ม.ราชภัฎโคราชจับมือต่อยอด ‘แสงซินโครตรอน’ 

02 เม.ย. 2564 | 02:25 น.
อัปเดตล่าสุด :02 เม.ย. 2564 | 09:56 น.

สถาบันแสงซินโครตรอนจับมือม.ราชภัฏโคราช ร่วมมือวิจัยต่อยอดใช้แสงซินโครตรอน สร้างองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่ายกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน

สถาบันแสงซินโครตรอนจับมือม.ราชภัฏโคราช ร่วมมือวิจัยต่อยอดใช้แสงซินโครตรอน สร้างองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่ายกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน 

ม.ราชภัฎโคราชจับมือต่อยอด ‘แสงซินโครตรอน’ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 27 มีนาคม 2564 ที่อาคารสิรินธรวิชโชทัย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จังหวัดนครราชสีมา  รศ.ดร.สาโรช รุจิวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันแสงซินโครตรอน และผศ. ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อใช้เทคนิคแสงซินโครตรอนและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ขั้นสูงที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อความร่วมมือในการวิจัย การพัฒนาการเรียนการสอน และการบริการทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยและสถาบันฯ 

 

ผอ.สถาบันแสงซินโครตรอน กล่าวว่า ความร่วมมือนี้จะนำไปสู่การบูรณาการทรัพยากรของทั้งสองหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้ทั้งสองหน่วยงานมีความร่วมมือในการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์กรามช้างสี่งา สกุลกอมโฟธีเรียม (Gomphotherium) ซึ่งถูกค้นพบในจังหวัดนครราชสีมา และสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ศึกษาเบื้องต้นพบว่าช้างสี่งานี้น่าจะเป็นสปีชีส์ใหม่ของโลก ซากช้างสี่งาดึกดำบรรพ์ซึ่งปัจจุบันจำเป็นต้องป้องกันการผุกร่อน ได้ถูกเก็บรักษาไว้ด้วยเทคโนโลยีสุญญากาศแบบ NEG pump (Non Evaporable Getter pump) ที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนพัฒนาขึ้น ซึ่งสามารถสร้างและคงระบบสุญญากาศได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า อีกทั้งช่วยเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสำคัญนี้ให้คงสภาพเดิมและไม่ผุกร่อนไปมากกว่านี้” รองศาสตราจารย์ ดร.สาโรช กล่าวทิ้งท้าย

ม.ราชภัฎโคราชจับมือต่อยอด ‘แสงซินโครตรอน’ 

ม.ราชภัฎโคราชจับมือต่อยอด ‘แสงซินโครตรอน’ 

อธิการบดีม.ราชภัฏนครราชสีมา กล่าวว่า การสร้างความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับศักยภาพการวิจัยเชิงพื้นที่ ด้วยการเชื่อมโยงกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และเทคนิควิศวกรรมขั้นสูง และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากบุคลากรเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ อันจะนำไปสู่การต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์จริง

 

อีกทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน ให้มีความพร้อมทางเทคโนโลยีในการผลิต และการตรวจสอบคุณภาพที่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนและเข้มแข็ง ภายใต้พื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

ม.ราชภัฎโคราชจับมือต่อยอด ‘แสงซินโครตรอน’ 

หน้า 17 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,666 วันที่ 1 - 3 เมษายน พ.ศ. 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง