วันที่ 16 พ.ย. จากกรณีที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้โอนเงิน ประกันรายได้ข้าว ให้กับเกษตรที่ได้รับสิทธิ์ในปีการผลิต 2563/2564 มีประมาณกว่า 4 ล้านราย ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยประกันรายได้ให้แก่เกษตรผู้ปลูกข้าวทั้งหมด 5 ชนิด
1.ข้าวเปลือกหอมมะลิ
2.ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่
3.ข้าวเปลือกเจ้า
4.ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี
5.ข้าวเปลือกเหนียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กที่นี่ ! ตรวจสอบเงินประกันรายได้ข้าว - ประกันรายได้ยาง
เงินเข้าแล้ว “ประกันรายได้ข้าว” โวย ธ.ก.ส. เงินได้ไม่ครบ
ทำความรู้จักแอปฯ “ธ.ก.ส.A-Mobile” “เช็กเงินประกันรายได้ข้าว”
เปิดรายละเอียด ธ.ก.ส.สินเชื่อสานฝัน กู้ได้สูงสุด 1 ล้านบาท
“ประกันรายได้ข้าว” ตรวจสอบสถานะ ธ.ก.ส. จ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกร เช็ก chongkho.inbaac.com
โดยการโอนเงิน ประกันรายได้ข้าว ยึดหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันรอบที่ 1 ซึ่งในวันนี้ (16 พ.ย.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.เริ่มจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวรอบที่ 1 เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตรวจสอบสิทธิ์ของตนเองที่ขึ้นทะเบียนไว้ต้องตรงกับบัญชีที่เปิดไว้กับ ธ.ก.ส. เพื่อได้รับสิทธิ์อย่างเต็มที่และรวดเร็ว
อย่างไรก็ตามความคืบหน้าโอนเงิน "ประกันรายได้ข้าว" ให้กับเกษตรกร ทาง ธ.ก.ส. ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร ได้กำหนดวันโอนเงินอย่างเป็นทางการ รายละเอียดมีดังนี้
ปลูกข้าว (นาปี) ของ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร
นอจากนี้ ธ.ก.ส.สาขาลานกระบือ ได้ขอความร่วมมือลูกค้าที่มาใช้บริการในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ดังนี้
1. ลูกค้าที่มีบัตร ATM สมารถถอนเงินที่ตู้ ATM ทุกธนาคารได้ตลอดเวลา
2. ลูกค้าที่ไม่มีบัตร ATM และมีความประสงค์จะถอนเงินหน้าเคาน์เตอร์ของธนาคารให้มาถอนเงินตาม แผนการจ่ายเงินที่กำหน เพื่อปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด
3. เกษตรกรที่ได้รับเงินงวดที่ 1 (รอบที่ 1) จะเป็นผู้ที่มีวันเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวปีการผลิต 2563/64 ที่ระบุวันเก็บเกี่ยวจนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ถึงวันเก็บเกี่ยวจะมีรอบการโอนครั้งต่อไป
4. ขอความร่วมมือลูกค้าเนื่องจากยังคงมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทางธนาคาร จึงขอความร่วมมือกรณีเกษตรกรลูกค้าท่านใดที่ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน สามารถถอนหรือตรวจสอบยอดภายหลังแผนการจ่ายได้ตลอดในสัปดาห์ถัดไป
ขณะที่ นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 (รอบที่ 1) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว โดยกลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติ ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณ 18,096 ล้านบาท จำนวนเกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์กว่า 4.04 ล้านราย โดยประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด
กรณีเกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด จะได้สิทธิไม่เกินจำนวนสูงสุดของข้าวแต่ละชนิด และ เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด โดยมีการกำหนดราคาอ้างอิงและระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 ตุลาคม 2563 (ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564) ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงครั้งแรกวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่างตามโครงการฯ ความชื้นข้าวเปลือกแต่ละชนิด ไม่เกิน 15% โดย ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ได้ชดเชยส่วนต่างราคาประกันข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 2,911.17 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 2,137.45 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 1,222.36 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 1,066.96 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 2,084.34 บาท มีเกษตรกรที่มีคุณสมบัติถูกต้องได้รับเงินทั้งสิ้น 871,869 ราย เป็นเงิน 9,298 ล้านบาท จากนั้นจะประกาศราคาอ้างอิงทุก ๆ 7 วัน จนถึงวันสิ้นสุดโครงการฯ