หลังจากการบินไทยหยุดทำการบินเส้นทางบินในประเทศมาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา จากโควิด-19 และหลังการคลายล็อกดาวน์ก็สนับสนุนให้สายการบินไทยสมายล์ทำการบินแทนในเส้นทางที่การบินไทยเคยทำการบินอยู่ แต่ล่าสุดการบินไทย เตรียมจะกลับมาบินในประเทศอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม2563-วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
รายงานข่าวจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)ระบุว่า การบินไทยจะกลับมาเปิดบินในประเทศ 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.ให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศเฉพาะเส้นทางกรุงเทพฯ (สนามบินสุวรรณภูมิ) - เชียงใหม่ และ 2.เส้นทางบินกรุงเทพฯ (สนามบินสุวรรณภูมิ) - ภูเก็ต
ทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าว การบินไทย จะทำการบิน จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ให้บริการในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ด้วยเครื่องบินแบบโบอิ้ง 777-200ER
เส้นทางกรุงเทพฯ(BKKเชียงใหม่(CNX)/เชียงใหม่-กรุงเทพฯ ได้แก่ TG108 (WE5108) BKK 1210 น.- CNX 13.30 น./TG109 (WE5109) CNX 14.30น. - BKK 15.55 น.
เส้นทางกรุงเทพฯ(BKK)-ภูเก็ต(HKT)/ภูเก็ต-กรุงเทพฯ ได้แก่TG205 (WE5205) BKK 12.05 น.- HKT 13.30น. /TG206 (WE5206) HKT 14.20 น.- BKK 15.45 น.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
การบินไทย เผย ตารางบินใหม่ เปิด 10 เส้นทางบินไตรมาสแรกปี64
“การบินไทย” เปิดจองเที่ยวบิน “บินรับพรปีใหม่” สวดมนต์รับพลังบวก
DN การบินไทย “วิวัฒน์ ปิยะวิโรจน์” ยื่นลาออก มีผล 1 ธันวาคมนี้
ครัวการบินไทย เปิด Kiosk แห่งแรก"ขายปาท่องโก๋การบินไทย"
"การบินไทย" ร่วมใจจาก ลดรายจ่ายได้ 300 ล้านต่อเดือน ปีหน้าพนักงานเหลือ1.57หมื่นคน
ทั้งนี้จากการตรวจสอบเบื้องต้น ณ วันนี้สามารถจองบัตรโดยสารได้จากเว็บไซต์ www.thaismileair.com เพราะได้ทำโค้ดแชร์ร่วมกัน
ส่วนในเว็บไซต์ของการบินไทยคาดว่าจะเปิดให้จองในลำดับถัดไป
นอกจากนี้การบินไทย ยังจะเร่งหารายได้จากธุรกิจคาร์โก้เพิ่มขึ้น โดยยังคงจะร่วมมือกับ 3 กระทรวง คือ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อกระตุ้นการขนส่งผักและผลไม้ ซึ่งสร้างรายได้ให้เกษตรกร ภาคส่งออกและการบินไทยเองด้วย
เนื่องจากที่ผ่านมาการบินไทยขนส่งผักและผลไม้ตามฤดูกาล โดยจัดราคาขนส่งถูกพิเศษเพื่อสนับสนุนการส่งออก และช่วยกระจายสินค้าไปต่างประเทศ ซึ่งเป็นอีกธุรกิจที่ได้รับการตอบรับดี เพราะที่ผ่านมาการบินไทยได้ขนส่งสินค้าไปหลายประเทศ เช่น มะม่วง ได้รับการตอบรับอย่างดีจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฮ่องกง
รวมทั้งได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อขอข้อมูลแนวโน้มการส่งออกสินค้าผักและผลไม้ปี 2564 เพราะปัจจุบันการบินไทยทำการบินกึ่งพาณิชย์ โดยมีจุดหมายปลายทางเพิ่ม อาทิ ยุโรป ซึ่งประเมินว่าธุรกิจคาร์โก้ปีหน้าจะสร้างรายได้สนับสนุนการบินไทยต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันเมื่อวันที่30พฤศจิกายนที่ผ่านมายังเป็นวันสุดท้ายในการทำงานของงานพนักงานการบินไทย สำหรับคนที่เข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กร (MSP A)หรือเออรี่รีไทร์ ที่มีพนักงานการบินไทยยื่นความจำนงเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 1,918 คน ที่จะมีผลในวันที่1ธันวาคมนี้
อย่างไรก็ตามในจำนวนนี้มีผู้บริหารหลายคนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว อาทิ นายวิวัฒน์ ปิยะวิโรจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการพาณิชย์ (DN) ,นายโอม พลาณิชย์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ,นายจิราวุฒิ วินัยพานิช ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหารทั่วไป,นายรณชัย วงศ์ชะอุ่ม รักษาการ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหารเครือข่ายเส้นทางบินและฝูงบิน (DV) เป็นต้น
อีกทั้งในวันดังกล่าวสหภาพแรงงาน การบินไทยร่วมใจสัมพันธ์(สร.กบท.สพ.)ได้ ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
โดยขอให้นายกรัฐมนตรี สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย( ก.ล.ต. )ในฐานะ
นายทะเบียนกองทุน ใช้อำนาจในการแก้ไขข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทการบินไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2545 ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.กองทุนฯ ฉบับแก้ไข
เพิ่มเติม 2550 ในมาตรา 9 (8) และให้สอดคล้องกับประกาศ กลต.
เพื่อเกิดความเป็นธรรมกับสมาชิกกองทุนที่ได้มีการขอลาออกจากสมาชิกกองทุน โดยที่ไม่ได้ลาออกจากการเป็นพนักงานบริษัท
นายนเรศ ผึ้งแย้ม ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานการบินไทย ร่วมใจสัมพันธ์ (สรกบท.สผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้พนักงานที่ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีกว่า1,000 คน ส่วนที่ยังไม่ได้ลาออกมีอยู่1.5หมื่นคน
การที่พนักงานราว1พันคนตัดสินใจลาออกจากกองทุน เนื่องจากที่ผ่านมามีพนักงานการบินไทยได้รับความเดือดร้อน เพราะหลังเข้าสู่ขั้นกระบวนการฟื้นฟูกิจการ พนักงานถูกปรับลดเงินเดือนและต้องหยุดงาน ทำให้มีรายได้ลดลง
ขณะที่ยังแบกรับภาระค่าใช้จ่ายยังเท่าเดิม ทำให้มีพนักงานหลายคนทยอยขอลาออกจากสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของ
บริษัท เพราะต้องการนำเงินก้อนที่สะสมไว้ออกมาใช้ในยามจำเป็น ขณะนี้พนักงานเดือดร้อนอย่างหนัก
เพราะเสียสิทธิในการรับเงินสมทบในส่วนของนายจ้างที่บริษัทการบินไทยต้องสมทบให้รวมกว่าหลายร้อยล้านบาท เนื่องจากการบินไทยไม่ยอมจ่ายเงินสมทบในส่วนของนายจ้างให้คนที่ลาออกจากกองทุน
โดยการบินไทยอ้างข้อบังคับกองทุนของบริษัทที่กำหนดว่าจะจ่ายสมทบเงินให้ เฉพาะกรณีที่ลาออกจากกองทุนและลาออกจากการเป็นพนักงานด้วยเท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่าเป็นข้อบังคับที่ขัดกับ กฎหมายกองทุนและประกาศ กลต. จึงขอให้มีการแก้ไขโดยด่วน