จากประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบของอวน ขนาดของเรือ วิธีที่ใช้ บริเวณพื้นที่และระยะเวลาในการทำประมงผู้ที่ทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนรุน เป็น "เรือประมงพื้นบ้าน" ที่ใช้ประกอบเรือยนต์ทำการประมงต้องปฏิบัติติ พ.ศ. 2562 หมดระยะเวลาผ่อนปรนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา คาดว่าจะมีทั้งหมดกว่า 1,000 ลำ ใน 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพ สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา ล่าสุดมีความคืบหน้าตามลำดับ
นายพิชัย แซ่ซิ้ม เลขาธิการสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และ นายกสมาคมการประมงจังหวัดสมุทรปราการ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สืบเนื่องจากประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องเครื่องมืออวนรุนเคยของเรือประมงพื้นบ้าน ที่ประกาศใช้ ออกมาและครบกำหนดแล้ว ซึ่งส่งผลกระทบกับชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่สมุทรปราการและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1,000 ลำ จึงเป็นที่มาของการประชุมจึงได้มีการจัดประชุมเมื่อวันที่ วันที่ 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา ประชุมร่วมกับศูนย์ปรามปรามประมงทะเลสมุทรปราการ และ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรทะเลชายฝั่งสมุทรปราการ ให้ความรู้ความเข้าใจของ ประกาศกระทรวงเกษตรฯ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้
“ล่าสุดเมื่อวาน 9 ธันวาคม 2563 ได้นำเสนอต่อ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และทางอธิบดีกรมประมง ให้ทำหนังสือเพื่อขอขยายระยะเวลาต่อ หากไม่ดำเนินการเกรงว่าชาวประมงจะทำผิดกฎหมาย พ.ร.ก.การประมงฯ 2 ฉบับ จะมีอัตราค่าปรับและโทษหนัก ร้ายแรง ก็คงรับกันไม่ไหว เนื่องจากก็ต้องเข้าใจประมงพื้นบ้าน แค่การดำรงชีพเท่านั้น ”
แหล่งข่าวผู้ประกอบการประมง เผยว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการสอบถามหยั่งเสียงไปทางเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ไม่อยากให้มีการขยายระยะเวลาผ่อนปรนต่อ จึงทำให้ยืดเยื้อมาจนถึงวันนี้
อ้างอิงประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์