วันนี้(18 มี.ค.64) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศเผยแพร่ ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนําร่อง) ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ (ครั้งที่ ๑๔๔) เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ และในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ (ครั้งที่ ๑๕๑) เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชพลังงานมีรายได้ที่แน่นอน จากการขายเชื้อเพลิงในรูปแบบเกษตรพันธสัญญา และร่วมรับผลประโยชน์ตอบแทนจากโรงไฟฟ้า รวมถึง ให้โรงไฟฟ้ามีส่วนสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมของชุมชนรอบโรงไฟฟ้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๑ (๑) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ และมติคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ (ครั้งที่ ๗๑๔) เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงานออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนําร่อง) พ.ศ. ๒๕๖๔”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กพช.” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ “กกพ.” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน
“การไฟฟ้าฝ่ายจําหน่าย” หมายความว่า การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
“โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก” หมายความว่า โครงการจัดตั้งโรงไฟฟ้า ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการดําเนินโครงการ และให้ผลประโยชน์คืนกลับสู่ชุมชน โดยชุมชนเป็นหุ้นส่วน
ในการประกอบธุรกิจผลิตและจําหน่ายไฟฟ้าร่วมกับภาคเอกชน ผ่านทางวิสาหกิจชุมชน โดยจําหน่ายไฟฟ้า ที่ผลิตได้ให้การไฟฟ้าฝ่ายจําหน่าย
“โครงการ” หมายความว่า โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนําร่อง)
“โครงการนําร่อง” หมายความว่า โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ที่จะดําเนินการในระยะแรกและสามารถที่จะจ่ายไฟเข้าระบบได้ภายใน ๓๖ เดือน นับถัดจากวันลงนาม ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
“วิสาหกิจชุมชน” หมายความว่า วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม วิสาหกิจชุมชน
“เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน” หมายความว่า เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
“พลังงานหมุนเวียน” หมายความว่า พลังงานทดแทนเพื่อการผลิตไฟฟ้า ประกอบด้วย ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงานผสมน้ําเสีย/ของเสีย)
“พืชพลังงาน” หมายความว่า พืชที่ถูกปลูกเพื่อเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลในการผลิตไฟฟ้า โดยการเผาไหม้ หรือเพื่อนําไปหมักเป็นก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
“ชีวมวล” หมายความว่า สารอินทรีย์ที่ได้จากพืช จําพวกไม้โตเร็ว รวมถึงเศษวัสดุเหลือใช้ จากการเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตรที่เกษตรกรเป็นผู้ปลูก อาทิ ส่วนของใบ ลําต้น กิ่ง เปลือก กะลา ตอ ซัง เหง้า และรากของพืช
“ก๊าซชีวภาพ” หมายความว่า ก๊าซชีวภาพที่ผลิตมาจากพืชที่ใช้กระบวนการย่อยสลาย ทางชีววิทยาแบบไม่ใช้อากาศภายในบ่อหมัก และสามารถผสมน้ําเสีย/ของเสียได้ไม่เกินร้อยละ ๒๕ ของหน่วยผลิตไฟฟ้าต่อปี
“ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก” หมายความว่า ผู้ที่ประสงค์จะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนําร่อง)
“ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก” หมายความว่า ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ได้ทําสัญญา ซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายจําหน่าย
“สัญญาซื้อขายไฟฟ้า” หมายความว่า ข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากกับการไฟฟ้าฝ่ายจําหน่าย
“ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย” หมายความว่า ปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขายให้แก่การไฟฟ้า ฝ่ายจําหน่ายที่มีหน่วยเป็นเมกะวัตต์ (MW) หรือกิโลวัตต์ (kW) ตามที่สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากําหนด
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ระเบียบการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก