นายอธิศ รุจิรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้ให้บริการ บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน (T1) และประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิต-สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมในปีที่ผ่านมา ธุรกิจบัตรเครดิตไทย ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะ วิกฤติโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจชะลอตัวลง โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ชี้ให้เห็นว่า ในปี 2563 จำนวนบัตรเครดิตทั้งธุรกิจ เติบโตเพียง 2% ในขณะที่ยอดหนี้คงค้างลดลง -2% ส่วนยอดใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงถึง -19% เทียบกับปี 2562 ส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)มีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2562 และเริ่มลดลงหลังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตามในปี 2564 คาดว่าความท้าทายต่าง ๆ จะดำเนินต่อไป ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โควิด 19 ที่ยังไม่สงบ, สภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว, ยอดขายค้าปลีกที่ยังไม่เติบโต โดยคาดว่าการเติบโตจะเกิดในบางหมวดร้านค้าและช่องทางออนไลน์เป็นหลัก นอกจากนี้ โควิดยังเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้บริโภคไปสู่โลกดิจิทัล ทั้งการใช้ชีวิตและการจับจ่าย เทรนด์ที่เห็นได้ชัดคือ การชำระเงินแบบไร้สัมผัส และเทคโนโลยีการชำระเงินใหม่ๆ เป็นที่นิยมขึ้น, การซื้อขายย้ายไปช่องทางออนไลน์มากขึ้น ผู้บริโภคหันมาซื้อแบบออมนิแชนเนล ทั้งออนไลน์และออฟไลน์มากขึ้น เห็นได้จากยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในหมวดร้านค้าออนไลน์ บริการส่งอาหาร เติบโตแบบก้าวกระโดด ส่วนหมวดการใช้จ่ายที่เป็นความจำเป็นพื้นฐาน เช่น ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซุปเปอร์มาร์เก็ตและประกันภัยยังคงเติบโต ขณะที่หมวดการเดินทางท่องเที่ยว การใช้จ่ายในต่างประเทศ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร และการกดเงินสด ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนั้น ยังเห็นแนวโน้มที่ลูกค้ากลุ่มแมส เริ่มชะลอการใช้จ่ายลง ขณะที่ลูกค้ากลุ่มพรีเมียม ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ผู้ให้บริการจึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของการบริหารพอร์ต บริหารผลิตภัณฑ์ การขาย และการตลาดแบบใหม่ เพื่อให้ก้าวทันสถานการณ์และตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคาดว่าธุรกิจน่าจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
สำหรับแผนธุรกิจปี 2564 บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน เตรียมผนึกกำลังกับพันธมิตร ผสานความร่วมมือระหว่างเครือกรุงศรี กับเครือเซ็นทรัลในทุกมิติ เพื่อปรับกลยุทธ์การบริหารพอร์ต ผลิตภัณฑ์ การขาย และการตลาดให้ตอบโจทย์พฤติกรรมนิวนอร์มัลของผู้บริโภคยุคใหม่ให้ดียิ่งขึ้น ผ่านกลยุทธ์หลัก 3 ประการ ได้แก่
1.เสริมสร้างช่องทางขายและประสบการณ์ดิจิทัล โดยการทำ Digital Lending ผ่านแอป เช่น KMA, UCHOOSE, การหาบัตรใหม่ผ่าน Referral Model ผ่านแอป The 1, การใช้ AI มาทำโปรโมชั่นแบบ Personalized ให้ตรงใจลูกค้ายิ่งขึ้น
2. การทำการตลาดและโปรโมชั่นแบบนิว นอร์มัล โดยเร่งยอดใช้จ่ายผ่านบัตรแบบ Omni Channel มีโปรโมชั่นครอบคลุมทั้งออนไลน์และออฟไลน์, การทำการตลาดรูปแบบใหม่ ด้วยการทำกิจกรรมเล่นเกมผ่านแอปและ Street Art เพื่อขยายการใช้บัตรไปทั้งเครือ Central, เจาะเข้ากลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพในเครือเซ็นทรัล และ
3. การบริหารผลิตภัณฑ์และสิทธิประโยชน์บัตรให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น เช่น การปรับกลยุทธ์ในการดูแลลูกค้ากลุ่มพรีเมียม, เร่งเพิ่มจำนวนบัตรและการใช้บัตรไร้สัมผัส, ร่วมพัฒนาระบบชำระเงินผ่านบัตรรูปแบบใหม่ เช่น กระเป๋าเงินดิจิทัลและคิวอาร์เพย์เมนต์ กับ Dolfin, The 1 และ UCHOOSE เป็นต้น
ทั้งนี้ ในปี 2564 บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตร 77,500 ล้านบาท (เติบโต 9% เทียบกับปี 2563) และจำนวนลูกค้าใหม่ 82,000 ราย (เติบโต 5%)” นายอธิศ กล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานของบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ในปี 2563 นับว่าเป็นที่น่าพอใจ โดยแม้ธุรกิจจะได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงล็อกดาวน์ แต่ก็ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว แม้จะมีการระบาดระลอกใหม่ในช่วงปลายปี แต่ก็ยังรักษาอัตราเติบโตได้ดี โดยยอดใช้จ่ายในเดือนธันวาคม 2563 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ผลการดำเนินงานนับว่าดีกว่าตลาด แม้จำนวนบัตรใหม่ (76,500 ใบ) จะลดลงถึง -44% เทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรไม่ได้รับผลกระทบมากนัก (70,000 ล้านบาท ลดลง -4% เทียบกับปี 2562) ยอดสินเชื่อคงค้าง 22,000 ล้านบาท (+3%) อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น
หมวดการใช้จ่ายของบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ที่เติบโตสูงสอดคล้องกับภาพรวมธุรกิจบัตรเครดิต ได้แก่ บริการส่งอาหาร (+250% เทียบกับปี 2562), ร้านค้าออนไลน์ (+66%), ไฮเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์มาร์เก็ต (+26%) และ ประกันภัย (+15%)
ส่วนหมวดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวันที่เติบโตสูง แยกตามหน่วยธุรกิจในเครือกลุ่มเซ็นทรัล ได้แก่