น.ส. นิธิมา ศิริโภคากิจ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองไมอามี ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า จากกระแสความนิยมบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพในตลาดสหรัฐฯ ทำให้ ผู้ประกอบการสินค้าเครื่องปรุงรสในตลาดหันไปพัฒนาสินค้าทั้งด้านรสชาติและประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่มยอดการจำหน่ายสินค้า โดยผู้ประกอบการแต่ละรายต่างมีกลยุทธ์ การทำตลาดที่แตกต่างกัน เช่น การเพิ่มผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ในน้ำจิ้มหรือซอส การเพิ่มสารอาหารที่มี สรรพคุณต่อสุขภาพ และการปรับสูตรการผลิตสินค้าให้ตรงตามแนวโน้มด้านสุขภาพที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่ม ผู้บริโภคในปัจจุบัน เป็นต้น
โดยจากข้อมูลการสำรวจด้านอาหารและสุขภาพของคณะกรรมการมูลนิธิด้านข้อมูลอาหาร ระหว่างประเทศ (The International Food Information Council Foundation หรือ IFIC) พบว่า ผู้บริโภค ชาวอเมริกันบางส่วนยังมีเป้าหมายที่จะบริโภคผักและผลไม้เพิ่มเป็นอาหารมากขึ้นด้วย อีกทั้งเมื่อสอบถามถึง แนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า แนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค ชาวอเมริกันที่เปลี่ยนไป ได้แก่ แนวโน้มการลดปริมาณบริโภคน้ำตาล แนวโน้มการลดปริมาณการบริโภคแป้ง และ คาร์โบไฮเดรต และแนวโน้มการบริโภคผักและผลไม้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการในตลาดเองก็ได้พยายามที่จะ ตอบสนองแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคดังกล่าว
อย่างไรก็ตามสินค้าเครื่องปรุงรสส่งออกจากไทยไปสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า ภายใต้โครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป ( จีเอสพี) ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดอายุลงในวันที่ 31 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ โดยคาดว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะเริ่มกระบวนการพิจารณาต่ออายุโครงการดังกล่าวอย่างเร็ว ที่สุดหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงปลายปีนี้ และน่าจะใช้เวลาอย่างเร็วที่สุดราว 6 เดือน – 1 ปี ซึ่ง ปัจจัยดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ ได้ในระยะสั้น
โดยในแต่ละปีไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่ม อาหารและเครื่องดื่มไปสหรัฐฯ เป็นมูลค่าเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พบว่า กลุ่มสินค้าเครื่องปรุงรสของสหรัฐฯ มีขนาดตลาด ทั้งสิ้น 2.64 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าเครื่องปรุงสำหรับประกอบอาหาร 36.76% ซอสสำหรับวางบนโต๊ะอาหาร 33.65% น้ำจิ้ม 15.91% อาหารหมัก 9.91% ซอสมะเขือเทศและซอสอื่น ๆ 2.34% โดยคาดว่า ตลาดสินค้าดังกล่าวจะมีแนวโน้มขยายตัวเป็นมูลค่าตลาดทั้งสิ้น 3.05 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันสินค้ากลุ่มเครื่องปรุงรสไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวใน ตลาดสหรัฐฯ อยู่แล้วก็ตาม ผู้ประกอบการไทยในตลาดควรที่จะศึกษาแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในตลาด อย่างสม่ำเสมอเพื่อเตรียมความพร้อมปรับตัวตามแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปและรักษาฐาน ตลาดส่งออกสินค้าไทยอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของ ผู้บริโภค เช่น การลดปริมาณ น้ำตาลในสินค้ากลุ่มน้ำจิ้ม และซอสต่าง ๆ เป็นต้น