นายมณเฑียร อินทร์น้อย ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา (อสป.) เปิดเผยว่า ปี 2564 เตรียมเสนอแผนพัฒนาสะพานปลา อสป. ที่มีจำนวน 18 แห่งทั่วประเทศ ให้เป็นตลาดปลาทันสมัย รองรับธุรกิจทั้งค้าขายสินค้าประมง และรองรับนักท่องเที่ยวภายใต้นโยบายย้ายทะเลขึ้นเหนือ ภายใต้งบประมาณ 15,000 ล้านบาท หรือ งบลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อแห่งโดยการเตรียมแก้ พระราชบัญญัติองค์การสะพานปลา พ.ศ.2525 เพื่อให้มีการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อสามารถดำเนินการ เป็นเทรดเดอร์ สามารถซื้อขายสัตว์น้ำได้ และต้องดำเนินการเพื่อบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่าสูงสุด เพื่อเป้าหมายกระจายหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อย และนำแปรรูปเป็นเอกชน เพื่อเข้าบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.)
“งบประมาณที่จะลงทุน 15,000 ล้านบาท จะสร้างสะพานปลาใน 5 จังหวัดทั่วประเทศใน 5 จังหวัด อาทิ เชียงใหม่ ขอนแก่น เชียงราย พิษณุโลก เป็นต้น จะใช้วิธีการเดียวกับ กลยุทธ์การทำงานปี 2563 คือบริหารสินทรัพย์ที่มี ร่วมกับคู่ค้า พันธมิตร ร้านค้า ที่ต้องการร่วมลงทุนกับ อสป. โดยการเก็บเงินเหมือนเงินดาวน์ เงินเกี๋ยว มาใช้ก่อน เพื่อลงทุนร่วมกัน”
นายมณเฑียร สำหรับปี 2564 คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ หลักหักค่าใช้จ่ายประมาณ 100 ล้านบาท ด้วยกลยุทธ์ การบริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ นำสะพานปลาที่มีมาพื้นฟู โดยใช้โมเดล ท่าเทียบเรือประมงอ่างศิลา มาใช้กับทุกสะพานปลาทั่วประเทศ เพื่อให้แต่ละแห่งสามารถสร้างกำไรให้ อสป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เตรียมเปิดตลาดปลากลางทะเลแห่งแรกในไทย
20 ส.ค.จับฉลากล็อกแผงตลาดปลากลางทะเลแห่งแรก
สำหรับท่าเทียบเรือประมงอ่างศิลา ตั้งอยู่ริมทะเล หมู่ที่ 4 ตำบลอ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี โครงการนี้จะพัฒนาเป็นตลาดสินค้าสัตว์น้ำที่มีมาตรฐานถูกสุขอนามัย เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร และสินค้าประมง ยกระดับรายได้อาชีพชาวประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์และผู้ค้าสัตว์น้ำในชุมนุม ส่งเสริมเศรษฐกิจเป็นแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 328 ร้านค้า คาดว่าเปิดดำเนินการในเดือนม.ค.2564 ส่วน ปี 2563 อสป.มีรายได้กว่า 200 ล้านบาท หลังหักค่าใช้จ่าย มีกำไรสุทธิ 25 ล้านบาท เป็นกำไรสูงสุดในรอบ 20 ปี หลังจากเข้ารับตำแหน่งเมื่อไตรมาส 2 ปี 2562 ที่เป็นยุค ที่อสป.ถูกตัดงบประมาณจากภาครัฐ เนื่องจากปี2561-2562 เบิกจ่ายงบประมาณได้เพียง 26% ของงบทั้งหมด
ดังนั้นเมื่อเข้ารับตำแหน่งในช่วงที่ถูกตัดงบประมาณ สิ่งที่ต้องดำเนินการคือปรับโครงสร้างการทำงาน เน้นธุรกิจที่เป็นรายได้ของก็คือ บริหารสะพานปลา เป็น ศูนย์กลางให้ชาวประมงซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำ ที่มี 18 แห่งทั่วประเทศ ส่งผลให้สัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็น 45% รายได้จากค่าเช่าพื้นที่ 30% และรายได้อื่นๆอีกประมาณ 25% จากแผนปี 2563 อสป.ตั้งประมาณการกำไรไว้ที่ 6 ล้านบาท หลังจากมีสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อสป.ก็ปรับประมาณการขาดทุนประมาณ 20 ล้านบาท แต่หลังจากผมเข้ามารับตำแหน่งได้รื้อโครงสร้างการทำธุรกิจ โดยสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้กับสะพานปลาที่มี ส่งผลให้พลิกจากขาดทุนเป็นกำไรสุงสุดในรอบ 20 ปี