จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส "โควิด-19" หรือ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยแล้ว ยังส่งผลกระทบกับการประกอบอาชีพของชาวประมงโดยตรง รวมทั้งปัญหาที่เกิดจากกฎหมายประมง และกฎหมายแรงงาน ที่ทำให้พี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล
ถือว่าเป็น "เกษตรกร" กลุ่มอาชีพ SME อาชีพหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพเป็นอย่างมาก จนอาจไม่สามารถประกอบ "อาชีพประมง" ต่อไปได้ เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ในขณะที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
โดยผลกระทบนี้เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการที่กรมประมง มีการกำหนดวันทำการประมงให้กับเรือประมงให้สามารถทำการประมงได้เพียง 240 วัน หรือเป็นเวลา 8 เดือน (เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – วันที่ 31 มีนาคม)
ในขณะที่ชาวประมงต้องมีภาระค่าใช้จ่ายด้านแรงงานที่ต้องจ่ายทั้ง 12 เดือน จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดทุนสะสม เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย อีกทั้งธนาคารก็ไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับชาวประมง จึงส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องในอาชีพประมง
นายมงคล สุขเจริญคณา อดีตประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เพื่อกำหนดแนวทางในการกำหนดวันที่จะเดินทางไปทำเนียบรัฐบาล จึงได้เชิญสมาชิกที่มาความเดือดร้อนในเรื่องวันทำการประมงหมด จึงได้เชิญมาหารือในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 13.00 น. ณ อาคารตลาดปลาสหกรณ์ประมงแม่กลอง
“ถ้าไม่เพิ่มวันทำการประมง เรือประมงหลายพันลำต้องจอด จะทำให้มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม แรงงานเรือประมง หลายหมื่นคนจะทำให้เกิดปัญหาอาจไปรับเชื้อ “โควิด-19” มาแพร่กระจายไปทั่ว”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ม็อบประมง” คืนชีพปลุกระดมผ่านโซเซียล
“วันทำประมงหมด” ลามธุรกิจเจ๊ง 6 แสนล้าน ตกงานพุ่ง
ประมงนัด “เค้าท์ดาวน์” หน้าทำเนียบ ร้องวันทำประมงเพิ่ม-ควบรวมเรือ