41.18 บาทต่อกิโลกรัม บวกเพิ่มจากเมื่อวาน0.34 บาท ต่อกิโลกรัม และSMR20 (มาเลเซีย ) ราคาอยู่ที่ 40.74 บาทต่อกิโลกรัม ราคายางทรงตัว
นายณกรณ์ กล่าวว่า สถานการณ์ราคายางขยับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ต้องขอขอบคุณรัฐบาล นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน แทนพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ให้ความสำคัญและผลักดันราคายางพารามาตลอด กระทั่งในวันนี้ราคายางสูงขึ้นกว่า 60 บาท/กก. ช่วยแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งใจไว้
อนึ่ง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รายสถานการณ์ยางพารา วันที่ 1 ก.ย. 2563 ราคากลางยางพารา ยางแผ่นดิบอยู่ที่ 54.98บาท/กก. ยางแผ่นรมควันอยู่ที่ 58.29บาท/กก. ส่วนราคาประมูลเฉลี่ย ณ ตลาดกลาง ยางพารายางแผ่นดิบอยู่ที่ 55.83บาท/กก. ราคายางแผ่นรมควัน อยู่ที่ 60.05บาท/กก.ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเงินเยนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐรวมถึงนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากตลาดพุ่งขึ้นมาในช่วงที่ผ่านมา
เมื่อพิจารณาตลอดเดือน ส.ค.พบว่าดัชนีดาวโจนส์ท้าสถิติแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 36 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากไวรัส โควิด-19 ราคายางล่วงหน้าญี่ปุ่นปรับเพิ่ม สินค้ายุทธภัณฑ์ ถุงมือยาง ยางยืด สินค้ามีความต้องการมากขึ้น ประกอบกับพายุฝนตกหนักในประเทศผู้ผลิตยางแรงงานกรีดและผลิตยางแห้งขาดแคลนเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายาง อย่างไรก็ตามจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า เมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ราคาน้ามันที่ปรับตัวลดลงยังคงเป็นปัจจัยกดดันราคายางในระยะนี้