11 ม.ค. อัพเดททะเบียน จ่าย “เยียวยาเกษตรกร” รอบ 2 ลุ้นเงิน "เยียวยาโควิด"

09 ม.ค. 2564 | 21:00 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ม.ค. 2564 | 18:58 น.

“เยียวยาเกษตรกร” รอบ2   คืบ บิ๊ก สศก. นัดประมวลผลอัพเดต 7 ทะเบียนเกษตรกร  11 ม.ค. สรุปตัวเลข แน่ชัดมีจำนวนเกษตรกร เท่าไร เร่งปฏิบัติตามนโยบายรัฐมนตรี  “ไม่ทิ้งใคร ไว้ข้างหลัง”

 

ความคืบหน้า “เยียวยาเกษตรกร” รอบ2  สืบเนื่องจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2564 ผ่านมาเรื่องการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก มอบหมายให้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจและกระทรวงการคลัง ดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นในสองเดือนนี้ ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ  นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้ตรียมความพร้อมในการ เพื่อความรวดเร็วทันทีที่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะเยียวยาอย่างไร

 

ฉันทานนท์ วรรณเขจร

 

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)  นายทะเบียนเกษตรกร และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  ทาง สศก. ได้เชิญ 7 หน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรเข้ามาประชุมหารือเพื่อขอข้อมูลในการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร  กรมส่งเสริมการเกษตร ,กรมปศุสัตว์,กรมหม่อนไหม,การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ,กรมประมง,สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล และ กรมสรรพสามิต เป็นต้น จากฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ซึ่งหากรัฐบาลจะมีนโยบายที่จะช่วยเหลือเกษตรกร ก็จะได้มี ข้อมูล “ทะเบียนเกษตรกร” สามารถยื่นได้ทันที เรียกว่าทำไว้ก่อน”


 

 

 

เมื่อได้ข้อมูลของ 7 ทะเบียน ทั้งหมดแล้ว คาดว่าจะนำมาประมวลผลให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 11 มกราคม 2563 เพื่อที่จะทราบความชัดเจนว่าปัจจุบัน มีฐานตัวเลขการขึ้นทะเบียนเพิ่มจากเดิม ที่ก่อนหน้านี้ได้รับเงิน “เยียวยาเกษตรกร” ไปแล้วใน รอบที่1 ได้ส่งรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกร รายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือนตั้งแต่พฤษภาคม - กรกฎาคม 2563 รวมรายละ 15,000 บาท ผลดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรรวม 7,565,880 ราย เป็นเงิน 113,304.4 ล้านบาท

 

"ประเมินว่าตัวเลขไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ระยะเวลาผ่านไม่ถึงครึ่งปี เมื่อได้ตัวเลขชัดเจนแล้วจะส่งให้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไป รอว่า หากรัฐบาลมีนโยบาย หรือมาตรการอะไรออกมา  สำหรับเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็มีฐานข้อมูลของเกษตรกร ก็พร้อมแล้วที่จะสนองนโยบายรัฐบาลในมาตรการต่างๆ ที่จะออกมาสำหรับเกษตรกร 

 

อนึ่ง "เยียวยาเเกษตรกร" รอบแรก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เชิญชวนเกษตรกรเข้ามาใช้เว็บไซต์ www.moac.go.th ที่สามารถตรวจสอบสิทธิ์เงินเยียวยาเกษตรกร หรือ ได้ที่แอปพลิเคชั่น “เกษตรดิจิทัล” หรือ www.moac.go.th ที่เมนู “ตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยาเกษตรกร”  

 

ตรวจสอบสถานะอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร และลิงก์เข้าเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com เพื่อเช็กสถานะการโอนเงิน และใส่บัญชีเงินฝากธนาคารอื่นๆ สำหรับผู้ที่ไม่มีบัญชี ธ.ก.ส.

 

หรือเกษตกร สามารถตรวจสอบสิทธิ์รับเงินเยียวยาได้จากหน่วยงานขึ้นทะเบียนต้นสังกัดที่เกษตรกรแต่ละคนไปขึ้นทะเบียนที่หน่วยงาน ด้านพืช กรมส่งเสริมการเกษตร  หรือ ยางพารา ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย หรือ กรมประมง หรือ กรมปศุสัตว์ หากไม่พบข้อมูลให้เกษตรกรสามารถโทรศัพท์สอบถาม หรือเดินทางไปขออุทธรณ์ด้วยตัวเองได้ที่ทำการทั้ง 8 แห่ง ได้แก่

 

1. สำนักงานเกษตรอำเภอ และจังหวัด

 

2. สำนักงานประมงอำเภอ และจังหวัด

 

3, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ และจังหวัด

 

4. สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขตหรือศูนย์เครือข่ายใกล้บ้าน

 

5. เขตบริหารอ้อย และน้ำตาลทราย 1-8 และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลทรายภาคที่ 1-4

 

6. สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด

 

7. การยางแห่งประเทศไทย (จังหวัด/สาขา)

 

ทั้งนี้เกษตรกร ที่จะได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท  จะต้องไม่เป็นข้าราชการ,ข้าราชการบำนาญ และไม่ใช้สิทธิ์ซ้ำซ้อนกับโครงการเราไม่ทิ้งกัน หรือ เกษตรกรที่มีประกันสังคม ดังนั้น  "เยียวยาเกษตรกร" ในรอบที่2 หากรัฐบาลมีมาตรการเยียวยาเกษตรกร จะเปลี่ยนแอพลิเคชั่นที่ใช้ตรวจสอบสิทธิ์ หรือไม่ หรือจะใช้ของเดิม ต้องติดตามกันตอนต่อไป