‘ระนอง’สกัดโควิด-19อยู่หมัด ล็อก3ชั้น‘ปิดตาย’ลอบเข้าเมือง

14 ม.ค. 2564 | 02:57 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ม.ค. 2564 | 03:57 น.

ระนองเปิดแผน 3 ชั้น กุญแจสำคัญสกัดต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองอยู่หมัด ปิดทางเชื้อโควิด-19 ไม่ให้เข้าแพร่ระบาดในจังหวัด  ตามยุทธศาสตร์แผนงานด้านความมั่นคงคู่ขนานเศรษฐกิจ 

ระนองเปิดแผน 3 ชั้น กุญแจสำคัญสกัดต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองอยู่หมัด ปิดทางเชื้อโควิด-19 ไม่ให้เข้าแพร่ระบาดในจังหวัด  ตามยุทธศาสตร์แผนงานด้านความมั่นคงคู่ขนานเศรษฐกิจ

นายสมเกียรติ  ศรีษะเนตร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จังหวัดระนองสามารถควบคุมไม่ให้เชื้อโควิด-19 แพร่ระบาดในพื้นที่ได้ จากความสำเร็จในการสกัดกั้นผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมา หรือผู้อพยพหลบหนีทางทะเลชาวโรฮินยา ไม่ให้เข้ามาถึงพื้นที่ชายแดนระนองและลักลอบขึ้นฝั่งได้ ถือเป็นกุญแจดอกสำคัญในการสกัดกั้นการระบาดเชื้อโควิด-19 จากประเทศเพื่อนบ้าน แม้ล่าสุดในพื้นที่จังหวัดระนองจะมีผู้ติดเชื้อ 1 ราย แต่เป็นกรณีชาวไทยที่ขับรถรับส่งสินค้าจากระนองไปสมุทรสาคร ไม่ใช่เกิดจากเชื้อนำเข้า    

ดังนั้น จึงตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ ที่กำหนดให้จังหวัดระนองเป็นเขตความมั่นคงคู่ขนานเศรษฐกิจ ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะนอกจากสกัดกั้นโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกส่วนยังสามารถประคับประคองเศรษฐกิจการค้าชายแดน การประมง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ ให้เดินต่อไปได้ 

‘ระนอง’สกัดโควิด-19อยู่หมัด  ล็อก3ชั้น‘ปิดตาย’ลอบเข้าเมือง

‘ระนอง’สกัดโควิด-19อยู่หมัด  ล็อก3ชั้น‘ปิดตาย’ลอบเข้าเมือง

มาตรการครบทั้ง 3 มิติ คือ ทางบก ทางเรือ และทางอากาศ เป็นพื้นที่แรกของประเทศ เพราะจุดยุทธศาสตร์ชายแดนระนองสำคัญ ทั้งในพื้นที่จังหวัดระนองและป้องกันผลกระทบต่อทั้งประเทศ ที่สามารถปกป้องคนไทย 69 ล้านคน ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้ 

สำหรับแผน 3 ชั้น ประกอบด้วยทางเรือ มีการบูรณาการร่วมระหว่างทัพเรือภาคที่ 3 ที่นำเรือรบเข้ามาประจำการในการช่วยลดตระเวนตลอดแนวน่านน้ำทะเลอันดามันชายฝั่งด้านจ.ระนอง-เกาะสอง ลาดตระเวนร่วมกับเรือตรวจการณ์ตำรวจน้ำระนอง โดยในช่วงกลางวันจะใช้วิธีการตรวจการณ์ด้วยสายตา กลางคืนจะใช้เรดาห์ในการตรวจการณ์

ทัพเรือภาค 3 ได้แบ่งการลาดตระเวนเฝ้าระวังสกัดกั้นออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นที่ 1 ใช้เรือเร็ว เรือยางตรวจการณ์ตลอดลำน้ำกระบุรี พร้อมจัดกำลังพลชุดลาดตระเวนตลอดแนวชายแดน ชั้นที่ 2 ใช้เรือตรวจการณ์ขนาดกลาง จอดลอยลำอยู่บริเวณกึ่งกลาง ระหว่างปากแม่น้ำกระบุรีกับทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงในการลักลอบนำพาชาวเมียนมาเข้าพื้นที่ ส่วนชั้นที่ 3 ใช้เรือรบขนาดใหญ่ออกลาดตระเวนกลางทะเลอันดามัน บริเวณใกล้กับน่านน้ำประเทศเมียนมา 

การตรวจการณ์ทางอากาศ  ได้รับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์จากทัพเรือภาคที่ 3 เข้ามาบินสนับสนุนการตรวจการณ์ในแต่ละช่วง โดยจะเน้นการบินวนตรวจการณ์ในจุดเสี่ยงที่เป็นช่องทางธรรมชาติ จำนวน 14 จุดที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ ตลอดแนวชายแดนด้านจ.ระนอง 168 กม. พร้อมกันนี้ทางจังหวัดได้รับการสนับสนุนจากศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ภาค 3 ได้นำอากาศยานไร้คนขับ (UAV) แบบ Orbiter 3B มาใช้ในภารกิจสนับสนุน ทำการบินลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลตามแผนตลอดแนวชายแดน เพื่อตรวจสอบช่องทางธรรมชาติตามจุดพื้นที่เสี่ยงต่างๆ หรือเรือประมงที่ต้องสงสัย 

        ทั้งนี้ การปฏิบัติการบินดังกล่าวพร้อมปฏิบัติทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งขีดความสามารถของ UAV แบบ Orbiter 3B มีระยะปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล ปฏิบัติการได้คราวละ 4 ชั่วโมง มีความแม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าหมายผิวน้ำด้วยระบบการค้นหาเป้าตำบลที่กำหนด  สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น (visual  identification) เครื่องหมายประจำเรือ ชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์บนเรือได้อย่างชัดเจน จะทำให้การแก้ไขปัญหาการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองของชาวเมียนมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

‘ระนอง’สกัดโควิด-19อยู่หมัด  ล็อก3ชั้น‘ปิดตาย’ลอบเข้าเมือง

ส่วนการตรวจการณ์ในช่องทางบก มีทหารจากหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25 กองกำลังเทพสตรี ตำรวจภูธรจังหวัดระนอง ตชด.ที่ 415  ร่วมจัดกำลังพลลาดตระเวนทางอากาศตรวจเข้มตลอดแนวชายแดน (ระนอง-เกาะสอง) พื้นที่ อ.กระบุรี อ.เมืองระนอง เพื่อป้องกันแรงงานชาวเมียนมา หรือขบวนการขนแรงงานชาวเมียนมาหลบหนีเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติโดยผิดกฎหมาย 

ส่วนชั้นสุดท้ายในการเฝ้าระวัง และสำคัญที่สุด คือ ชุมชน ตำบล หมู่บ้าน ที่ชาวบ้านคือกำลังสำคัญ ที่คอยสอดส่องดูแลความเคลื่อนไหวของบุคคลแปลกหน้า ที่เข้ามาหรือผ่านเข้ามาในพื้นที่ พร้อมขอความร่วมมือในแต่ละหมู่บ้านตลอดแนวชายแดน ช่วยกันสอดส่องเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังให้กับทางเจ้าหน้าที่ หากพบคนแปลกหน้าเข้ามาในชุมชน มีการวางมาตรการร่วมกัน พร้อมเพิ่มกำลังในการออกลาดตระเวน การกำหนดพื้นที่อ่อนไหวที่อาจจะมีการเล็ดลอดเข้ามาของแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน  

หน้า 17 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,644 วันที่ 14 - 16 มกราคม พ.ศ. 2564

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระนองจับตาเกาะสองโฉมใหม่ เมียนมาบูมเที่ยวภูมิภาคตอนใต้

"ระนอง"เปิดเที่ยว"นิวนอร์มอล"กระตุ้นเศรษฐกิจปีใหม่

โหม‘Co Payment’เร่งจ้างแรงงาน ‘ระนอง-เชียงใหม่’ปั้น2,680อัตรา

จีนปักธงSECส่ง"วิทยาลัยหวงเหอ"จับมือม.ราชภัฏสวนสุนันทา"ระนอง"